กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4536
ชื่อเรื่อง: ความต่างของแรงกดที่กระดูกก้นกบระหว่างนักกายภาพบำบัดและนิสิตกายภาพบำบัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Differences between experienced physiotherapists and physiotherapy students in force applied during sacrum mobilization techniques
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: คุณาวุฒิ วรรณจักร
พิมลพรรณ ทวีการ วรรณจักร
คำสำคัญ: กายภาพบำบัด
กระดูกเชิงกราน
กระดูกกระเบนเหน็บ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: หัตถบำบัดที่นักกายภาพบำบัดใช้เพื่อรักษาอาการปวดข้อต่อกระดูกก้นกบ การดัด ดึงข้อต่อ เป็นวิธีการรักษาข้อติดที่นักกายภาพบำบัดใช้ประจำ นักศึกษากายภาพบำบัดจึงต้องเรียนรู้ปริมาณแรงกดจากอาจารย์ ดังนั้นเตียงแสดงแรงกดทางกายภาพบำบัด ที่มีความน่าเชื่อถือ จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้อง และรวดเร็ว วัตถุประสงค์การศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปริมาณแรงกดที่กระดูกก้นกบโดยการกดจากด้านหลังไปด้านหน้าลำตัวระหว่างนักกายภาพบำบัดและนิสิตกายภาพบำบัด วิธีการวิจัยประกอบด้วยอาสาสมัครเพศหญิงสุขภาพดี 3 คน นอนคว่ำบนเตียงแสดงแรงกดทางกายภาพบำบัด นักกายภาพบำบัด 3 คน กดจากด้านหลังไปข้างหน้าที่ด้านหลังกระดูกก้นกบ ในเกรด 1, 2, 3 และ 4 หลังจากนั้นนิสิตกายภาพ บำบัด 3 คน ทำตามวิธีเดียวกันในอาสาสมัครคนที่ 1, 2, และ 3 ตามลำดับ ขณะศึกษาจะปิดบังหน้าจอ แสดงผลโดยนักกายภาพบำบัดผู้จดบันทึกผลอีกคน วิเคราะห์ด้วยสถิติ Wilcoxon signed-rank test ผลการวิจัยพบว่า นิสิตกายภาพบำบัด ใช้แรงกดที่กระดูกก้นกบเกรด 1 เฉลี่ย = 7.7 กิโลกรัม, เกรด 2 เฉลี่ย = 8.1 กิโลกรัม, เกรด 3 เฉลี่ย = 9.2 กิโลกรัม, เกรด 4 เฉลี่ย = 10.8 กิโลกรัม มากกว่านักกายภาพ บำบัดซึ่งกด เกรด 1 เฉลี่ย = 6 กิโลกรัม, เกรด 2 เฉลี่ย = 7 กิโลกรัม, เกรด 3 เฉลี่ย = 8.8 กิโลกรัม, เกรด 4 เฉลี่ย = 10.3 กิโลกรัม ความต่างของแรงกดของเกรด 1 = 1.7 กิโลกรัม, เกรด 2 = 1.1 กิโลกรัม, เกรด 1 = 0.4 กิโลกรัม, เกรด 1 = 0.5 กิโลกรัม ไม่พบความต่างของแรงกดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) แต่อย่างไรก็ตามแรงกดระหว่างสองกลุ่มดังกล่าวมีความต่างกันในทางคลินิก สรุปว่านิสิตกายภาพบำบัดใช้แรงกดที่กระดูกก้นกบ มากกว่านักกายภาพบำบัด ความต่างของแรงกดเกรดเพื่อลดปวด เกรด 1 = 1.7 กิโลกรัม เกรด 2 = 1.1 กิโลกรัม ไม่เหมาะสมที่จะใช้ในการรักษาเพราะแรงกดที่มากกว่าจะเสี่ยงต่อการเกิดการปวดที่มากกว่าซึ่งการเปิดเผยหน้าจอแสดงผลของเตียงแสดงแรงกดทางกายภาพบำบัด จะสามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของนิสิตกายภาพบำบัด Manual physical therapy is always used in treating sacroiliac joint pain, with joint mobilization frequently used for joint stiffness treatment. Physical therapy students must learn how to apply the appropriate quantity of force on the sacrum. A reliable physical therapy force display table may be useful for accurate and fast learning. The purpose of this study was to compare the difference between experienced physiotherapists and physiotherapy students in the force applied when using posterior-to-anterior sacrum mobilization techniques. Research methods used 3 healthy female volunteers lying prone on a force display table, 3 physical therapists who applied posteroanterior direction on the sacrum on grades 1, 2, 3, and 4, and 3 physical therapy students who applied the same procedure to the same volunteers. The display panel was closed between test periods by another, blinded physical therapist. The Wilcoxon signed-rank test was used to analyze the data. Results showed that physical therapy students applied an average force on the sacrum grade 1 = 7.7 kilograms, grade 2 = 8.1 kilograms, grade 3 = 9.2 kilograms, and grade 4 = 10.8 kilograms. Physical therapists applied an average force on the sacrum grade 1 = 6 kilograms,
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4536
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
nus29n1p37-43.pdf149.18 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น