กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/528
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | พัชนี สุวรรณศรี | |
dc.contributor.author | ถิรพงษ์ ถิรมนัส | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:51:54Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:51:54Z | |
dc.date.issued | 2542 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/528 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการจัดกิจกรรมการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน ของโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และได้วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดกิจกรรมการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถามผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานของโรงงาน โดยเลือกเฉพาะโรงงานที่มีคนงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ซึ่งมีทั้งหมด 141 โรงงาน มีโรงงานให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม 99 โรงงาน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70.2 โรงงานเหล่านี้เป็นประเภทอุตสาหกรรมบริการ (ร้อยละ 44.4) อุตสาหกรรมเคมีและพลาสติก (ร้อยละ 18.2) อุตสาหกรรมโลหะและอโลหะ (ร้อยละ 14.1) อุตสาหกรรมยานยนต์และประกอบรถยนต์ (ร้อยละ 11.1) อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม (ร้อยละ 4.0) อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ (ร้อยละ 3.0) อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่มห่ม (ร้อยละ 3.0) และอุตสาหกรรมการก่อสร้าง (ร้อยละ 2.0) โรงงานส่วนใหญ่ (ร้อยละ 72.7) อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม การจัดกิจกรรมการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานของโรงงานเหล่านี้พบว่า ในจำนวน 14 กิจกรรม มีการดำเนินการเฉลี่ย 8 กิจกรรม บางโรงงานดำเนินการเพียง 2 กิจกรรม ขณะที่บางโรงงานดำเนินการถึง 13 กิจกรรม กิจกรรมที่โรงงานมากกว่าร้อยละ 80 มีการดำเนินการ ได้แก่ การแนะนำตักเตือนในด้านความปลอดภัย การตรวจสุขภาพอนามัย การรณรงค์กิจกรรม 5 ส. การจัดทำรายงานวิเคราะห์อุบัติเหตุ และการรณรงค์การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล โรงงานอุตสาหกรรมประเภทอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่มห่ม อุตสาหกรรมเคมีและพลาสติก อุตสาหกรรมการก่อสร้าง และอุตสาหกรรมโลหะและอโลหะ มีการดำเนินการมากกว่าค่าเฉลี่ยของกิจกรรมทั้งหมด พบว่าโรงงานที่มีการจัดกิจกรรมการส่งเสริมมความปลอดภัยในการทำงานน้อยเมื่อเทียบกับโรงงานอื่นๆ ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมประเภทอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ และอุตสาหกรรมบริการ โรงงานที่ตั้งอยู่นอกนิคมอุตสาหกรรม โรงงานที่มีขนาดเล็ก และโรงงานที่มีผู้บริหารรวมทั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยมีการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรีและมีประสบการณ์ในการทำงานด้านความปลอดภัยน้อย นอกจากนี้ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนส่งเสริมและกระตุ้นให้โรงงานอุตสาหกรรมมีการจัดกิจกรรมการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน ควรที่จะมีการส่งเสริมประสบการณ์ด้านความปลอดภัยของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานของโรงงานอุตสาหกรรมให้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี เป็นต้นว่า โดยการเข้าร่วมในการอบรมต่างๆทางด้านความปลอดภัย The purpose of this study was to investigate safety promotion activities in the workplace and to determine factors related to such activities. A questionnaire was mailed to 141 factories having more than 50 workers. After the follow up procedures, the final response constituted 70.2%. The participating factories included service industry (44.4%), chemical and plastic industry (18.2%), metal and non metal industry (14.1%), vehicle manufacturing industry (11.1%), food and beverage industry (4.0%), wood processing industry (3.0%), textile industry (3.0%), and construction industry (2.0%). The majority of the participating factories (72.7%), was situated in the industrial estate. The results of this study showed that an average of 8 out of 14 safety promotion activities had been implemented with minimum of 2 activities and a maximum of 13 activities. Activities that more than 80 % of the participating factories had implemented were safety precautions, health examination, good housekeeping campaign, accident investigation and reporting, and personal protective equipment program. Only textile industry, chemical and plastic industries, construction industry and metal and non metal industries had implemented the number of activities above the average (8 activities). In contrast, industries that had implemented lesser activities when compare with others were food and beverage industry, wood processing industry, and service industries. Factories that situated outside of the industrial estate, small scale industry, and having administrators and safety officers with educational background below a bachelor degree and little safety experience had also been implemented lesser activities. It was also found that to promote and stimulate the implementation of such activities, there should have been more safety training for the administrator and safety officer especially those who did not have a bachelor degree. | th_TH |
dc.description.sponsorship | ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ปี พ.ศ. 2541 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม - - ชลบุรี | th_TH |
dc.subject | ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม - - วิจัย | th_TH |
dc.subject | ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.title | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | Factors related to industrial safety activities in muang district Chonburi province | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2542 | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น