กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/553
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorกุหลาบ รัตนสัจธรรมth
dc.contributor.authorวิวัฒน์ วิริยกิจจาth
dc.contributor.authorชัยนันท์ เหมือนเพ็ชร์th
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:51:56Z
dc.date.available2019-03-25T08:51:56Z
dc.date.issued2552
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/553
dc.description.abstractการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการจัดการอุบัติเหตุจราจร ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ พื้นที่ที่ศึกษาอยู่ใน 8 ตำบลของ 3 อำเภอ คือ เมืองระยอง แกลง และปลวกแดง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสรุปผล แบบรายงานความก้าวหน้า แบบประเมินผล ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมืออยู่ระหว่าง .8676 - .9392 วิเคราะห์สถิติเชิงพรรณาในรูปของจำนวน ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งผลการวิจัยโดยสรุปดังนี้ คือ จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้ในจังหวัดมีมากกว่า 10 หน่วยงาน องค์ประกอบของเครือข่ายในการจัดการที่สำคัญมากที่สุดคือนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และตำรวจ แต่ผู้ที่สามารถทำได้ทันทีคือ ตำรวจ ในพื้นที่ 3 อำเภอ พบความสามารถในการจัดการ อยู่ระหว่างร้อยละ 69.06 - 71.75 ความสามารถในการควบคุมสถานการณ์การเผชิญความจริงอยู่ระหว่างร้อยละ 69.06 - 71.75 ความสามารถในการคิดทบทวนสถานการณ์ในการจัดการปัญหาอุบัติเหตุ อยู่ระหว่างร้อยละ 61.87 - 67.70 งานที่ทำมากที่สุดคือการประชาสัมพันธ์ฯ งานที่ควรปฏิบัติร่วมกัน 10 งานพบส่วนมากทำเพียง 2-4 งาน มีบางกิจกรรมที่ไม่มีการปฏิบัติร่วมกันเลยคือ งานรายงานสถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุ งานรับแจ้งเหตุ และงานกู้ภัย พัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการจัดการอุบัติเหตุจราจร โดยการถอดบทเรียนการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดระยอง ชลบุรี จันทบุรี ตราด ให้สอดคล้องกับความสามารถ และบริบทข้างต้น ได้ตัวรูปแบบการจัดการในระดับต่างๆ จัดทำเป็นคู่มือและสื่อสำเร็จรูปขึ้น ประกอบไปด้วย แนวทางการวางแผนกลยุทธ์ แนวทางการดำเนินงาน และแนวทางการประเมินผล มีการกำหนดรูปแบบโปรแกรมจัดการอุบัติเหตุจราจรแบบบูรณาการ ประกอบด้วยรูปแบบก่อนเกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุในรูปของเอกสารและสื่ออิเลคโทนิค ทดลองใช้ใน 3 อำเภอต้นแบบ จากการประเมินประสิทธิผล การใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการจัดการอุบัติเหตุจราจร พบว่า ผู้ประเมินมีความพึงพอใจต่อโปรแกรมฯอยู่ในระดับ ดึถึงดีมากมากกว่าร้อยละ 80 ในเรื่องของเนื้อหาของสื่อ ประโยชน์ที่ได้รับจากสื่อ อ่านแล้วเกิดความเข้าใจ ภาพประกอบชัดเจน และสะดวกในการนำไปใช้ได้ มีข้อเสนอให้เพิ่มรูปแบบให้หลากหลายขึ้น เพิ่มรายละเอียดเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น ความสำเร็จที่พบยังไม่เห็นผลชัดเจน มีการประสานเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น แต่การจัดการต่างๆ ยังติดขัดด้วยลักษณะของพื้นที่ ความสำเร็จที่เห็นชัดเจนอยู่ที่อำเภอปลวกแดง มีการขยายผลโดยตั้งศูนย์ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่อร่วมกันในการจัดการอุบัติเหตุจราจร แสดงถึงความสำเร็จในการพัฒนาพลังอำนาจในระดับหนึ่ง ควรมีการขยายผลและติดตามความสามารถของเครือข่ายต่าง ๆ ต่อไปth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectอุบัติเหตุทางถนน - - การจัดการth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการจัดการอุบัติเหตุจราจรของหน่วยงานที่รับผิดชอบปัญหาอุบัติเหตุจราจรth_TH
dc.title.alternativeProgram development for empowering the stakeholder in traffic accident managementen
dc.typeResearch
dc.year2552
dc.description.abstractalternativeThis participatory action research is aimed to develop program for empowering the stakeholder in traffic accident management. The study areas were held in 8 subdistricts among 3 districts which are Muangrayong, Glang and Pluke-Dang. Tools used in this research compose of questionnaire, summary of progress report and evaluation form which rely on. .8676 - .9392. Data analysis was done by using frequency, percentage and analysis. The results revealed as follows: From the beginning, there were more than ten participant organizations involved. The most success key people were subdistrict organization leader, and policeman. However the capable one was the policeman. The managerial ablity was found in 3 districts as follows. The managerial level was between 69.60 – 71.75%. The situation managerial level was between 61.65 – 71.05%. Situation on notification of accident was between 65.55 – 71.05%. The most time consume activity was the public relation activity. The correspondence activity which the teams pay attention was only 20 to 40%. The importance activities which they has been ignored were accident situation report, case accident notification and rescue activities. The road traffic accident empowering program was developed from lesson learned from several provinces including Rayong, Chonburi, Chantaburi, and Trad. This research was adapted to be corresponding with the context above. The manuals were created including strategic plan, implementation guideline and evaluation guideline. The integrative traffic accident management model consisted of before the accident, during the accident and after accident presented in electronic form. Interventions were applined to 3 districts. Found that the program satisfaction was ranged from good to excellent more than 80% in the following aspects : content material, benefit, understanding, clear figures and easy to apply. There were some comments on model variety, more details for easy understanding. However, the finding was not obvious enough even the network number was increased. The management problems dued to caused by the local characteristics. The success was obvious at Pluke – Dang District. Then the cooperation center of the local organizations was set up to manage traffic accident. This showed the empowerment in some level. Finally, there should be an expansion and follow – up capabilities of the various networks.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น