กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/552
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการบริหารงานโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย: กรณีศึกษาศูนย์บริการทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Patterns of University Hospital Management: A case study of burapha University's Medical center.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วนิดา สกุลรัตน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: บุคลากรทางการแพทย์ - - ชลบุรี
โรงพยาบาล - - การบริหารงานบุคคล
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย - - ชลบุรี
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2536
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาสภาพโดยทั่วไปของศูนย์บริการทางการแพทย์เปรียบเทียบการบริหารงานของโรงพยาบาล สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย แสวงหารูปแบบการบริหารที่เหมาะสมสำหรับศูนย์บริการทางการแพทย์ และแสวงหารูปแบบความร่วมมือร่วมแบบในการปฏิบัติงาน วิธีศึกษาประกอบด้วย การรวบรวมสถิติ การศึกษาเอกสารและการส่งแบบสอบถาม ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามไปยังผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารคณะพยาบาลศาสตร์ ผู้บริหารกองแผนงาน ผู้บริหารโครงการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ ผู้บริหารศูนย์บริการทางการแพทย์ รวม 5 กลุ่ม มีผู้ตอบแบบสอบถาม 36 คน การวิเคราะห์ข้อมูลกระทำโดยการคำนวณหาค่าร้อยละ เพื่อหาข้อคิดเห็นที่มีผู้ตอบสูงสุด ข้อค้นพบ 1. สภาพโดยทั่วไปของศูนย์บริการทางการแพทย์ ได้แก่ จำนวนคนไข้ จำนวนรายได้ จำนวนบุคลากร จำนวนงบประมาณที่ได้รับ มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นทั้งหมดยกเว้นสิ่งก่อสร้างคงที่ 2. โรงพยาบาล สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย มีฐานะเป็นภาควิชา สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มีเพียง 1 แห่ง ที่สังกัดเวชศาสตร์เขตร้อน คือโรงพยาบาลเวชศาสตร์ เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยที่ไม่มีโรงพยาบาล แต่มีคณะแพทยศาสตร์ มี 2 แห่งคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความร่วมมือกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความร่วมมือกับโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร 3. รูปแบบโครงสร้างการบริหารงานของศุนย์บริการทางการแพทย์ ควรแก้ไขปรับปรุงให้เป็นหน่วยงานอิสระเทียบเท่าคณะวิชา แบ่งเป็นฝ่ายต่างๆ เช่นเดียวกับภาควิชาและมีฝ่ายงานโรงพยาบาลเป็นส่วนประกอบเพื่อเป็นรากฐานไปสู่การเป็นคณะแพทยศาสตร์ในอนาคต ขอบข่ายงานที่ควรปฏิบัติได้แก่ งานรักษาพยาบาล งานฝึกปฏิบัติงานให้แก่นิสิตคณะต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง งานบริการวิชาการแก่สังคม และงานวิจัย 4. รูปแบบความร่วมมือในการฝึกงาน ควรมีข้อตกลง ตารางการฝึก งบประมาณ บุคลากร เทคนิควิธีการ หลักสูตรใหม่ และกำหนดเป็นนโยบายร่วมกัน เป็นนโยบายสั้น 1 ครั้ง ใช้ 1 ปี มีการสรุปปัญหาทุกครั้งที่สิ้นสุดการฝึกงาน และให้เกียติแต่งตั้งเป็นอาจารย์พิเศษ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/552
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_149.pdf3.57 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น