กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/459
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorลักษณาพร กรุงไกรเพชร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:51:50Z
dc.date.available2019-03-25T08:51:50Z
dc.date.issued2549
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/459
dc.description.abstractรูปแบบการวิจัย: การศึกษาความคืบหน้า วัตถุประสงค์ : 1. เปรียบเทียบผลการมองเห็นหลังทําผ่าตัดต้อกระจกโดยใช้เครื่องสลายต้อกระจก และการผ่าตัดต้อกระจกแบบผ่าเย็บแผล 2. ศึกษาภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัดต้อกระจกโดยใช้เครื่องสลายต้อกระจกและการผ่าตัดต้อกระจกแบบผ่าเย็บแผล ประชากร: ผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดต้อกระจก ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดต้อกระจก ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ระหว่าง วันที่ 1 มกราคม -31 ธันวาคม 2548 อายุระหว่าง 40 - 80 ปี ไม่มีโรคทางตาที่มีผลต่อการมองเห็น จํานวน 92 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ 1 จํานวน 46 รายผ่าตัดโดยวิธีผ่าตัดเย็บแผลและกลุ่มที่ 2 จํานวน 46 ราย ผ่าตัดโดยใช้เครื่องสลายต้อกระจก วิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างได้รับการผ่าตัดโดยแพทย์คนเดียวกัน วิธีการเตรียมผู้ป่วย การใช้ยาชาชนิดฉีด การดูแลภายหลัง การผ่าตัดและระยะเวลาการติดตามผลเช่นเดียวกัน คือ 1 สัปดาห์, 1 เดือน และ 3 เดือน แตกต่างกันเฉพาะวิธีการผ่าตัด โดยใช้สถิติวิจัยข้อมูลทั่วไปใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบค่าไคสแคว์ การเปรียบเทียบการมองเห็นหลังการผ่าตัด แต่ละช่วงเวลาใช้สถิติความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) วิเคราะห์อัตราเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดด้วยสถิติพรรณนา ผลการวิจัย : 1. ผู้ป่วยที่มาผ่าตัดส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 71-80 ปี ไม่มีโรคประจำตัวและไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในผู้ป่วยที่ผ่าตัดทั้ง 2 วิธี 2. ผลการมองเห็นหลังผ่าตัดทั้ง 2 วิธีในช่วงเวลา 1 สัปดาห์ 1 เดือนและ 3 เดือนไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ที่นัยสําคัญ.05 (F=3.356, p=.07; F=1.720, p=.193; F=1.610, p=.208 ตามลําดับ) 3. เมื่อติดตาม 3 เดือนหลังผ่าตัดพบว่า ผลการมองเห็นเพิ่มขึ้น ≥ 2 แถว หลังผ่าตัดพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ทางสถิติในผู้ป่วยผ่าตัดทั้ง 2 วิธี 4. ผลการมองเห็นหลังผ่าตัดตั้งแต่ 0.3 logMAR (20/40) พบว่าการผ่าตัดชนิดใช้ เครื่องสลายต้อกระจกดีกว่าอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ 5. ผลการศึกษาภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต้อกระจกพบว่าการผ่าตัดชนิดเย็บแผลมีแผลแยกร้อยละ 2.17 และกระจกตาแห้งร้อยละ 4.34 ส่วนการผ่าตัดชนิดใช้เครื่องสลายต้อกระจกพบว่ามีม่านตาอักเสบร้อยละ 4.34 และถุงหุ้มเลนส์ขุ่นร้อยละ 2.17 สรุปผลการวิจัย: การผ่าตัดต้อกระจกชนิดใช้เครื่องสลายต้อกระจกดีกว่าการผ่าตัดชนิดเย็บแผลการมองเห็นหลังผ่าตัดที่มากกว่าหรือเท่ากับ 20/40 (0.3logMAR) ส่วนภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดทั้ง 2 กลุ่มมีอัตราการเกิดน้อยและไม่รุนแรง ซึ่งถือว่าปลอดภัยสําหรับการผ่าตัดต้อกระจก ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาทั้ง 2 วิธีth_TH
dc.description.sponsorshipรายงานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย ประเภทงบประมาณเงินรายได้ ประจำปี 2548 ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพาen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectตา - - ศัลยกรรมth_TH
dc.subjectตา - - โรคth_TH
dc.subjectต้อกระจก - - ภาวะแทรกซ้อน - - วิจัยth_TH
dc.subjectต้อกระจก - - ศัลยกรรม - - วิจัยth_TH
dc.titleเปรียบเทียบผลการมองเห็นและภาวะแทรกซ้อนหลังทำผ่าตัดต้อกระจกโดยวิธีผ่าตัดเย็บแผลและวิธีใช้เครื่องสลายต้อกระจก ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.title.alternativeComparison of visual acuity outcome and complication rate after extracapsular cataract extraction and phacoemulsification at Burapha University hospitalen
dc.typeResearch
dc.author.emailluksanaporn@buu.ac.then
dc.year2549
dc.description.abstractalternativeObjective: This study was compaired of visual acuityoutcome and complication rate after Extracapsular cataract extraction (ECCE) and Phacoemulsification at Burapha University hospital during January-December 2005 Population: Cataract patients with cataract surgery during January-December 2005 at Burapha University hospital Samples: Cataract patients with cataract surgery age, between 40-80 years and no eye problem. Fourty-six patients received ECCE and 46 patients received Phacoemulsification. Material & Methods: The patients were surgery by one doctor, same pre-operative care, local anesthesia (Retrobulbar) and post-operative care. Follow up after surgery at 1 week, 1 month and 3 months. Fourty-six patients were receivedECCE and 46 patients were received Phacoemulsification- Data analysis are chi-square test for general data, comparison visual outcome by ANCOVA analysis and complication rate by Descriptive analysis. Results: 1. No significant in sex, age and underlying disease between 2 groups 2. No significant in visual outcome at 1 week, 1 month and 3 months (F=3.356, p=.07; F=1.720, p=.193; F=1.610, p=.208) No significant about visual acuity improve >2 lines but significant about visual acuity improve > 0.3 log MAR (20/40) in Phacoemulsification better than ECCE. (3 months after surgery) 3. Complication rates in 2 groups are rare and not severe. Wound leak 2.17% and punctuate epitherial erosion 4.34% in ECCE. Conclusion: Phacoemulsification better than ECCE about visual acuity improve> 0.3 logMAR (20/40) and no serious complication in both groups.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_058.pdf2.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น