กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/456
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorกิตติ กรุงไกรเพชร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:51:50Z
dc.date.available2019-03-25T08:51:50Z
dc.date.issued2554
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/456
dc.description.abstractรูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงสำรวจ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาและสำรวจ สิ่งต่อไปนี้ในนิสิตมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก 1.ความชุกของการบริโภคสุรา 2. ปัจจัยที่เป็นมูลเหตุในการบริโภคสุราเป็นประจำ 3. ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมบริโภคสุราของนิสิต ประชากร: นิสิตที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกในปีการศึกษา 2552 จำนวนประมาณ 26,468 คน กลุ่มตัวอย่าง: ทำการเลือกด้ยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sample) และเลือกตัวอย่างจากแต่ละชั้นโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสุ่ม (Accidental sample) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 412 คน โดยมีนิสิตกลุ่มสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนดลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพเท่ากับ 263,107 และ 42 คน ตามลำดับ เป็นชาย 133 คน เป็นหญิง 279 คน วิธีการวิจัย: เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถาม รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย: อายุเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 20.58 ปี โดยมีนิสิตที่บริโภคสุรา จำนวน 262 คน (ร้อยละ 64) ในจำนวนนี้เป้นชาย 144 คน (ร้อยละ 86 ของเพศชายทั้งหมด)และหญิง 148 คน (ร้อยละ 53 ของเพศหญิงทั้งหมด) พบว่านิสิตที่มีพฤติกรรมการบริโภคสุราเป็นประจำ 154 คน (ร้อยละ 37) และอยู่ในเกณฑ์บริโภคสุรา เป็นครั้งคราว 108 คน (ร้อยละ 26) มูลเหตุของพฤติกรรมการบริโภคสุราเป็นประจำพบว่า 5 อันดับแรก คือ เพื่อนชักชวนไปดื่มด้วย อยากดื่มเอง ชอบรรยากาศของสถานที่ที่ไปดื่มสุรา ดับความกลุ่มใจ/ เครียดวิตกกังวลและอกหักตามลำดับ กลุ่มที่มีพฤติกรรมการบริโภคสุราเป็นประจำและกลุ่มที่ไม่บริโภคสุรามีสัดส่วนของผู้มีความรุ้มากและน้อยใกล้เคียงกัน ยกเว้นกลุ่มที่บริโภคสุราเป็นครั้งคราวมีสัดส่วนของผู้ที่มีความรู้ด้านสุรามากในจำนวนที่มากกว่าผู้มีความรู้ด้านสุราน้อย แต่เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมพบว่า ระดับความรู้ด้านสุรามากและน้อยของนิสิตตัวอย่างทั้งหมดมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน และพบว่า นิสิตที่มีพฤติกรรมการบริโภคสุราเป็นประจำมีทัศนคติเชิงบวกต่อการบริโภคสุราเป็นส่วนใหญ่ ในทางตรงข้ามกลุ่มที่ไม่บริโภคสุรามีทัศนคติเชิงลบต่อการดื่มสุราเป็นส่วนใหญ่ ส่วนกลุ่มที่มีพฤติกรรมบริโภคสุราเป็นครั้งคราวมีทัศนคติเชิงบวกและลบในจำนวนใกล้เคียงกัน สรุปผลการวิจัย: สัดส่วนของการบริโภคสุราในนิสิตเพศชายมีมากกว่าเพศหญิง พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ความชุกของการบริโภคสุราในกลุ่มตัวอย่างมากกว่าการศึกษาอื่นที่ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างวัยเดียวกัน และพบว่าปัจจัยสำคัญที่เป็นมูลเหตุของการดื่มสุราที่สำคัญ คือ สภาพทางสังคมของวัยรุ่น โดยการชักจูงของกลุ่มเพื่อนประกอบกับวิสัยในการอยากลองทำให้มีพฟติกรรมในการบริโภคสุราเป็นประจำ นอกจากนั้นยังพบว่า ผู้ที่บริโภคสุราเป็นประจำมีทัศนคติเชิงบวกต่อการบริโภคสุรา ส่วนความรู้ในเรื่องสุราพบว่าไม่มีผลต่อการตัดสินใจในการบริโภคสุรามากนักth
dc.description.sponsorshipรายงานการวิจัยนี้ได้รับการอุดหนุนเงินวิจัย ประเภทงบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาล โครงการผลิตแพทย์เพิ่ม ประจำปี พ.ศ. 2554 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์th_TH
dc.subjectนักศึกษา - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - การติดสุราth_TH
dc.subjectบริโภคนิสัย - - ไทย (ภาคตะวันออก)th_TH
dc.titleมูลเหตุของพฤติกรรมการบริโภคสุราเป็นประจำของนิสิตมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก ปีการศึกษา 2552th_TH
dc.title.alternativeMotivating factors of habitual alcoholic drinking in undergraduate students in one of Universities, Eastern part, Thailand, Academic year 2009en
dc.typeResearchth_TH
dc.year2554
dc.description.abstractalternativeStudy design: A survey study Objectives: To study in undergraduates students in one of universities Eastern part, Thailand, academic year 2009, in the ways of prevalence, motivation factors, knowledge, attitudes and behaviors of alcoholic drinking. Population and Samples: The 412 samples were stratified random sampling from population 26, 468 students who came from group of faculties of Health Science 43 person (10%), group of facilities of Technology Science 106 person (26%) and group of facilities Social Science 263 persons (64%). Materials and Methods: The general data and objective data were collected by the researcher and team with questionnaires. The percentage, mode, mean and standard deviation were used to analyzed the data Results: A mean age of samples was 20.58. The drinking behavior were divided in 3 groups by drinking behaviors; the habitual drinkers, the sometime drinkers and the non-drinkers. The proportion of students who were alcoholic drinker was 262 in 412 (64%). In this numbers; 114 (86% of male samples) were male students and 148 (53% of female samples) were female students. From 262 alcoholic drinkers; 154 students were the habitual drinkers (37%) and 108 students were sometime drinkers (26%). The non-drinkers were 150 students (36%). The top 5 motivation factors of drinkers were friend persuasion, challenge, friendly drinking places, and stress/anxiety/broken heart, respectively. The knowledge levels of alcoholic drinking in the habitual drinkers and non-drinkers were not different but in the sometime drinker group had the proportion of high knowledge more than low knowledge. The positive attitudes to alcoholic drinking was striking in the habitual drinkers more than non-drinker group. On the other hand the negative attitudes to alcoholic drinking was notable in the non-drinkers and the sometime drinkers had slightly more positive than negative attitudes to alcoholic drinking. Conclusions: A male drinker was still distinctive but the female drinker had the high proportion level more than in the part. The prevalence of alcoholic drinker in this study was triple numbers of the general population in the same age group. The major active motivating factors of alcoholic drinking were teenage socialization and challenging personality of adolescents. The most of drinkers had more positive attitudes to alcoholic drinking than the non-drinker despite of good knowledge levels.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_049.pdf2.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น