กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6140
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorฉันทนา จันทวงศ์
dc.contributor.advisorนิสากร กรุงไกรเพชร
dc.contributor.authorศิริพร จิตรเอื้อ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T02:25:52Z
dc.date.available2023-05-12T02:25:52Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6140
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractสตรีวัยผู้ใหญ่ตอนต้นเป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองน้อย จึงควรส่งเสริมให้สตรีกลุ่มนี้มีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยผู้ใหญ่ตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีอายุ 20-40 ปี คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจ จำวน 5 ครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติทดสอบที กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็งเต้านม (t=3.37, p<.001) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม (t=5.43, p<.001) การรับรู้ความสามารถของตนต่อการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (t-4.35, p<.001) การรับรู้ประสิทธิผลของการตอบสนองต่อการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (t=2.60, p<.001) และพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (t=5.89, p<.001) ผลการวิจัยเสนอแนะว่า พยาบาลชุมชนควรนำโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจไปประยุกต์ใช้กับสตรีวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยเน้นการสร้างการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและการรับรู้ความสามารถของตนต่อการตรวจเต้านมด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองที่ยั่งยืน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
dc.subjectเต้านม -- การตรวจ
dc.subjectเต้านม -- มะเร็ง -- การป้องกันและควบคุม
dc.subjectสตรี -- การตรวจสุขภาพ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
dc.subjectสตรี -- การดูแลและสุขวิทยา
dc.titleผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยผู้ใหญ่ตอนต้น เทศบาลเมืองขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
dc.title.alternativeEffects of motivtion progrm on brest self-exmintion of erly dult women in Khlung municiplity, Khlung district, Chntburi province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe practice of breast self-examination (BSE) among early adult women is low. Therefore, BSE behavior should be promoted for this age group of women. This quasi-experimental study with a two group pretest-posttest design aimed to study the effect of motivation program on BSE behavior of early adult women in Khlung municipality areas. A random sample of women 20-40 years of age was recruited in the study. They were divided as the experimental group (n = 30) and the control group (n = 30). The experimental group participated in 5 times of intervention program over a 12 week period. Data were collected by using questionnaires. Frequency, percentage, mean, standard deviation and independent t-test were conducted to analyze data. The results indicated that after intervention, the experimental group had a statistically significantly change mean scores on perceived severity to breast cancer (t=3.37, p<.001), perceived vulnerability to breast cancer (t=5.43, p<.001), perceived self-efficacy in BSE (t=4.35, p<.001), perceivedresponse efficacy in BSE (t=2.60.35, p<.001) and BSE behavior (t=5.89, p<.001) than those of the control group. Results of this study suggest that community nurses should apply the motivation program in the early adult women by focusing on increasingperceived vulnerability to breast cancer and perceived self-efficacy in BSE in order to promote sustainable BSE behavior.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น