กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/469
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorรัชนันต์ ถิรรดา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:51:51Z
dc.date.available2019-03-25T08:51:51Z
dc.date.issued2548
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/469
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมเตรียมคลอดต่อความรู้เกี่ยวกับการคลอด พฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด และความพึงพอใจต่อการใช้บริการคลอดในมารดาครรภ์แรก กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาครรภ์แรก ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 30 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็น กลุ่มควบคุม 15 ราย ได้รับการดูแลตามปกติจากหน่วยฝากครรภ์ และกลุ่มทดลอง 15 ราย ได้รับการเตรียมคลอดตามโปรแกรม 2 ครั้ง เคื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการสอนการเตรียมตัวเพื่อการคลอดแบบวัดความรู้เกี่ยวกับการคลอด แบบประเมินพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดและแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้บริการคลอด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ในกลุ่มก่อนและหลังการทดลอง โดยการใช้สถิติการทดสอบค่าทีที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลความแตกต่างกลุ่มใช้สถิติการทดสอบค่าทีที่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. มารดาครรภ์แรกกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการคลอดหลังได้รับโปรแกรมการเตรียมคลอดเพิ่มขึ้นสูงกว่ามารดาแรกกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. มารดาครรภ์แรกกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดหลังได้รับโปรแกรมการเตรียมคลอดต่ำกว่ามารดาครรภ์แรกกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3. มารดาครรภ์แรกกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการใช้บริการคลอดโดยรวมหลังได้รับโปรแกรมการเตรียมคลอดสูงกว่ามารดาครรภ์กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05th_TH
dc.description.sponsorshipรายงานการวิจัยนี้ ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีงบประมาณ 2547en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการคลอด - - วิจัยth_TH
dc.subjectการทำคลอดth_TH
dc.subjectการพยาบาลสูติศาสตร์th_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleผลของการใช้โปรแกรมการเตรียมคลอด ต่อความรู้เกี่ยวกับการคลอดพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดและความพึงพอใจต่อการใช้บริการคลอดของมารดาครรภ์แรกth_TH
dc.title.alternativeEffect of childbirth preparation program on labour knowledge,pain-coping behavior and labour service satisfaction of primigravidasen
dc.typeResearchth_TH
dc.year2548
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental study was to examine the effect of childbirth preparation program on labour knowledge, pain-coping behavior and labour service satisfaction of Primiparas. The samples were 30 normal primiparas. They were recruited from the antenatal clinic of the Health Science Center, Burapha University and were purposively selected. The control group, consisted of 15 subjects, received routine care while the experimental group, consisted of 15 subject, received 2 childbirth preparation classes. The instruments used in this study were childbirth preparation plan, labour knowledge questionnaires, the pain-coping behavior scale and the labour service satisfaction questionnaires. Data were analyzed by using frequency, percentage and t-test. The results revealed that: 1. The primiparas in experimental group had significantly higher mean score of labour knowledge after the experiment than those of primiparas in the control group (p<.05) 2. The primiparas in experimental group had significantly lower mean score of the pain-coping behavior after the experiment than those of primiparas in the control group (p<.05) 3. The primiparas in experimental group had significantly higher mean score of the labour service satisfaction after the experiment than those of primiparas in the control group (p<.05).en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_182.pdf2.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น