กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4538
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุมิตรา ติระพงศ์ประเสริฐ | - |
dc.contributor.author | นิภาวรรณ สามารถกิจ | - |
dc.contributor.author | วิภา วิเสโส | - |
dc.date.accessioned | 2022-07-15T12:57:34Z | - |
dc.date.available | 2022-07-15T12:57:34Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4538 | - |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา และการสนับสนุนทางสังคมกับความต้องการด้านจิตวิญญาณในผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคอง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 84 ราย เป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคองที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2563 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความต้องการด้านจิตวิญญาณ แบบสอบถามการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา แบบสอบถามการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมแบบพหุมิติ และแบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ที่ .82, .85, 83 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่าผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคองมีความต้องการด้านจิตวิญญาณอยู่ในระดับสูง (M = 2.67, SD = 0.12) การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความต้องการด้านจิตวิญญาณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .40, p < .001; r = .36, p < .01; r = .25, p < .05 ตามลำดับ) ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่าพยาบาลควรจัดแนวทางปฏิบัติเพื่อตอบสนองความต้องการด้านจิตวิญญาณ โดยการประเมินความรุนแรงของการเจ็บป่วย ส่งเสริมการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา และให้การสนับสนุนทางสังคม เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความผาสุกทางจิตวิญญาณและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะสุดท้าย | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | มะเร็ง -- ผู้ป่วย | th_TH |
dc.subject | สุขภาวะ -- แง่ศาสนา | th_TH |
dc.subject | การรับรู้ | th_TH |
dc.subject | ความต้องการ (จิตวิทยา) | th_TH |
dc.title | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการด้านจิตวิญญาณในผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคอง | th_TH |
dc.title.alternative | Factors related to spiritual needs in palliative cancer patients | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.issue | 1 | th_TH |
dc.volume | 29 | th_TH |
dc.year | 2564 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This descriptive correlational research aimed to analyze the relationship of perceived severity of illness, religious practice, and social support to the spiritual needs in palliative cancer patients. The sample was 84 palliative cancer patients admitted to Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Data were collected during November and December 2020. Instruments included a demographic data record form, a Spiritual Needs Questionnaire, a Religious Practice Questionnaire, the Multidimensional Scale of Perceived Social Support, and the Perceived Severity of Illness Questionnaire. Reliabilities were .82, .85, .83, and .85 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation coefficient. The research results showed that palliative cancer patients had a high level of spiritual needs (M = 2.67, SD = 0.12). Severity of illness, religious practices and social support had positive relationship with spiritual needs (r = .40, p < .001; r = .36, p < .01; r = .25, p < .05 respectively). The findings suggest that nurses should develop nursing guidelines for meeting patients’ spiritual needs by considering the perceived level of severity of the illness, supporting religious practices, and providing social support to improve the patients’ spiritual well-being and quality of life in the terminal stages. | th_TH |
dc.journal | วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.page | 67-79. | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
nus29n1p67-79.pdf | 218.09 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น