กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4512
ชื่อเรื่อง: นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ขับเคลื่อนด้วยมูลค่าท้องถิ่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Innovation and creativity for local value-driven products
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรรณี พิมาพันธุ์ศรี
คำสำคัญ: ความคิดสร้างสรรค์
ธุรกิจชุมชน
การออกแบบผลิตภัณฑ์
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยนี้ศึกษาแนวทางหรือรูปแบบในการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวผ่านการขับเคลื่อนโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก โดยใช้กระบวนการ (Community Based Design Creative Process) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางและรูปแบบในการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และศึกษาเรื่องกระบวนการสร้างนวัตกรรมและแนวคิดสร้างสรรค์จากเยาวชนในพื้นที่ เพื่อให้ได้แนวคิดในการสร้างเครื่องมือให้ผู้ประกอบการในการสรรสร้างสินค้า เพื่อขับเคลื่อนการน าอัตลักษณ์ตามแบบวิถีไทย ที่สะท้อนในวิถีชีวิต ศิลปะ ธรรมชาติ ของผู้คนในชุมชน มาสอดประสานในกระบวนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่อยอดจากของดีของเด่นในชุมชน ด้วยกระบวนการสืบค้น ร้อยเรียง ออกแบบ และต่อยอดโดยได้คัดเลือกมาทั้งหมด 2 พื้นที่ คือ ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 2 ชุมชน ได้แก่ชุมชนเจริญสุขและสนวนนอก และ ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ได้แก่ 14 ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองกระบี่ และชุมชนบ้านหนองทะเล นักวิจัยลงพื้นที่เพื่อสืบค้นหาของดีของเด่นในพื้นที่เป้าหมาย พร้อมด้วย กลุ่มเยาวชนในพื้นที่และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่กำหนด นักออกแบบมืออาชีพ สมาชิกชุมชนและปราชญ์ชุมชน และ นักธุรกิจรุ่นใหม่ของจังหวัด ทำให้ได้กระดานทรัพย์สินของชุมชน (Community Asset Board) ซึ่งรวบรวมของดีของเด่นของพื้นที่ เพื่อใช้ในการทดลองนำไปปฏิบัติออกแบบสร้างสรรค์งานตามแนวคิดวิถีไทยและติดตามจัดทำแนวคิด โดยการจัดค่ายสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ภายใต้การดูแลของหัวหน้าโครงการวิจัยและผู้ร่วมวิจัย ทดลองฝึกปฏิบัติพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตามแนวทางการสร้างเอกลักษณ์และมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ โดยการกำหนดโจทย์ให้ผู้ร่วมทดลอง ร่วมออกแบบตามกระบวนการสร้างต้นแบบ ของผลการสร้างสรรค์ เพื่อพร้อมนำไปทดสอบประเมินความพร้อมก่อนสู่ตลาดต่อไป ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่พัฒนามาจากของดีของเด่นของแต่ละพื้นที่ จำนวน 8 ชิ้นงาน และหนึ่งในผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 1 ชิ้นได้ถูกนำไปต่อ ยอด สู่การนำออกสู่ตลาดโดยนักออกแบที่เข้าร่วมโครงการ ในชื่อ POUKAจากการศึกษาพบว่า ในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากฐานทรัพยากรของชุมชนนั้น การเข้ามามีส่วนร่วมของคนภายนอกชุมชนในโครงการนี้ทำหน้าที่เป็น ตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalyst) เพื่อจะนำวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นไปต่อยอดและสร้างสรรค์ มีการแสดงออกถึงแนวทางการดำเนินงานที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ โดยที่ชุมชนได้ประโยชน์จากการที่สินค้าของชุมชน ผู้ประกอบการก็ได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีคุณภาพและยังสามารถช่วยเหลือชุมชนได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4512
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
bbs10n2p128-147.pdf1.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น