กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/470
ชื่อเรื่อง: ผลของดนตรีบำบัดต่อการลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effect of music therapy on depressed older adults
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กาญจนา พิบูลย์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: ความซึมเศร้า
ความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
ดนตรีบำบัด
วันที่เผยแพร่: 2548
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) เพื่อศึกษาระดับความซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่มารับบริการ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ และศึกษาประสิทธิผลของดนตรีบำบัดต่อการลดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ที่มารับบริการ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มตัวอย่างในช่วงแรก คือ ผู้สูงอายุที่มารับบริการ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ จำนวน 130 คน กลุ่ม ตัวอย่างในช่วงทดลองคือผู้สูงอายุ ที่ได้รับการประเมินภาวะซึมเศร้าโดยใช้แบบวัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย (TGDS) และมีค่าคะแนนเฉลี่ยของภาวะซึมเศร้า เล็กน้อย ถึงปานกลาง จำนวน 10 คน ผู้สูงอายุที่อาสาสมัครเข้าร่วม การศึกษาต้องเข้าร่วมโปรแกรม จำนวน 8 ครั้ง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ และครั้งที่ 9 เป็นการติดตามผล ซึ่งต้องใช้เวลาหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ สถิติพรรณนา และ One-way repeated ANOVA ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 60-65 ร้อยละ 41.5 เป็นเพศหญิง จำนวนร้อยละ 59.2 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 62.3 การศึกษาระดับประถมศึกษาถึง จำนวนร้อยละ 43. 1 มีภาวการณ์เจ็บป่วยด้วยโรค เบาหวาน และความดันโลหิตร่วมกันมากที่สุด จำนวนร้อยละ 45.2 กลุ่มตัวส่วนใหญ่มีภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อย จำนวนร้อยละ 49.2 ระดับปานกลางร้อยละ 3.8 ระดับรุนแรงร้อยละ 0.8 ผลการศึกษาหลังจากดำเนินการทดลองพบว่า ผู้สูงอายุที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมดนตรีบำบัดมีระดับค่าคะแนนเฉลี่ยของภาวะซึมเศร้าระยะหลักการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และค่าคะแนนเฉลี่ยของภาวะซึมเศร้า ระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ ต่ำกว่าการทดลอง แต่สูงกว่า ระยะหลังการทดลองอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โปรแกรมดนตรีบำบัดสามารถลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้ ดังนั้น พยาบาลวิชาชีพควรนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการพยาบาลกับผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าทั้งที่ได้รับใน ชุมชนละในคลินิกอื่นในแผนกผู้ป่วยนอก ต่อไปในการศึกษาครั้งต่อไป ควรคำนึงถึงการศึกษาเปรียบเทียบผลของดนตรีบำบัดในผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมและกลุ่มตัวอย่างอาจเป็นในกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการในหอผู้ป่วย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/470
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_057.pdf5.63 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น