กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5084
ชื่อเรื่อง: การทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องส่งถ่ายโปรตีนจากเจลสู่เมมเบรน (Western Blot Transfer System for Mini-Gel) ระหว่างแบบถังเปียก (Wet/Tank Blotting Systems) รุ่น Mini Trans-Blot® Cell และ แบบกึ่งแห้ง (Semi dry) รุ่น Trans-Blot® Turbo™ Transfer System ในการตรวจสอบระดับโปรตีนไวเทลลินในแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีภาพรรณ ธาระนารถ
รชนิมุข หิรัญสัจจาเลิศ
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะเทคโนโลยีทางทะเล
คำสำคัญ: กุ้งกุลาดำ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
บทคัดย่อ: การศึกษานี้เป็นการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องส่งถ่ายโปรตีนจากเจลสู่เมมเบรน (Western Blot Transfer System for Mini-Gel) ระหว่างแบบถังเปียก (Wet/Tank Blotting Systems) รุ่น Mini Trans-Blot® Cell และแบบกึ่งแห้ง (Semi dry) รุ่น Trans-Blot® Turbo™ Transfer System ในการตรวจสอบระดับโปรตีนไวเทลลินในแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำที่เลี้ยงจากบ่อดิน โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 6 ชุดการทดลองคือ กุ้งไม่ถูกตัดตาได้รับอาหารเม็ดปกติหรือชุดควบคุม (N=12), กุ้งที่ถูกตัดตา 1 ข้างได้รับอาหารเม็ดปกติ (N=12), กุ้งที่ได้รับอาหารเม็ดผสมฮอร์โมน 10, 50, 100 และ 500 mg/kg ของอาหาร (N=16, 16, 16 และ 8) ตามลำดับ โดยเลี้ยงเป็นระยะเวลา 60 วัน เก็บตัวอย่างรังไข่ ตับ/ตับอ่อนและเลือด ในวันที่ 35 และ 60 วันของการเลี้ยง จากการหาค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ดัชนีรังไข่ของวันที่ 35 พบว่า ในชุดการทดลองที่ 2 มีค่าสูงกว่าการทดลองอื่น (1.78±0.65%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนกุ้งที่เลี้ยงเป็นระยะเวลา 60 วัน มีค่าเปอร์เซ็นต์ดัชนีรังไข่ไม่แตกต่างกันทางสถิติในทุกชุดการทดลอง จากการวัดปริมาณโปรตีนในแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำ พบว่า ในเลือดมีปริมาณโปรตีนสูงที่สุด (16.07–314.55 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) เมื่อเทียบกับรังไข่ (0.25–8.10 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) และตับ/ตับอ่อน (0.92–8.79 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) ที่มีปริมาณโปรตีนที่ใกล้เคียงกัน จากการตรวจสอบรูปแบบโปรตีนในเลือด รังไข่ และตับ/ตับอ่อน ด้วย 10% โพลีอะครีลาไมด์เจล (SDS-PAGE) พบแถบโปรตีนที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จำนวน 20-40 แถบ เมื่อศึกษาขนาดของโปรตีนไวเทลลินด้วยวิธีเวสเทิร์นบลอท โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเครื่องส่งถ่ายโปรตีนจากเจลสู่เมมเบรนระหว่างแบบถังเปียก รุ่น Mini Trans-Blot® Cell และแบบกึ่งแห้ง รุ่น Trans-Blot® Turbo™ Transfer System โดยใช้แอนตี้บอดีที่จำเพาะต่อโปรตีนไวเทลลินของกุ้งกุลาดำ พบว่า ตัวอย่างกุ้งที่เลี้ยงเป็นระยเวลา 35 วัน และ 60 วัน พบโปรตีนไวเทลลินจำนวน 13 และ 15 ขนาด ตามลำดับ โดยมีขนาดโปรตีนที่เหมือนกันคือ 200, 157, 130, 104, 74, 63, 58, 38 และ 34 กิโลดาลตัน แถบโปรตีนที่ได้จากการส่งถ่ายโปรตีนจากเจลสู่เมมเบรนแบบกึ่งแห้งจะปรากฎแถบโปรตีนที่มีความคมชัดมากกว่าแบบถังเปียก จากการเปรียบเทียบระดับโปรตีนไวเทลลินในแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำที่เลี้ยงเป็นระยะเวลา 35 และ 60 วัน ที่ได้จาก 2 วิธี พบการปรากฏและไม่ปรากฎของแถบโปรตีนที่ให้ผลตรงกันคิดเป็นร้อยละ 89.32 และ 94.44 ตามลำดับ การปรากฏของแถบโปรตีนที่ไม่ตรงกันคิดเป็นร้อยละ 10.68 และ 5.56 ตามลำดับ และ พบว่า ทั้ง 2 วิธี ให้ผลของการปรากฏแถบโปรตีนจำนวนเท่ากันคิดเป็นร้อยละ 50 การวิเคราะห์แบบกึ่งแห้งให้จำนวนแถบโปรตีนมากกว่าแบบถังเปียกคิดเป็นร้อยละ 46.67 ในขณะที่การวิเคราะห์แบบถังเปียกให้จำนวนแถบโปรตีนมากกว่าแบบกึ่งแห้งคิดเป็นร้อยละ 3.33
รายละเอียด: ทุนอุดหนุนการวิจัย ประเภทเงินรายได้ คณะเทคโนโลยีทางทะเล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5084
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2566_020.pdf2.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น