กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/462
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการป้องกันการติดเชื้อจากการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of infections preventive strategies from home health care provided to the elderly persons living in Seansook subdistrit of amphur muang Chonburi
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัลลภา พ่วงขำ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: การติดเชื้อ
จุลชีววิทยาทางการแพทย์
โรคติดต่อ - - การป้องกันและควบคุม
สูงอายุ - - การดูแล
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินสาเหตุ ปัจจัยเสริม กิจกรรมการดูแล และผลลัพธ์ที่เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อจากการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน ทั้งในผู้สูงอายุที่มีและไม่มีการใส่อุปกรณ์เข้าสู่ร่างกายหรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่อวัยวะต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ดูแลกับบุคลากรทางสุขภาพ ในการสร้างรูปแบบการป้องกันการติดเชื้อจากการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านที่เหมาะสมกับชุมชน โดยการศึกษาตามแนวทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็มในบทบาทของพยาบาลควบคุมการติดเชื้อโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การตรวจสุขภาพ ประเมินและวิเคราะห์ความเครียด ความพึงพอใจ พร้อมไปกับการเยี่ยมบ้านกลุ่มตัวอย่าง ในผู้สูงอายุที่รู้สึกตัวและไม่รู้สึกตัว จํานวน 8 คน ผู้ดูแลจํานวน 8 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเป็นจํานวนความถี่ ข้อมูลเชิงคุณภาพนํามาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาแล้วนําเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุที่เกี่ยวกับการติดเชื้อที่บ้าน คือ การได้รับยา การสอดใส่อุปกรณ์การแพทย์เข้าสู่ร่างกายเพื่อการรักษา การเจ็บป่วยของบุคคลในบ้าน และปัจจัยเสริมที่มีผลต่อการปฏิบัติกิจกรรมป้องกันการติดเชื้อได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ความสามารถผู้สูงอายุและประเภทผู้ดูแล การศึกษาวิจัยนี้ทําให้ได้รูปแบบกิจกรรมหลักที่สําคัญในการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อจากการดูแลที่บ้านในผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้และมีผู้ดูแลที่เป็นญาติ จํานวน 8 กิจกรรม คือ การให้ความรู้และการแนะนําเกี่ยวกับโรค การใช้ยา การดูแลเพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อ การป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ การป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินอาหาร การล้างมือ การทําลายเชื้อและการซักผ้าเปื้อน สําหรับรูปแบบกิจกรรมที่สําคัญในการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อจากการดูแลที่บ้านในผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และมีผู้ดูแลที่เป็นลูกจ้างที่ดูแลอย่างเป็นทางการ ควรเพิ่มอีก 9 กิจกรรม คือ การป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนังเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและแผลกดทับ การป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ การป้องกันการติดเชื้อที่ตา และช่องปาก การจัดสถานที่แยกห้องผู้สูงอายุ การสวมถุงมือ การควบคุมสิ่งแวดล้อม การใช้ผ้าปิดปากปิดจมูกและการดูแลสุขภาพผู้ดูแล ผู้สูงอายุที่บ้าน และผลลัพธ์จากการดูแลป้องกันการติดเชื้อจากการดูแลสุขภาพที่บ้านในการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อที่บ้าน จํานวน 3 คน มีความเครียดอยู่ในเกณฑ์ปกติและมีความพึงพอใจต่อการบริการการดูแลสุขภาพที่บ้านในระดับมาก จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่าควรจะมีการกําหนดนโยบายทั้งในระดับกระทรวงสาธารณสุข และสถานบันต่าง ๆ ให้มีการฝึกอบรมพยาบาลและผู้ดูแลที่บ้านให้นํารูปแบบกิจกรรมที่สําคัญในการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อจากการดูแลที่บ้านในผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้และไม่ได้นําไปปฏิบัติให้มากขึ้น การนําไปใช้ประโยชน์ ใช้เป็นข้อมูลในการจัดทําคู่มือและแนวทางการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อในผู้สูงอายุที่ได้รับการรักษาดูแลที่บ้าน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/462
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_072.pdf9.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น