กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/52
ชื่อเรื่อง: | การประเมินความเครียดจากการทำงานของพนักงานผู้ทำงานในสำนักงานของโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | An assessment of job stress at work among office workers at Laem Chabang Industrial Estate Facilities, Chonburi province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข พิศมัย เสรีขจรกิจเจริญ จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ความเครียดในการทำงาน นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง โรงงาน - - พนักงาน - - ความเครียดในการทำงาน สาขาสังคมวิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2544 |
สำนักพิมพ์: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้เป็นวิจัยประยุกต์ในแนวทางการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางจิตวิทยาสังคมที่เป็นตัวกำหนดระดับความเครียดและลักษณะการทำงาน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานผู้ทำงานในสำนักงานของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 432 คน โดยเครื่องมือที่ใช้แปลจากแบบประเมินทางสภาพจิตวิทยาสังคมในการทำงานของวินเดอร์ ชาลเบซิล และคณะ ประกอบด้วยองค์ประกอบด้านข้อเรียกร้องจากงาน การควบคุม หรืออำนาจการตัดสินใจในงานและการสนับสนุนทางสังคม โดได้ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาด้วยการแปลย้อนกลับ และได้ทำการทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือด้วยค่าสัมประสิทธิ์คงที่ได้ค่าความเที่ยงระหว่าง 0.52-0.93 และ 0.6-0.93 ตามลำดับ หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลได้นำมาวิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณาในรูปของความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด พร้อมทั้งทดสอบความแปรปรวนและความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยในแต่ละองค์ประกอบตามตัวแปรอิสระ จากนั้นวิเคราะห์ระดับความเครียดจากการทำงาน ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบทางจิตวิทยาสังคม ทั้ง 3 ด้าน ของพนักงานผู้ทำงานในสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมฯแสดงภาวะการรับรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบด้านข้อเรียกร้องจากงานที่ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.14 จำแนกเป็นองค์ประกอบย่อยด้านข้อเรียกร้องทางสติปัญญา ที่ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.17 องค์ประกอบย่อยด้านข้อเรียกร้องทางจิตกายภาพ ที่ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.43 และองค์ประกอบย่อยด้านข้อเรียกร้องจากงานโดยรวมและรายองค์ประกอบย่อยทุกองค์ประกอบสูงกว่าเพศหญิง และองค์ประกอบด้านการควบคุมหรืออำนาจในการตักสินใจทำงาน พบว่า พนักงานผู้ทำงานในสำนักงาน ฯ แสดงภาวะการรับรู้เกี่ยวกับที่ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.37 จำแนกเป็นองค์ประกอบย่อยด้านควบคุมพฤติกรรมการทำงาน มีค่าเฉลี่ย 3.07 และองค์ประกอบด้านการควบคุมความสามารถใช้ทักษะในการทำงาน มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.68 จากการทดสอบความแปรปรวนและความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ย กับตัวแปรอิสระต่างๆ พบว่า เพศชายมีค่าคะแนนเฉลี่ยในแต่ละองค์ประกอบย่อยด้านการควบคุมความสามารถในการทำงาน สูงกว่าเพศหญิง เกี่ยวกับองค์ประกอบด้านการสนับสนุนทางสังคม พนักงานผู้ทำงานในสำนักงานฯ แสดงภาวะการรับรู้ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.14 จำแนกเป็นองค์ประกอบด้านการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชามีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.19 และองค์ประกอบย่อยด้านการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานมีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.09 จากการทดสอบความแปรปรวน และความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยกับตัวแปรอิสระต่างๆ พบว่า เพศชายมีค่าคะแนนเฉลี่ยด้านการสนับสนุนทางสังคมโดยรวมและรายองค์ประกอบทุกองค์ประกอบสูงกว่าเพศหญิง ผลการศึกษาพบว่าระดับความเครียดจากงานโดนใช้ค่าคะแนนเฉลี่ยรายองค์ประกอบหลัก คือ ข้อเรียกร้องจากงาน อำนาจการตัดสินใจในงาน และการสนับสนุนทางสังคม พบว่า พนักงานผู้ทำงานในสำนักงานส่วนใหญ่ทำงานเป็นเชิงรุก รองลงมามีความเครียดจากการทำงานต่ำ ทำงานในเชิงรับ และมีความเครียดจากการทำงานสูง จากการทำสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระต่างๆ กับระดับความเครียดจากการทำงานและจากลักษณะงาน (เชิงรุก หรือ เชิงรับ) พบว่าเฉพาะเพศเท่านั้นมีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดจากการทำงานและลักษณะการทำงาน ผลการศึกษาพบว่าเพศหญิงอยู่ในกลุ่มทำงานในเชิงรับมากกว่าเพศชาย โดยที่เพศชายมีค่าคะแนนเฉลี่ยด้านข้อเรียกร้องจากการทำงานและอำนาจการตัดสินใจในงานสูง ก่อให้เกิดการทำงานในเชิงรุก ในขณะที่เพศชายมีค่าคะแนนเฉลี่ยด้านการสนับสนุนทางสังคมมากกว่าเพศหญิง จึงทำให้อยู่ในกลุ่มที่มีความเครียดจากการทำงานสูงกว่าเพศชาย นอกนั้นไม่พบความเครียดจากการทำงาน ตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบในระดับสูงสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ดำรงตำแหน่งยังไม่ครบ 2 ปี มีความขัดแย้งด้านบทบาทหน้าที่สูงสุด ข้อเสนอแนะจากการวิจัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มที่ทำงานเชิงรับ ควรมีการเพิ่มปริมาณงานและหน้าที่ความรับผิดชอบให้มากขึ้น (Job enlargement) และเพิ่มคุณค่าของการทำงานให้มากขึ้น (Job enrichment) สำหรับกลุ่มที่มีความเครียดจากการทำงานสูง อาจเพิ่มด้วยการให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในกิจกรรมที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อหัวหน้าพนักงาน ส่งเสริมให้มีการทำงานเป็นทีม และให้มีการจัดกิจกรรมร่วมกัน นอกเวลาทำงาน เป็นต้น |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/52 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2544_006.pdf | 5.99 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น