กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/454
ชื่อเรื่อง: เปรียบเทียบการรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนของหญิงตั้งครรภ์ด้วยไวตามินบีหกขนาดสูงขึ้นกับขนาดปกติ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Comparative study of treatment of nausea and vomiting during pregnancy between vitamin B6 higher dose and normal dose
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิตติ กรุงไกรเพชร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: คลื่นไส้ - - การรักษา
วิตามินบี 6
สตรีมีครรภ์
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: รูปแบบการวิจัย: กึ่งทดลองทางคลินิก วัตถุประสงค์ของการวิจัย : 1. ศึกษาประสิทธิผลของไวตามินบีหกในการรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ 2. เปรียบเทียบประสิทธิผลของไวตามินบีหกสองขนาดในการบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง : หญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนซึ่งมารับบริการ ณ คลินิกฝากครรภ์ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามกำหนด แล้วทำการสุ่มอย่างง่ายเพื่อแบ่งกลุ่ม ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 100 ราย แบ่งเป็นกลุ่ม 1 (75 มิลลิกรัม-บี 6, n = 50) และกลุ่มที่ 2 = 100 มิลลิกรัม- บี6 n = 50) วิธีการวิจัย : กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับยาไวตามินบีหกรับประทานขนาด 25 มิลลิกรัมหลังอาหาร 3 มื้อ กลุ่มที่ 2 ได้รับยาไวตามินบีหกชนิดเม็ดขนาด 50 มิลลิกรัมหลังอาหาร 2 มื้อ ทั้งสองกลุ่มได้รับยาต่อเนื่องเป้นเวลา 5 วันและนัดหมายกลุ่มตัวอย่าง อีก 1 สัปดาห์ เพื่อติดตามการรักษาและเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลทั่วไปเก็บด้วยแบบสอบถาม ซึ่งบันทึกโดยผู้วิจัย ข้อมุลระดับอาการคลื่นไส้ ให้ผู้ป่วยประเมินเองในช่วงเช้าและเย็น โดยใช้วิชวล อนาลอก สเกล (Visual analogue scale) ส่วนจำนวนครั้งของอาการอาเจียนต่อวันให้ผู้ป่วยประเมินเองเช่นกัน การประเมินอาการคลื่นไส้และอาเจียนให้ผู้ป่วยประเมินก่อนและระหว่างการรับประทานยา 5 วัน การวิเคราะห์: พรรณนาด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มของข้อมูลทั่วไปด้วยไคสแควร์ ทดสอบความแตกต่างอาการคลื่นไส้ในช่วงเช้าและเย็นของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดด้วยการทดสอบค่าที ทดสอบความแตกต่างของอาการคลื่นไส้และอาการอาเจียนระหว่างกลุ่มและเวลาที่รับประทานยาด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับอาการคลื่นไส้ในช่วงเช้าและช่วงเย็น จำนวนครั้งของอาการอาเจียน ณ เวลาที่แตกต่างกันด้วยการทดสอบค่าที ผลการวิจัย: 1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างทั้งสอง ไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2. อาการคลื่นไส้ของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองพบว่า ในช่วงเย้นมีมากกว่าช่วงเช้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับอาการคลื่นไส้ในช่วงเช้าและช่วงเย็น และจำนวนครั้งของอาการอาเจียนระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม ณ เวลาต่าง ๆ กันด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ พบว่า เวลาที่ต่างกันและความแตกต่างของขนาดไวตามินบีหกไม่มี่อิทธิพลร่วมกันต่อระดับอาการคลื่นไส้และจำนวนครั้งของอาการอาเจียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 แต่เมื่อพิจารณาเฉพาะผลของเวลา (time) ที่ต่างกัน มีผลทำให้ระดับอาการคลื่นไส้และจำนวนครั้งของอาการอาเจียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.01 และพบว่าระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับยาต่างกัน ไม่ทำให้ระดับอาการคลื่นไส้และจำนวนครั้งของอาการอาเจียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. นำผลการวัดระดับอาการคลื่นไส้ในช่วงเช้าของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองมาทดสอบความแตกต่างตามช่วงเวลาก่อนและหลังการรับประทานยา พบว่าระดับอาการคลื่นไส้ในช่วงเช้าของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองก่อนเริ่มรับประทานอาหารมีความแตกต่างกับวันที่ 1 2 3 4 และ 5 ของการรับประทานยาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ <.01 และพบว่าวันที่ 1-5 ของการรับยามีระดับอาการคลื่นไส้ในช่วงเช้าแตกต่างกันทุกวันยกเว้นวันที่ 1 กับวันที่ 2 วันที่ 2 กับวันที่ 3 และวันที่ 3 กับวันที่ 4 ไม่พบความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 5. นำผลการวัดระดับอาการคลื่นไส้ในช่วงเย็นของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองมาทดสอบความแตกต่างตามช่วงเวลาก่อนและหลังการรับประทานยา พบว่า ได้ผลลัพธ์ในทำนองเดียวกันกับในช่วงเช้า โดยระดับอาการคลื่นไส้ในช่วงเย็นก่อนรับยากับหลังรับยาวันที่ 1-5 มีความแตกต่างกัน ยกเว้นในวันก่อนรับยากับวันที่ 1 ของการรับยาที่ไม่แตกต่างกัน และพบว่าวันที่ 1-5 ของการรับยามีระดับอาการคลื่นไส้ในช่งเย็นแตกต่างกันทุกวันยกเว้นวันที่ 1 กับ วันที่ 2 และวันที่ 3 กับวันที่ 4 ไม่แตกต่างกันที่ ระดับสำคัญทางสถิติ .05 6. นำผลการวัดจำนวนครั้งของอาการอาเจียนของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองมาทดสอบความแตกต่างตามช่วงเวลาต่าง ๆ ของการรับประทานยาด้วยการทดสอบค่าที พบว่า ให้ผลในทำนองเดียวกันกับข้อ 4 และพบว่าวันที่ 1-5 ของการรับยา จำนวนครั้ง ของอาการอาเจียนมีความแตกต่างกันทุกวันยกเว้นวันที่ 1 กับ 2 และวันที่ 3 กับ 4 ไม่แตกต่างกันที่ระดับสำคัญทางสถิติ .05 สรุปผลการวิจัย: ไวตามินบีหกขนาด 100 มิลลิกรัมต่อวันในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนสามารถบรรเทาอาการได้ไม่ต่างจากขนาด 75 มิลลิกรัมต่อวัน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/454
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_054.pdf2.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น