กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4523
ชื่อเรื่อง: การจัดบริการอาชีวอนามัยและความคาดหวังสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพประจำสถานประกอบการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสถานประกอบการเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Occupational health services and stakeholders’ expectations of competencies among nurses in enterprise in the eastern economic corridor area
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิสากร ชีวะเกตุ
ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี
สุธารัตน์ ชำนาญช่าง
อริสรา ฤทธิ์งาม
คำสำคัญ: บริการอาชีวอนามัย
สมรรถนะ
พยาบาล
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาแบบบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดบริการอาชีวอนามัย ความคาดหวังสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ และเปรียบเทียบความคาดหวังสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสถานประกอบการ จำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม สัญชาติของเจ้าของสถานประกอบการ การจัดเวลาปฏิบัติงาน การฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่ายบริหารบุคคล และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพของสถานประกอบการเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 405 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการจัดบริการอาชีวอนามัยของสถานประกอบการ และความคาดหวังสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพประจำสถานประกอบการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ เชิงพรรณนาและค่าทีชนิดเป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า สถานประกอบการจำนวนมากกว่าร้อยละ 90 มีการจัดบริการอาชีวอนามัยด้านความปลอดภัย ในการทำงาน ด้านสุขภาพและด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงานตามที่กฎหมายกำหนด ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคาดหวังสมรรถนะ พยาบาลวิชาชีพด้านการรักษาพยาบาลในระดับมากที่สุด (M = 3.6, SD = 0.6) และมีความคาดหวังด้านการป้องกันโรค/ อุบัติเหตุจากการทำงาน การสร้างเสริมสุขภาพ การฟื้นฟูสภาพ และการบริหารงานอาชีวอนามัยในระดับมาก คะแนน เฉลี่ยความคาดหวังสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสถานประกอบการแตกต่างกันตามสัญชาติของ เจ้าของสถานประกอบการและการฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) โดย สถานประกอบการที่มีเจ้าของเป็นคนต่างชาติมีคะแนนเฉลี่ยความคาดหวังสมรรถนะมากกว่าเจ้าของที่เป็นคนไทย และ ผู้ที่เคยผ่านการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยความคาดหวังสมรรถนะมากกว่าผู้ที่ไม่เคยฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ดังนั้นพยาบาลวิชาชีพควรพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการรักษาพยาบาล เพื่อเพิ่มคุณภาพการจัดบริการ อาชีวอนามัยในสถานประกอบการ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4523
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
nus29n3p15-27.pdf197.63 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น