กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/524
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์การป้องกันอันตรายจากเสียงดังของผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมในเขตสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The study on factors affecting worker's practice for the use of hearing protective device in Industrial Garden Sahapat Amphur Sriracha Chonburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์ ถิรพงษ์ ถิรมนัส อนามัย ธีรวิโรจน์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มลพิษทางเสียง สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ เสียง - - การป้องกันและควบคุม |
วันที่เผยแพร่: | 2543 |
สำนักพิมพ์: | คณะสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาปัจจัยทีมีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์การป้องกันอันตรายจากเสียงดังของผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เป็นการศึกษาเชิงสำรวจเพื่อศึกษา ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติและการปฏิบัติที่มีต่อการใช้อุปกรณ์ป้องกันหูของผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมและการศึกษาสภาพการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเสียง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม ในเขตสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์และต้องมีการปฏิบัติงานที่ต้องสัมผัสกับระดับความดังของเสียงเกินกว่า 80 เดซิเบล (เอ) จำนวน 370 คน โดยการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 61.9 และหญิงร้อยละ 38.1 มีอายุระหว่าง 17-49 ปี และมีการศึกษาในระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 36.0 กลุ่มตัวอย่างมีระยะเวลาของการทำงานนานมาแล้วเฉลี่ย 4.62 ปี และมีระยะเวลาทำงานเฉลี่ยในแต่ละวัน 8.27 ชั่วโมง ซึ่งต้องมีการสัมผัสเสียงดังในแต่ละวัน 7.46 ชั่วโมง มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันหูในขณะทำงานทุกครั้ง ร้อยละ 41.4 ใช้เป็นบางครั้ง ร้อยล่ะ 31.4 และไม่ใช้ร้อยละ 27.3 เฉพาะในกลุ่มผู้ไม่ใช้อุปกรณ์ป้องกันหูในขณะปฏิบัติงานให้เหตุผลไม่ใช้ คือใช้แล้วอึดอัด รำคาญพูดคุยไม่รู้เรื่อง หรือเกิดอาการแพ้ เจ็บหู ถึงร้อยละ 52.5 และที่ใช้อุปกรณ์ป้องกันหู ส่วนมากเป็นที่อุดหู ร้อยละ84.0 ที่ใช้เพราะกลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับหู ถึงร้อยละ 95.5 และการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ พบว่า มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันหูตลอดเวลาที่มีการสัมผัสเสียงดังในโรงงานเพียงร้อยละ 67.3 และกลุ่มตัวอย่างมีการดูแลรักษาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายหู ร้อยละ 82.9 ของผู้ที่มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันหู สำหรับในเรื่องการอบรม พบว่า ร้อยละ 44.6 เคยได้รับการอบรมเรื่องอันตรายและการป้องกันอันตรายอันเนื่องจากเสียง และพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้อุปกรณ์ป้องกันหู ได้แก่ เพศ กลุ่มอายุ รายได้ต่อเดือน การได้รับการอบรมเรื่องอันตรายและการป้องกันอันตรายเนื่องมาจากเสียง การอบรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันหู การมีข้อกำหนดหรือระเบียบข้อบังคับให้กับพนักงานใส่อุปกรณ์ป้องกันหู การจัดบริการตรวจสมรรถภาพการสได้ยินเสียงของพนักงานประจำปีและการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันหู และจากการศึกษานี้มีข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบหรือหาความสัมพันธ์และ/หรือการศึกษาหารูปแบบการทำนายระหว่างการสูญเสียการได้ยินที่เกิดจากเสียงในการทำงานกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันหู และควรมีการศึกษารูปแบบหรือวิธีการที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานสัมผัสเสียงดังมีการยอมรับการใช้อุปกรณ์ป้องกันหูมากขึ้น นอกจากนี้ ควรศึกษาวิจัยหารูปแบบหรือหลักสูตรสำหรับการเผยแพร่ความรู้ถึงอันตรายของเสียงและการใช้อุปกรณ์ป้องกันหูเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้เกิดความตระหนักเห็นความสำคัญและได้ใช้อุปกรณ์ป้องกันหูอย่างถูกต้องยิ่งขึ้น |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/524 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
title.pdf | 393.93 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
chapter1.pdf | 195.93 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
chapter2.pdf | 3.01 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
chapter3.pdf | 109.13 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
chapter4.pdf | 1.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
chapter5.pdf | 363.9 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
bibliography.pdf | 258.89 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
appendix.pdf | 363.92 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น