กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/49
ชื่อเรื่อง: | การรับรู้ การตัดสินใจ และพฤติกรรมการปรับตัวของหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อเอดส์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Perception, decision making and behavioral adaptation of HIV positive pregnancy |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เวธกา กลิ่นวิชิต นลิน มงคลศรี จินดาภรณ์ สุรเนตร สรร กลิ่นวิชิต อังคณา สัตยวณิช มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | สตรีมีครรภ์ - - พฤติกรรม สตรีมีครรภ์ - - สุขภาพและอนามัย สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ โรคเอดส์ - - สตรีมีครรภ์ - - พฤติกรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2541 |
สำนักพิมพ์: | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของหญิงตั้งครรภ์ติดเชื่อเอดส์เกี่ยวกับโรคเอดส์ การตัดสินใจและการยอมรับในการดำรงภาวะการตั้งครรภ์ ศึกษาพฤติกรรมการปรับตัวของหญิงตั้งครรภ์ การดูแลสุขภาพ การเลี้ยงดูบุตร และการใช้ชีวิตในครอบครัวและสังคม ตลอดจนเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยสนับสนุนต่อการตัดสินใจ การปรับตัว และการดำรงค์ชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื่อเอดส์กลุ่มตัวอย่างจำนวน 15 คน เป้นหญิงตั้งครรภ์ที่ตรวจพบ Antibody HIV แต่ยังไม่แสดงอาการของ AIDS Related Complex ตามคำนิยามของ Centers of Desease control ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่คลินิกส์ฝากครรภ์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาและสมัครใจยินดีร่วมมือในการศึกษาวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์แบบลึก และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่ เดื่อน พฤศจิกายน 2540 - กันยายน 2541 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 11 เดือน ผลการศึกษาพบว่า1. การรับรู้ของหญิงตั้งครรภ์ติดเชื่อเกี่ยวกับโรคเอดส์พบว่ามีปฏิกริยาตอบสนองส่วนใหญ่คือ ตกใจ และเงียบในระยะแรก แสดงความวิตกกังวลโดยการถอนหายใจ และคำพูด เมื่อมีการปรับสภาพอารมณ์และเผชิญปัญหามีแนวโน้มในการยอมรับการติดเชื้อเอดส์โดยสามารถรับรู้สาเหตุการติดเชื้อเอดส์ ความรุนแรงของโรค แนวทางการปฏิบัติตัวหลังการติดเชื้อ และการรับทราบโอกาสการแพร่เชื้อไปสู่บุตรได้ 2. การตัดสินใจการปรับตัวของหญิงตั้งครรภ์มีสาเหตุและปัจจัยสนับสนุนในการตัดสินใจที่สำคัญที่สุดคือ บุคคลในครอบครัว โดยเฉพาะสามีเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด รองลงมาคือ แม่ หรือบุคคลที่ใกล้ชิด ปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ ความสำคัญของการตั้งครรภ์ อยุครรภ์ และความเชื่อทางศาสนา 3.พฤติกรรมในการปรับตัวของหญิงตั้งครรภ์ในการดูแลสุขภาพอนามัยตนเองระหว่างการตั้งครรภ์ การเลี้ยงดูบุตรและการใช้ชีวิตในครอบครัวและสังคม มีพฤติกรรมการปรับตัวส่วนใหญ่เหมาะสม ในระหว่างการตั้งครรภ์ มีการมารับบริการฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ และมีน้ำหนักตัวสัมพันธ์กับอายุครรภ์ การเลี้ยงดูบุตร มารดาติดเชื้อเอดส์มีความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรได้เช่นเดียวกับหญิงคลอดบุตรทั่วไป แต่จะมีปัญหาในการเลี้ยงดูบุตรบ้างในเรื่องของภาวะเครียดและซึมเศร้าเป็นบางครั้งเกี่ยวกับการติดเชื่อเอดส์ เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้และสามารถติดต่อไปสู่บุตร และการขาดความเข้าใจในการนำบุตรมารับการตรวจและการติดตามการเจาะเลือดเป็นระยะตามนัด 4. ปัจจัยสนับสนุนต่อการตัดสินใจ การปรับตัว และการดำรงชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื่อเอดส์ ที่สำคัญที่สุด คือ การยอมรับและการเห็นอกเห็นใจจากบุคคลในครอบครัวซึ่งจะทำให้มีกำลังใจ ในการดำเนินชีวิตกล้าเผชิญปัญหาและแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้ และความเข้าใจอันดีจากสังคมส่งเสริมให้ผู้ติดเชื้อสามารถประกอบอาชีพได้ ซึ่งจะเป็นการลดปัญหาในด้านเศรษฐกิจ เงินทองและสิ่งของเพื่อการดำเนินชีวิตของผู้ติดเชื้อ ผลการวิจัยศึกษาครั้งนี้ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ พฤติกรรมของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอดส์ และสนับสนุนให้มีการปรับตัวต่อบทบาทมารดา ได้อย่างเหมาะสมรวมทั้งได้ทราบปัจจัยที่มีอิทธิพลและเข้าใจวิธีคิดและการตัดสินใจแก้ปัญหาต่อสภาพการเผชิญชีวิตในสังคมประจำวัน อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานด้านสาธารณสุขโดยใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนงานบริการและการให้คำปรึกษา ให้สุขศึกษาและการรักษาพยาบาล ทั้งร่างกายท จิตใจ และสังคม แก่หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอดส์ต่อไป The purpose of this qualitive research was designed to describ the perception, decision making and behavioral adaption od HIV positive prenancy, as well as to analyse factors that influence and support the decision making and behavioral adaption. The 15 participants were the clients in the antenatal clinic of Health Science Service Center at Burapha University, whose results of the test were antibody HIV positive and willing to participate in this study. Content analysis was done with data from indepth interviews and observation during 11 month period from November 1997- September 1998. It was found that 1. The pregnant weman were frighten when being frist diagnosis with HIV positive and frustrated. But later were able to accept the condition and stard to learn about reasons of infection, severity of disease, principle of self-care and opportunity of viral tranmission to their fetus in uterine. 2. The counselling with their husband was the most important factor to continue their pregnancy. Other factors for continuing pregnancy were the pregnancy itself, gastational age religion believe. 3. Behavioral adaption in self-care during pregnancy were at the right track; participating in antenatal clinic consistently and keeping proper body wieght, taking care of their children as well as normal mother does. Having stress and high anxiety and depress, lacking of knowledge and understanding following up of their children health. 4. The important factor to supportive decision making and adaptation for continued their life was the family's acception and sympaty. Besides this, support from society and job opportunity were among the factors. This study provides also knowledge and understanding in behavior of HIV pregnancy to help their adaptation, think style. The decision processes can be used to improve to counselling, health education and holistic care for HIV prenancy. |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/49 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2567_252.pdf | 2.5 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น