กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/47
ชื่อเรื่อง: การปนเปื้อนของโลหะหนักในน้ำและดินตะกอนบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Contamination of Some Heavy Metals in Seawater and Sediments along the Eastern coast of thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: แววตา ทองระอา
ฉลวย มุสิกะ
วันชัย วงสุดาวรรณ
อาวุธ หมั่นหาผล
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: การตกตะกอนชายฝั่ง - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย
มลพิษทางทะเล - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
เขตเศรษฐกิจ - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย
โลหะหนัก - - การวิเคราะห์ - - วิจัย
โลหะหนัก - - แง่สิ่งแวดล้อม - - วิจัย
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การปนเปื้อนของโลหะหนัก ปรอท แคดเมียม ตะกั่ว สังกะสี ทองแดง นิเกิล เหล็ก และ แมงกานีส ในน้ำทะเลและดินตะกอน ได้ทำการศึกษาในบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกง จ. ฉะเชิงเทรา ถึงปากแม่น้ำตราด จ. ตราด โดยศึกษาในรูปของปริมาณโลหะหนักรวมและศึกษาคุณภาพน้ำและคุณภาพดินตะกอนบางประการด้วย เก็บตัวอย่างน้ำทะเลและดินตะกอน 2 ครั้ง คือในฤดูแล้ง (มีนาคม 2547) และฤดูฝน (สิงหาคม 2547) รวม 52 สถานี พบว่า โลหะหนักในน้ำทะเลมีค่าน้อยและอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งของไทย ยกเว้นเหล็กและแมงกานีสที่มีค่าสูงเกินมาตรฐานพบในบริเวณปากแม่น้ำ จ. จันทบุรีและตราด สำหรับในดินตะกอน พบว่ามีโลหะหนักบางชนิดที่มีค่าสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานของต่างประเทศ โดยเฉพาะปรอท ตะกั่ว และสังกะสีในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีมาตรฐานโลหะหนักในดินตะกอนกำหนดไว้ ส่วนเหล็กและแมงกานีสมีค่าสูงมากในดินตะกอนโดยเฉพาะบริเวณปากแม้น้ำ จ. จันทบุรีและตราด การประเมินระดับความรุนแรงการปนเปื้อนของโลหะหนักในกินตะกอนจากการวิเคราะห์หาค่าดัชนีวัดการสะสมทางธรณี (geoaccumulation index) โดยเทียบกับความเข้มข้นของโลหะหนักที่เกิดจากธรรมชาติ พบว่ามีเพียงตะกั่วเท่านั้นที่อยู่ในสภาพไม่ปนเปื้อน/ ปนเปื้อนไม่รุนแรง ซึ่งแสดงว่าอาจมีการปนเปื้อนของตะกั่วบางส่วนในดินตะกอนจากกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดมีการปนเปื้อนมากที่สุด นอกจากนี้ พบว่า การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลมีอิทธิพลต่อความเข้มข้นของโลหะหนักที่พบในน้ำทะเลมากกว่าในดินตะกอน โลหะหนักส่วนใหญ่ในน้ำทะเลมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเค็ม แต่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับตะกอนแขวนลอยและสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำวัดในรูปของฟลูออเรสเซนซ์ สำหรับในดินตะกอนนั้นพบว่า ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับค่าความจุในการแลกเปลี่ยนอิออนบวกสารอินทรีย์ ออกไซด์ของเหล็กและแมงกานีส ดินเหนียว และทรายแป้ง แต่มีความสัมพันธ์ทางลบกับค่าความเป็นกรด-ด่างของดินตะกอน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/47
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2549_005.pdf3.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น