กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/531
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorถิรพงษ์ ถิรมนัส
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:51:55Z
dc.date.available2019-03-25T08:51:55Z
dc.date.issued2541
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/531
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง เพื่อหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวในครัวเรือน ในเขตเทศบาลตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยทำการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวในครัวเรือนจาก 1) สภาพอุปกรณ์ควบที่ใช้กับก๊าซปิโตรเลียมเหลวในครัวเรือนและ ลักษณะของการติดตั้ง และ 2) การปฏิบัติในการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวในครัวเรือน ตัวอย่างเป็นแม่บ้านของครัวเรือนที่ได้รับการคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบสองขั้นตอน โดยแบ่งประชากรศึกษาออกเป็น 15 หมู่บ้าน เลือกตัวอย่างจากแต่ละหมู่บ้านแบบเจาะจงเฉพาะครัวเรือนที่มีการใช้ปิโตรเลียมเหลวในครัวเรือน และสามารถเข้าเก็บรวบรวมข้อมูลได้ ให้ได้จำนวนตามสัดส่วนของตัวอย่างทั้งหมด มีตัวอย่างในการศึกษาทั้งหมด 372 ครัวเรือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และสำรวจสภาพอุปกรณ์ควบและลักษณะของการติดตั้ง ในช่วงเดือนเมษายน และพฤษภาคม 2540 โดยอาศัยเครื่องมือที่ปรับปรุงจากเครื่องมือของบุษบา จันทร์ผ่องและคณะ การวิจัยนี้พบว่า ครัวเรือนมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวในครัวเรือนในระดับต่ำ ทั้งความเสี่ยงจากสภาพอุปกรณ์และลักษณะของการติดตั้ง และความเสี่ยงจากการปฏิบัติในการใช้ก๊าซ โดยมีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 39 ของคะแนนเต็ม อย่างไรก็ตาม พบว่า ครัวเรือนที่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ก๊าซด้านสภาพอุปกรณ์ควบและลักษณะของการติดตั้งน้อยกว่า และครัวเรือนที่มีการใช้ก๊าซเพื่อการหุงต้มในแต่ละครั้งน้อยกว่า 15 นาที จะเป็นครัวเรือนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากการใช้ก๊่าซมากกว่า การปฏิบัติในการใช้ก๊าซที่ครัวเรือนส่วนมากยังปฏิบัติไม่ถูกต้องเหมาะสม ได้แก่ วิธีการจุดเตาก๊าซทั้งเตาก๊าซที่ต้องจุดไฟด้วยตนเองและเตาก๊าซแบบจุดติดอัตดนมัติ และการตรวจสอบรอยรั่วของก๊าซ สำหรับสภาพอุปกรณ์ควบและลักษณะของการติดตั้งที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ ระยะห่่างระหว่างถังก๊าซกับเตาก๊าซน้อยกว่า 1 เมตร และโดยเฉพาะอย่างยิ่งวางถังก๊าซไว้ใต้เตาหรือเก็บไว้ในตู้มิดชิด และการไม่ยึดสายท่อก๊าซด้วยเหล็กรัดข้อต่อ สำหรับอันตรายที่เกิดขึ้นจริง พบว่าในช่วง 1 ปีที่ผ่านมามีการประสบอันตรายเพียงครัวเรือนเดียวและครั้งเดียวจากเปลวไฟลุกลวกมือแม่บ้าน โดยมีสาเหตุจากการบิดจุดเตาก๊าซหลายครั้งต่อเนื่องกันโดยไม่หยุดทิ้งไว้สักระยะหนึ่งเพื่อให้ก๊าซกระจายตัวออกไปเสียก่อน จากการวิจัยนี้ แม้จะพบว่าครัวเรือนมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายในระดับต่ำ มีโอกาสเกิดอันตรายได้น้อย ครัวเรือนก็ยังต้องระมัดระวังการเกิดอันตราย เพราะถ้าหากเกิดอันตรายขึ้นมาก็อาจจะมีความรุนแรงได้ โดยการปฏิบัติในการใช้ก๊าซให้ถูกต้อง โดยเฉพาะการจุดเตาก๊าซ การตรวจสอบรอยรั่ว การตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ควบเมื่อเปลี่ยนถังก๊าซใหม่หรือการสังเกตก่อนการใช้งานแต่ละครั้ง ทั้งนี้ครัวเรือนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง นอกจากนี้เจ้าหน้าที่จากร้านจำหน่ายก๊าซก็นับว่ามีความสำคัญต่อความปลอดภัยของครัวเรือน ในการตรวจสอบอุปกรณ์ควบตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจให้กับครัวเรือน ควรมีการศึกษาถึงความรู้ความเข้าใจ การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความปลอดภัยแก่ครัวแรือนของเจ้าหน้าที่จากร้านจำหน่ายก๊าซth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2539.en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectก๊าซปิโตรเลียมอัดเหลว - - วิจัยth_TH
dc.subjectครัวเรือน - - ชลบุรี - - การใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงth_TH
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค - - ชลบุรีth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชth_TH
dc.titleพฤติกรรมและอันตรายเกี่ยวกับการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวในครัวเรือนเขตเทศบาลตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีth_TH
dc.title.alternativeLPG Hazardous risks and consumer using behaviors in households, Saensuk Municipality Muang District Chonburi Provinceen
dc.typeResearch
dc.year2541
dc.description.abstractalternativethis cross-sectional analyticstudy was to reveal the factors that related LPG hazardous risk among the households in Saensuk municipality Muang district Chonburi province. LPG hazardous risk was asessed from 1) LPGequipment condition and installation and 2) LPG using behavior. The samoles were hoursekeepers whom were selected by two stages random sampling. First study population were separated into 15 villages, then sample households were selected by purposive sampling with proportional to size. There were total 372 sample households in this study. The data was collected during April and May 1997 by interviewing and inspection of LPG equipment condition and installation following the improved instrument of Chanpong and colleagues. The results of this study showed households had low LPG hazardous risk both from equipment condition and installation and using behavior. Moreover, it was dound that the households with less level of knowledge about LPG equipment condition and installation, and the households that use LPG for cooking less than 15 minutes in each time had higherhazardous risk. The more frequently improper LPG using were ignition step both for manual and automatic LPG stove, and inspection of LPG leakage. About improper LPG equipment condition and installation, it was found that LPG cylinder was standed less than 1 meter far from stove especially which was beneath the stove or was hired in the cabinet. Last yearperiod there was only one household had accident of the flame rising to housekeeper's hand. Because of the continuously ignition many times but fire was still not set on. Therefore, when fire was set on it produced big flame. From this study, although I found low LPG hazardous risk but the households should be careful about LPG using for zero accident. The housekeepers should therefore have sufficient knowledge about proper LPG equiment condition and installation and how to use and how to inspect the leakage of LPG. Moreover, authorities from LPG store were also important to houshold safety, because they could take care about safety of their clients.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_221.pdf5.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น