กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4516
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors Influencing Intention to Change Preconception Lifestyle Among Reproductive Age Women |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศิรินภา แก้วพวง วรรณี เดียวอิศเรศ อารียา สมรูป ชนาภา งามฉาย |
คำสำคัญ: | วิถีชีวิต สตรีวัยเจริญพันธุ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มารับบริการจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการอำเภอในภาคตะวันออก จำนวน 397 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ แบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคในการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ แบบสอบถามอิทธิพลจากสังคม แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง และแบบสอบถามความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89, .80, .79, 75, .85 และ .80 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 - มกราคม พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า อายุ ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ความเชื่อเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ การรับรู้อุปสรรคในการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ อิทธิพลจากสังคม และการรับรู้ความสามารถของตนเอง สามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ได้ร้อยละ 54.9 (R2= .549, p < .001) โดยปัจจัยที่สามารถร่วมทำนายความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การรับรู้ความสามารถของตนเอง (β = .642, p < .001) อิทธิพลจากสังคม (β = .106, p < .05) และการรับรู้อุปสรรคในการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ (β = -.076, p < .05) ส่วน อายุ ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ และความเชื่อเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ สามารถร่วมทำนายความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ได้ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทางสุขภาพควรนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการรับรู้ความสามารถของสตรีก่อนตั้งครรภ์ ส่งเสริมอิทธิพลทางสังคม และให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการลดอุปสรรคในการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้สตรีวัยเจริญพันธุ์มีความตั้งใจอย่างแรงกล้าในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4516 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
nus81-94.pdf | 274.77 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น