กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/556
ชื่อเรื่อง: | การบริหารและการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศของอุทยานแห่งชาติในภาคตะวันออก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Ecotourism management of the Eastern Region national parks |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมชาย เดชะพรหมพันธุ์ ภัทราพร สร้อยทอง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ |
คำสำคัญ: | Ecotourism management การท่องเที่ยว - - ไทย (ภาคตะวันออก) สาขาสังคมวิทยา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว - - ไทย (ภาคตะวันออก) อุทยานแห่งชาติ - - ไทย (ภาคตะวันออก) |
วันที่เผยแพร่: | 2545 |
สำนักพิมพ์: | คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่อง การบริหารและจัดการ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศของอุทยานแห่งชาติในภาคตะวันออก มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาเปรียบเทียบ จัดระดับการบริหารและจัดการ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศของอุทยานแห่งชาติในภาคตะวันออก และทดสอบแบบจำลองการบริหารและจัดการ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานการบริหารและจัดการเชิงนิเวศของอุทยานแห่งชาติและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่น ๆ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ อุทยานแห่งชาติ 7 แห่งในภาคตะวันออก คือ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง เขาแหลมหญ้าและหมู่เกาะเสม็ด น้ำตกพลิ้ว เขาคิชฌกูฏ เขาชะเมา-เขาวง ทับลาน และปางสีดา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบจำลองการบริหารและจัดการ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยปรับแต่งเป็นแบบสำรวจเพื่อใช้เก็บข้อมูลภาคสนามและแบบสอบถามที่นำไปเก็บข้อมูลจากหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ บุคลากรที่ปฏบัติงานในอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยว ประชาชนชุมชนท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า 1. อุทยานแห่งชาติทั้ง 7 แห่ง มีความสามารถในการบริหารและจัดการองกรค์ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแตกต่างกัน ระดับความสามารถในการบริหารและจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของอุทยานแห่งชาติแต่ละแห่งมีความใกล้เคียงกันมากตามลำดับดังนี้ อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง ได้รับคะแนน 43 รองลงมาคือ อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว 42 คะแนน อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ อุทยานแห่งชาติทับลาน ได้แห่งละ 41 คะแนน อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้าและหมู่เกาะเสม็ดได้ 40 คะแนน และอุทยานแห่งชาติปางสีดา ได้ 38 คะแนน และเมื่อเฉลี่ยเปรียบเทียบระหว่างอุทยานแห่งชาติทางบกกับอุทยานแห่งชาติทางทะเลเพียงเล็กน้อยที่ระดับ 41 : 40.50 คะแนน แบบจำลองการบริหารและการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศสามารถปฏิบัติได้กับกิจกรรมที่อุทยานแห่งชาติทั้ง 7 แห่ง โดยมีการดำเนินการในระดับสูงตั้งแต่ร้อยละ 79.18 ถึง 89.58 ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าแบบจำลองการบริหารและจัดการ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศจะสามารถเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานการบริหารและจัดการ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศของอุทยานแห่งชาติและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่น ๆ ได้ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/556 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น