กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/621
ชื่อเรื่อง: ผลของความเข้มข้นและระยะเวลาในการฉีดซ้ำของฮอร์โมนโกนาโดโทรปิน รีลิสซิ่ง ฮอร์โมน อนาลอกซ์ (Gonadotropin releasing hormone analogues) ชนิดออกฤทธิ์ นานในรูปแบบ ไมโครสเฟียร์ ต่อการวางไข่ของปลาการ์ตูนอานม้า Amphiprion polymnus (Linnaeus 1758)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of concentrations and frequencies of injections of sustained release delivery systems for gonadotropin releasing hormone analogues (GnRHa) in the form of microspheres on saddleback anemonefish (Amphiprion polymnus Linnaeus 1758) spawning
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสาวภา สวัสดิ์พีระ
ณัฐวุฒิ เหลืองอ่อน
วรเทพ มุธุวรรณ
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: การวางไข่
ปลาการ์ตูนอานม้า - - การเลี้ยง
ปลาการ์ตูนอานม้า - - วิจัย
ปลาการ์ตูนอานม้า - - ไข่
ปลาสวยงาม - - วิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การทดสอบระดับความเข้มข้นและระยะเวลาในการฉีดซ้ำของฮอร์โมนโกนาโดโทรปินรีลีสซิ่งฮอร์โมน อนาลอกซ์ (Gonadotropin Releasing Hormone Analogues) ชนิดออกฤทธิ์นานในรูปแบบไมโครสเฟียร์ ต่อการวางไข่ของปลาการ์ตูนอานม้า Amphiprion polymnus ด้วยการออกแบบการทดลองแบบแฟคทอเรียล ในตู้กระจกขนาด 15 นิ้ว x 24 นิ้ว x 15 นิ้ว ที่มีระบบกรองน้ำรวมโดยใช้ระดับความหนาแน่น 1 คู่ /ตู้ ด้วยความเข้มข้นของออร์โมน 4 ระดับ คือ 0,25,75 และ 150 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม โดยมีระยะเวลาในการฉีดซ้ำ 2 ระดับ คือ ทุก 2 และ 3 เดือน เป็นปัจจัยร่วมเพื่อตรวจสอบการผสมพันธุ์วางไข่ของปลาการ์ตูนอานม้า ผลจากการทดลองพบว่า ปลาในกลุ่มที่กำหนดฉีดฮอร์โมนซ้ำทุก 2 เดือน ปลามีการผสมพันธุ์วางไข่หลังจากฉีดฮอร์โมน 5 – 74 วัน จำนวน 0, 2, 3 และ 1 คู่ตามลำดับ จำนวนครั้งที่วางไข่ทั้งหมด คือ 0, 6, 19 และ 6 ครั้งตามลำดับ จำนวนไข่ที่วางมีค่าอยู่ระหว่าง 57-2,692 ฟองต่อครั้ง อัตราการฟักเป็นตัวมีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 56.6-100 และอัตรารอดตายของลูกปลามีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 3.2-15.2 ต่อครั้ง ส่วนปลาในกลุ่มที่กำหนดฉีดฮอร์โมนซ้ำทุก 3 เดือน เมื่อฉีดฮอร์โมนที่ระดับ0, 25, 75 และ 150 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กิดลกรัม ปลามีการผสมพันธุ์วางไข่หลังจากฉีดฮอร์โมน 2-108 วัน จำนวน 2, 3, 0 และ 1 คู่ตามลำดับ จำนวนครั้งที่วางไข่ทั้งหมด คือ 5, 18, 0 และ 8 ครั้งตามลำดับ จำนวนไข่ที่วางมีค่าอยู่ระหว่าง 336-4,031 ฟองต่อครั้ง อัตราการฟักเป็นตัวมีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 29.4-85.1 และอัตราอดตายของลูกปลามีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 5.1-19.9 ต่อครั้ง ผลของการทดลองแสดงให้เห็นว่า ระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนและระยะเวลาในการฉีดซ้ำ ไม่มีผลต่อการผสมพันธุ์วางไข่, จำนวนครั้งที่วางไข่ของปลาการ์ตูนอานม้า, จำนวนไข่ที่วาง, อัตราการฟักเป็นตัว และอัตราการรอดตายของลุกปลาการ์ตูนอานม้า The effect of concentration (0, 25, 75 and 150 μg kg-1 ) and frequencies of injections (ever 2 or 3 mouths) of release microspheres containing gonadotropin releasing hormone agonist (GnRHa) on saddleback anemonefish spawning were investigated for 180 days. Forty eight pairs of the fish were used in the experiment with each pair was reared individually in a 24” x 15” x 15” glass aquarium. The fish were divided into 4 experimental groups whereas each group was injected with GnRHa microsphere at 0(control), 25, 75, and 150 μg kg-1 at the start of the experiment. Six pairs of the fish in each group were received the second and third injection at the same dose on day 60th and 120th after the first injection while the six others were received only the second injection on day 90th . Spawning was obtained within 5-74 days after injection in the treatment that received injection in every 60 days. The number of spawning pair were 0, 2, 3 and 1 and total spawn was0, 6, 19 and 6 for the concentrations of 0, 25, 75, and 150 μg kg-1 , respectively. Total number of egg varied between 57-2,692 eggs per spawn, the hatching rate was ranged between 56.6-100% and survival rate of the 4 week old juvenile ranged between 3.2-15.2% per spawn. Spawning was obtained within 2-108 days after injection in the treatment that received injection every 90 days. The numbers of Spawning pair was 2, 3, 0 and 1 and total spawn was 5, 18, 0 and 8 for the concentration of 0, 25, 75 and 150 μg kg-1 , respectively. Total number of egg varied between 336-2,692 eggs per spawn, the hatching rate was ranged between 29.4-85.1% and survival rate of the 4 weeks old juvenile ranged between 5.1-19.9% per spawn. The results of the experiment demonstrated that concentration and frequencies of injection were did not significantly effect the number of spawning pair, total spawn, number of egg, hatching rate, and survival rate of the larvae of the saddleback anemonefish.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/621
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
title.pdf277.06 kBAdobe PDFดู/เปิด
chapter1.pdf188.88 kBAdobe PDFดู/เปิด
chapter2.pdf788.82 kBAdobe PDFดู/เปิด
chapter3.pdf503.91 kBAdobe PDFดู/เปิด
chapter4.pdf430.34 kBAdobe PDFดู/เปิด
chapter5.pdf256.04 kBAdobe PDFดู/เปิด
bibliography.pdf238.78 kBAdobe PDFดู/เปิด
appendix.pdf57.28 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น