กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/639
ชื่อเรื่อง: พิษของปรอท และทองแดงที่มีต่อแพลงก์ตอนพืชทะเล, Dunaliella salina, Tetraselmis sp. และ Chaetoceros calcitrans
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Toxicity of Mercury and Copper to Marine Phytoplankton, Dunaliella, salina, Tetraselmis sp. and Chaetoceros calcitrans
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉลวย มุสิกะ
แววตา ทองระอา
อมรรัตน์ ชมรุ่ง
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: Cell Growth
Copper
Mercury
Phytoplankton
ทองแดง - - วิจัย
ปรอท - - วิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
แพลงค์ตอนพืชทะเล
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล. มหาวิทยาลัยบูรพา.
บทคัดย่อ: พิษของปรอทและทองแดงได้ทำการศึกษากับแพลงก์ตอนพืชทะเล 3 ชนิด คือ Dunaliella salina, Tetraselmis sp. และ chaetoceros calcitrana โดยศึกษาผลที่มีต่อการเจริญเติบโต (ความหนาแน่นของเซลล์) และปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ ภายในเวลา 96 ชั่วโมง ทำการทดลองที่อุณหภูมิ 24+-1 องศาเซลเซียส ใช้น้ำทะลธรรมชาติ ความเค็ม 30 พี เอส ยู ให้แสงสว่าง 3800+-200 ลักซ์ อย่างต่อเนื่อง และทดลองซ้ำในลักษณะเดียวกันรวม 3 ครั้งสำหรับโลหะหนักแต่ละชนิด ผลการทดลองพบว่า C. calcitrans มีความไวในการตอบสนองต่อความเป็นพิษของปรอทและทองแดงสูงสุด รองลงมาได้แก่ Tetraselmis sp และ D.salina ตามลำดับ โดยความเป็นพิษของปรอทที่มีต่อแพลงก์ตอนตอนพืชทั้ง 3 ชนิด สูงกว่าทองแดง กล่าวคือ ค่าเฉลี่ย IC50 ของปรอทต่อ D.salina, Tetraselmis sp. และ C. calcitrans เท่ากับ 0.28, 0.14 และ 0.043 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ในขณะที่ค่าเฉลี่ย IC50 ของทองแดงต่อแพลงตอนก์พืชทั้ง 3 ชนิด เท่ากับ 1.18,0.27 และ 0.09 มิลลิกรัมต่อลิตร The static 96-hour phytoplankton growth tests were carried out to measure the toxicity of mercury (Hg) and copper (Cu) on growth (cell density) and chlorophyll a content of three marine phytoplankton species: Dunaliella salina, Tetraselmis sp. and Chaetoceros calcitrans. The experiments were carried out at temperature of 27+- 1'C, using natural filtered seawater (salinity 30 psu), under continuous illumination of 3800+-200 lux and they were repeated three times for each metals. Results showed that C. calcitrans was the most sensitive species to Hg and Cu, followed by Tetraselmis sp. and D. Salina, respectively. In addition, Hg was found to be more toxic to the three species than Cu. The mean IC50 values of Hg on growth of D. salina, Tetraselmis sp. and C. calcitrans were 0.28, 0.14 and 0.043 mgL-1 , respectively, while those of cu were 1.18, 0.27 and 0.090 mg L-1, respectively.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/639
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น