กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4530
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้ของเด็กวัยเรียนโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effect of program enhancing self-effcacy in self-care on allergy prevention behaviors among school age children with allergic rhinitis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เกษราภรณ์ อ่อนทอง
นฤมล ธีระรังสิกุล
ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์
คำสำคัญ: ความสามารถในตนเอง
การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
ภูมิแพ้ในเด็ก -- การป้องกันและควบคุม
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยกึ่งทดลองนี้เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรม การป้องกันอาการภูมิแพ้ของเด็กวัยเรียนโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กวัยเรียนโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ อายุ 8-12 ปี ที่เข้ารับการรักษาในคลินิกระบบทางเดินหายใจและภูมิแพ้ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในจำนวนเท่ากัน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเอง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามพฤติกรรมการ ป้องกันอาการภูมิแพ้ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้ของกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเอง สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติและสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่า พยาบาลสามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับเด็กวัยเรียนโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมในการป้องกันอาการภูมิแพ้ The purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of program enhancing self-effcacy in self-care on allergy prevention behaviors among school age children with allergic rhinitis. The sixty participants were children aged 8-12 years with allergic rhinitis receiving health care service at Charoenkrung Pracharak Hospital. Participants were randomly assigned equally into experimental and control groups. The experimental group received the program enhancing self-effcacy in self-care while the control group received routine care. Data were collected by preventive behaviors for allergic rhinitis questionnaire, which yielded a reliability coeffcient of .80. Data were analyzed by descriptive
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4530
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
nus29n2p36-46.pdf214.59 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น