กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5130
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorวิศรุต คงสกุล
dc.date.accessioned2023-03-10T08:43:39Z
dc.date.available2023-03-10T08:43:39Z
dc.date.issued2565
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5130
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของลูกค้าหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และ เพื่อนำเสนอแนวทางการให้บริการของศูนย์สอบเทียบเครื่องมือวัดสำหรับอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ ให้เข้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน โดยการประยุกต์ใช้แบบจำลองคุณภาพการบริการ (SERVQUAL) ร่วมกับแบบจำลองความสัมพันธ์ระหว่างความสำคัญกับความพึงพอใจ (I-S Model) เพื่อจำแนกความต้องการที่ควรให้ความสนใจก่อนที่จะนำไปวิเคราะห์ต่อด้วยเทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (QFD) ที่เป็นเครื่องมือหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า งานวิจัยนี้เริ่มต้นด้วยการสัมภาษณ์เพื่อสำรวจความต้องการเบื้องต้นของลูกค้าที่มีต่อห้องปฏิบัติการสอบเทียบ และการระบาดของไวรัสโควิด-19 ด้วยแบบสัมภาษณ์ปลายเปิด โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างมาจากบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของศูนย์สอบเทียบเครื่องมือวัดจำนวน 100 คน ขั้นตอนต่อมาดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและจัดกลุ่มความต้องการเพื่อใช้เป็นคำถามด้านคุณภาพในแบบสอบถามปลายปิด กำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก(EEC) จำนวน 380 คน ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามปลายปิดถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (QFD) และสร้างเป็นบ้านคุณภาพ (House of Quality) ผลจากงานวิจัยพบว่าความต้องการของลูกค้าที่มีต่อห้องปฏิบัติการสอบเทียบหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มีระดับคะแนนสูงสุดจำนวน 5 ข้อ ได้แก่ 1) ห้องปฏิบัติการต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC17025, 2) ระยะเวลาในการสอบเทียบไม่เกิน 5 วัน, 3) ค่าบริการในการสอบเทียบมีความเหมาะสมไม่สูงมาก, 4) ห้องปฏิบัติการต้องมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างชัดเจน และ 5) มีช่องทางในการติดต่อกับห้องปฎิบัติการที่สะดวกและหลากหลายมากกว่า 3 ช่องทาง จากข้อมูลข้อกาหนดทางเทคนิคที่ได้ถูกนำมาออกแบบเป็นแนวทางในการให้บริการของศูนย์สอบเทียบเครื่องมือวัดด้วยเทคนิค OKR’s โดยกำหนดวัตถุประสงค์จากพื้นฐานความสามารถ และข้อจากัดของศูนย์สอบเทียบเครื่องมือวัด สามารถออกแบบเป็นแนวทางการให้บริการของศูนย์สอบเทียบเครื่องมือวัดหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ทั้ง 5 ข้อ และเมื่อปรับปรุงการดำเนินงานตามแนวทางที่ปรับปรุงใหม่พบว่าลูกค้ามีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของศูนย์สอบเทียบเครื่องมือวัดในภาพรวมเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ด้วยเหตุนี้ทางศูนย์สอบเทียบเครื่องมือวัดจึงได้บรรจุแนวทางในการให้บริการหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เข้าไปในแผนการดาเนินงานตามเอกสารระบบคุณภาพ ISO/IEC17025 : 2017 ผ่านการประชุมทบทวนระบบคุณภาพของศูนย์สอบเทียบเครื่องมือวัดครั้งที่ 1/2564 โดยมติในที่ประชุมรับรองแนวทางการให้บริการที่ปรับปรุงใหม่ และให้ดำเนินการต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.titleการประยุกต์ใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพเพื่อปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจหลังการระบาดของโควิด-19 กรณีศึกษาศูนย์สอบเทียบเครื่องมือวัดสำหรับอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์th_TH
dc.title.alternativeAn Application of Quality Function Deployment Technique for Improving Business Process after COVID-19 Case Study Calibration Center for Industry Faculty of Engineeringth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailwissarut@buu.ac.thth_TH
dc.year2565th_TH
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research was to study customer demand was after the coronavirus-2019 outbreak and to present service guidelines of calibration center for industry faculty of engineering(CIB) to match the current situation of the epidemic of the covid-19 virus. The research is use a service quality(SERVQUAL) and relationship model between importance and satisfaction (I-S Model) and Quality Function Deployment(QFD) is tools to use collect information and analyzer customer demand. This research was start to interview form customer with open-ended question was choose sample group from people is related to activity of CIB of quantity 100 people. So next step involves collecting data and grouping from need of customer to used as to quality questions for survey customer demand with closed-ended questionnaire. The sample group was defined as employees factories in the Eastern Region (EEC) of 380 people. The information was also analyzed with QFD and House of Quality. Results of research is indicate the customer demand after the epidemic of virus Covid-19 have with the highest rating of 5 namely 1)the laboratory must be accredited to ISO/IEC1725, 2) calibration period is not more than 5 day, 3)the calibration fee is reasonable, 4)laboratory must have clear measures to prevent the spread of virus Covid-19 and 5)there are convenient and diverse communication channels to the laboratory more than 3 channels.From the technical specification data used to design a guideline for the services provided by OKR’s technical by considering the determination of objectives from basic ability and restrictions of the CIB. Can be designed as a service guideline for the CIB after the epidemic of the Covid-19 virus in all 5 items. And when improving operations according to the new guidelines, it was found that customers were more satisfied with the operation of the CIB, especially measures to prevent the spread of the Covid-19 virus. For this reason CIB has included guidelines for service after the epidemic of Covid-19 into the implementation plan according to the document quality system ISO/IEC17025 : 2017. Passed the meeting management review of CIB No.1/2564 by the resolution of the meeting to certify the new service guidelines and continue.th_TH
dc.keywordเครื่องมือวัดสำหรับอุตสาหกรรมth_TH
dc.keywordการบริการth_TH
dc.keywordระบบคุณภาพth_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2566_088.pdf3.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น