กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4515
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorชรัญญากร วิริยะ-
dc.contributor.authorตระกูลวงศ์ ฦๅชา-
dc.date.accessioned2022-07-15T05:15:46Z-
dc.date.available2022-07-15T05:15:46Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4515-
dc.description.abstractการวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุจากการท่องเที่ยวทางทะเล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ประกอบการตามแนวชายฝั่ง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 345 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ประกอบการตามแนวชายฝั่ง ประสบการณ์การพบเห็นผู้ประสบอุบัติเหตุ และพฤติกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุจากการท่องเที่ยวทางทะเล ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .86 .78 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีประสบการณ์การพบเห็นผู้ประสบอุบัติเหตุจากการท่องเที่ยวทางทะเลจำนวน 262 คน คิดเป็นร้อยละ 75.94 มีจำนวนประสบการณ์การพบเห็นผู้ประสบอุบัติเหตุเฉลี่ย 3.29 (SD= 2.81) การรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ประกอบการตามแนวชายฝั่งอยู่ในระดับน้อย (M = 1.19, SD= 0.61) และเคยมีพฤติกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ 243 คน คิดเป็นร้อยละ 70.43 โดยมีพฤติกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุอยู่ในระดับน้อย (M = 1.37, SD = 0.71) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า อายุมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับน้อยกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= .22, p< .001) และมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับน้อยกับพฤติกรรมการช่วยเหลืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= -.16, p< .05) ส่วนประสบการณ์การพบเห็นผู้ประสบอุบัติเหตุมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการช่วยเหลืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.47, p<.001; r= 41, p<.001 ตามลำดับ) สำหรับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมการช่วยเหลืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.60, p<.001) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย พบว่า ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีค่าเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการช่วยเหลือแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F= 25.77, p<.001; F= 8.39, p< .001ตามลำดับ) กลุ่มผู้ประกอบการที่แตกต่างกันมีค่าเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F= 4.41, p < .05) ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมทักษะในการช่วยเหลือเบื้องต้น โดยเน้นการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการท่องเที่ยวทางทะเลth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุจากการท่องเที่ยวทางทะเล ของผู้ประกอบการแนวชายฝั่ง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีth_TH
dc.title.alternativeFactors Related to Self-efficacy and Tourism Marine Assisting Accidental Victims Behaviors among Coastal Entrepreneur in Mueang District, Chon Buri Provinceth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.issue2th_TH
dc.volume30th_TH
dc.year2565th_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to identify the factors related to self-efficacy and tourism marine assisting accidental victims’ behaviors among coastal entrepreneurs in Mueang district, Chon Buri province. Three hundred and forty-five coastal entrepreneurs were recruited using a multi-stage random sampling technique. Research instruments included questionnaires to gather data for demographic information, self-efficacy, the experience of seeing accident victims, and tourism marine assisting accidental victims’ behaviors. The Cronbach’s alpha coefficients were .86, .78, and .93, respectively. Descriptive statistics, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient, and One-Way ANOVA were used to analyze data. The results revealed that 262 participants (75.94%) had experienced witnessing marine tourism accidents, and the average number of experiences of seeing accident victims was 3.29 (SD = 2.81). The coastal entrepreneurs’ self-efficacy was low (M = 1.19, SD = 0.61). Furthermore, 243 participants (70.43 %) had low level of tourism marine assisting accidental victims’ behaviors (M = 1.37, SD = 0.71). For correlation analysis, age had a low level of positive correlation with statistically significant self-efficacy (r = .22, p < .001) and a low level of negative correlation with statistically significant tourism marine assisting accidental victims’ behaviors (r = -.16, p < .05). The experience of seeing accident victims had a medium level positive correlation with statistically significant self-efficacy and tourism marine assisting accidental victims’ behaviors (r = .47, p < .001; r = 41, p < .001; r = .60, p < .001). Self-efficacy had a medium level positive correlation with statistically significant tourism marine assisting accidental victims’ behaviors (r = .60, p < .001). Following the comparison of means, different educational levels had statistically different means for self-efficacy and tourism marine assisting accidental victims’ behaviors (F = 25.77, p < .001; F = 8.39, p < .001, respectively). The different groups of entrepreneurs had statistically different means of self-efficacy (F = 4.41, p < .05). The findings suggest that the nurses and other health care providers can develop training programs to enhance the first aid skills of the coastal entrepreneurs by focusing on self-efficacy.th_TH
dc.keywordการรับรู้สมรรถนะแห่งตนth_TH
dc.keywordพฤติกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุth_TH
dc.journalวารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.page53-66.th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
nus53-66.pdf280.45 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น