กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/466
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสมจิตร์ วงศ์บรรเจิดแสง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ
dc.date.accessioned2019-03-25T08:51:50Z
dc.date.available2019-03-25T08:51:50Z
dc.date.issued2552
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/466
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้สูงอายุโรคเรื้องรังที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา และเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมอย่างสม่ำเสมอ จำนวน 68 คน โดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ถึงสิงหาคม พ.ศ. 2552 วิธีการเก็บข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดการดูแลตนเองโดยอ้างอิงแนวคิดของโอเร็ม แบบวัดคุณภาพชีวิตโดยอ้างอิงแนวคิดเครื่องชีวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโรค (WHOQOL) นำไปหาความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์ของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 ทั้งสองฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าความสัมพันธ์ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และ Content Analysis ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีการดูแลตนเองโดยรวมอยู่ในระดับดีมากที่สุด (X = 3.61, SD = 0.55) 2. กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดี (X = 3.38, SD = 0.60) 3. การดูแลตนเองมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .379) 4. จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าการดูแลตนเองมีประโยชน์ต่อภาวะสุขภาพ โดยสิ่งที่ช่วยส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเอง คือ การได้รับความรัก ความเอาใจใส่จากบุคคลในครอบครัว และการได้ร่วมกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ นอกจากนี้ความสามารถในการดูแลตนเอง ทำให้สามารถควบคุมโรคได้ และช่วยส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นth
dc.language.isothth_TH
dc.publisherศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเองth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ - - การดูแลth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ในชมรมผู้สูงอายุศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.title.alternativeRelationship between self care and quality of life among older adults with chronic illness in the elderly club at the health science center, Burapha universityen
dc.typeResearch
dc.year2552
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to examine the relationship between self-care and quality of life among older adults in the Health Science Center, Burapha University. The research subjects consisted of 68 older adults with chronic illness who have been permanent members of the elderly club in the Health Science Center Burapha University during July to August 2009. Data collecting was done by interviewing especially by depth interviews. Two questionnaires were used. The Self Care Ability Questionnaires which was modified from the 'Orem's Concept' was used to determine the level of self-care and the Quality of Life Questionnaires, a variation of WHOQOL, was utilized as instrument to test the certain quality of life. The reliability coefficients if both questionnaires were 0.87 respectively. Demographic data were analyzed by frequency, percentage, mean and standard deviation. To express the correlation among the self care agency and the quality of life variables was managed by the application of the 'Pearson's Product Moment Correlation Coefficient' Content analysis was the method to analyze the qualitative data. The result of the study revealed that: 1. The total score of 'self care agency ability' was at the highest level. 2. The total score of ' quality of life' was at a high level. 3. Self-care agency and quality of life were significantly positive correlating at .01 (r = .379) 4. The results from the in-depth interviews have shown that self care definitely brings along a benefit for them. Factors that promoted self care agency ability were to love someone else and to feel loved by others, to take care of family members and to be taken care by them, and to be a member of an elderly club. Self care ability enabled them to reach a better status of health, increased their quality of life, and gifted them to master their health problems in a competent way.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_151.pdf4.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น