กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/467
ชื่อเรื่อง: ปัญหาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Behavioral problems and factors affecting behavioral problems in deaf children
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รมร แย้มประทุม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: การศึกษาพิเศษ - - การศึกษาและการสอน
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน - - วิจัย
วันที่เผยแพร่: 2548
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงเพื่อศึกษาพฤติกรรม และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน กลุ่มตัวอย่างคือเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนโสตทัศนศึกษาจังหวัดชลบุรี อายุระหว่าง 11-16 ปี ใช้แบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน ฉบับภาษาไทย ประกอบด้วยชุดประเมินพฤติกรรม 3 ชุดย่อย คือ ผู้ปกครองประเมิน ครูประเมิน และเด็กประเมินตนเอง เพื่อประเมินปัญหาพฤติกรรม 4 ด้านคือ ด้านอารมณ์ เกเรอยู่ไม่นิ่ง ความสัมพันธ์กับเพื่อน ส่วนจุดแข็งคือสัมพันธภาพทางสังคม กลุ่มประชากรที่ศึกษามีทั้งสิ้น 70 คน สามารถเก็บข้อมูลได้ครบสมบูรณ์ ได้จำนวน 64 คน ผลการศึกษาพบว่า เมื่อจัดกลุ่มคะแนนปัญหาพฤติกรรม ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือ พฤติกรรมเกเร จำนวน 5 คน (ร้อยละ 7.8) จากชุดผู้ปกครองประเมิน พฤติกรรมด้านอารมณ์ จำนวน 5 คน (ร้อยละ 7.8) จากชุดครูประเมิน และพฤติกรรมความสัมพันธ์กับเพื่อน จำนวน 8 คน (ร้อยละ 12.5) จากชุดเด็กประเมินตนเมิน และถ้านำค่าเฉลี่ยของแต่ละปัญหามาจัดกลุ่มจากผู้ประเมินทั้ง 3 กลุ่ม พบว่าถูกจัดอยู่ในกลุ่มปกติทั้งหมด การประเมินจากผู้ประเมินทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า การประเมินโดยครู มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับเด็กประเมินตนเองเกือบทุกด้าน ยกเว้นพฤติกรรมด้านอารมณ์ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมพบว่า ปัจจัยอายุมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปัญหาพฤติกรรมด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน และคะแนนรวมปัญหาพฤติกรรมในชุดเด็กประเมินตนเอง ปัจจัยเศรษฐานะ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปัญหาพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งในชุดผู้ปกครอง และครูประเมิน และมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปัญหาพฤติกรรมเกเร รวมทั้งมีความสัมพันธ์เชิงลบกับปัญหาพฤติกรรมด้านสัมพันธภาพทางสังคมในชุดครูประเมิน ปัจจัยเพศพบว่า เด็กผู้ชายมีค่าคะแนนปัญหาพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งคะแนนรวมปัญหาพฤติกรรม และพฤติกรรมเกเรมากกว่าเด็กผู้หญิง ส่วนปัจจัยสภาพครอบครัว จากการประเมินโดยครูพบว่า สภาพครอบครัวของกลุ่มตัวอย่างที่บิดามารดาแยกกันอยู่หรือเสียชีวิต มีค่าคะแนนปัญหาพฤติกรรมด้านอารมณ์มากกว่ากลุ่มที่บิดามารดาอยู่ด้วยกัน เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน พบปัญหาพฤติกรรมหลายด้านจากการประเมินของผู้ปกครอง ครู และเด็กเอง และพบว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยหลายอย่างโดยเฉพาะผลสัมฤทธิทางการศึกษา สมควรที่ผู้เกี่ยวข้องกับเด็กควรให้ความสนใจและป้องกันปัญหาต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/467
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_122.pdf3.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น