กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/50
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์จุดเสี่ยงโดยใช้เทคนิคระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และปัจจัยทำนายความรุนแรงการเกิดอุบัติภัยจราจรบนท้องถนนในจังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Risk area analysis by using GIS technique and predictable factors toward road traffic accident severity in Rayong province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กุหลาบ รัตนสัจธรรม
วิวัฒน์ วิริยกิจจา
ธนัญชัย บุญหนัก
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ - - วิจัย
ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ - - วิจัย
อุบัติเหตุทางถนน - - ระยอง - - วิจัย
อุบัติเหตุ - - ระยอง - - วิจัย
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2548
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยแบบไม่ทดลองนี้ เพื่อวิเคราะห์จุดเสี่ยงและปัจจัยทำนายความรุนแรงการเกิดอุบัติภัยจราจรบนถนนจังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างเป็นจุดเสี่ยงสูง 23 จุด และผู้ประสบอุบัติภัยจราจรทางถนน สาย 3, 36, 344 และ สาย 319 ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2547 โดยใช้แบบบันทึกการเก็บจุดพิกัด และ แบบบันทึกข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุที่ผ่านมาวิเคราะห์ความตรงแล้ว นำมาวิเคราะห์เชิงพื้นที่ ความถี่ ร้อยละ วิเคราะห์องค์ประกอบ วิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค ความเสี่ยงสัมพันธ์ อำนาจในการทำนาย และร้อยละรวมของการทำนายถูกต้อง ตามเงื่อนไขข้อตกลงของสถิติแต่ละตัวได้ผลการวิจัยโดยสรุปดังนี้ คือจุดเสี่ยงสูงทั้ง 23 จุด พบมากที่สุดอยู่ในอำเภอเมือง 11 จุด รองลงมาพบอยู่ในอำเภอแกลง 8 จุด อำเภออื่น ๆ กระจายกันอำเภอละ 1 จุด ตำแหน่งของรถที่เกิดอุบัติเหตุถูกชนบ่อยครั้งมากที่สุดคือ บริเวณด้านหน้ารถรองลงมาคือถูกชนบริเวณบังโคลนหน้าด้านซ้าย และพบปลอดภัยมากที่สุดคือบริเวณกลางคันด้านขวา อัตราอุบัติการณ์ของการเกิดอุบัติเหตุของแต่ละจุดเสี่ยง อยู่ระหว่าง 47.34-492.13 ต่อจำนวนรถที่ผ่านแสนคันต่อปี เส้นถนนที่พบจุดเสี่ยงมากที่สุดคือสาย 3 รองลงมาคือสาย 36 ปัจจัยทำนายความรุนแรงการเกิดอุบัติภัยจราจรบนถนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .05 พบปัจจัยทำนายการตายจากอุบัติเหตุ 3 ตัว คือ สภาพแวดล้อมที่มือไม่มีไฟฟ้า/แสงสว่าง เดือนตุลาคมและอายุต่ำกว่า 20 ปี ร่วมกันทำนายการตายนี้ได้ร้อยละ 34.02 ส่วนปัจจัยทำนายการเจ็บหรือตายจากอุบัติเหตุ พบ 4 ตัว คืออายุต่ำกว่า 20 ปี เวลา 0.00-3.59 น. หลักฐานการอนุญาตคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถบางคันหมดอายุ และถนนแห้ง ร่วมกันทำนายการเจ็บหรือตายนี้ได้ร้อยละ 33.42 ผู้ประสบเหตุอายุต่ำวก่า 20 ปี มีความเสี่ยงสัมพัทธ์ที่จะตายจากอุบัติเหตุเป็น 13.65 เท่า (หรือระหว่าง 2.72-68.42 เท่า) มีความเสี่ยงสัมพัทธ์ที่จะเจ็บหรือตายจากอุบัติเหตุเป็น 16.51 เท่า (หรือระหว่าง 3.81-71.49 เท่า) สภาพแวดล้อมที่มือไม่มีไฟฟ้า/แสงสว่าง ทำให้ผู้ประสบเหตุมีความเสี่ยงสัมพัทธ์ที่จะตายจากอุบัติเหตุเป็น 32.79 เท่า (หรือระหว่าง 4.70-228.82 เท่า) และเดือนตุลาคมมีความเสี่ยงสัมพัทธ์ที่จะตายจากอุบัติเหตุเป็น 7.49 เท่า (หรือระหว่าง 1.53-90.52 เท่า) ผู้ประสบเหตุเวลา 0.00-3.59 น. มีความเสี่ยงสัมพัทธ์ที่จะเจ็บหรือตายจากอุบัติเหตุเป็น 3.41 เท่า (หรือระหว่าง 1.05-11.09 เท่า) ถนนแห้งมีความเสี่ยงสัมพัทธ์ที่จะเจ็บหรือตายจากอุบัติเหตุเป็น 3.23 เท่า (หรือระหว่าง 1.54-6.74 เท่า) หลักฐานการอนุญาต การมีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมีเพียงบางคัน มีความเสี่ยงสัมพัทธ์ที่จะเจ็บหรือตายจากอุบัติเหตุเป็น 6.27 เท่า (หรือระหว่าง 2.11-18.64 เท่า) ดังนั้น ในการลดความเสี่ยงของความรุนแรงการเกิดอุบัติเหตุภัยจราจรนี้ ควรมีการติดตั้งแสงสว่างทุกจุดเสี่ยงให้เพียงพอ ควบคุมกวดขันผู้ขับขี่ที่อายุน้อยกว่า 20 ปี ให้ความสนใจแก้ปัญหาเร่งด่วนในกลุ่มรถที่ขาดการต่ออายุพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ในเดือนตุลาคมและถนนแห้ง ซึ่งจะช่วยให้เกิด ความปลอดภัยในการสัญจรบนท้องถนนดังกล่าว
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/50
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
viewobj (11)16.11 MBUnknownดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น