กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4556
ชื่อเรื่อง: | “ไค” พืชภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การกลายเป็นอาหารอัตลักษณ์ในเมืองมรดกโลกหลวงพระบาง และผลกระทบจากการพัฒนา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Kai: A local food plant representing cultural identity of Luang Prabang World Heritage Site and the impacts based on the development |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เปลวเทียน เจษฎาชัยยุทธ์ อมรฉัฐ เสริมชีพ |
คำสำคัญ: | ภูมิปัญญาชาวบ้าน -- ลาว อาหาร -- ลาว ไค (พืช) สาหร่ายน้ำจืด |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของพืชอาหาร “ไค” การกลายเป็นสินค้าอาหารอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในเมืองมรดกโลกหลวงพระบาง และศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ ผลการศึกษาพบว่า “ไค” เป็นพืชอาหารภูมิปัญญาของชาวไทลื้อ ปัจจุบันพบเห็นวัฒนธรรมการกินนี้ได้ทั่วไปในสิบสองปันนา ภาคเหนือของไทย และภาคเหนือของสปป.ลาว ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีชาวไทลื้ออาศัยอยู่และมีไคขึ้นอยู่ในแม่น้ำที่ใสสะอาด โดยเฉพาะแม่น้ำโขงที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตไคที่ใหญ่และมีคุณภาพดีที่สุด เมื่อหลวงพระบางได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เกิดการนำเอาไคซึ่งเป็นอาหารท้องถิ่นมาสร้างเป็นอาหารอัตลักษณ์กลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวจนกลายเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น ต่อมาเมื่อ สปป.ลาว มีนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวคิด “แบตเตอรี่แห่งเอเชีย” มีการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง ทำให้แหล่งผลิตไคที่สำคัญของชาวหลวงพระบางได้รับผลกระทบ ชาวบ้านต้องไปหาไคในแม่น้ำอื่น ๆ มาทดแทน ทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางอาหารในท้องถิ่น และไคแม่น้ำโขงที่มีชื่อเสียงของเมืองมรดกโลกหลวงพระบางอาจหมดไปในอนาคต |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4556 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
huso29n2p135-159.pdf | 1 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น