กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4504
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน ในอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors predicying preventive and control behaviors on Dengue Hemorragic Fever among people in Koh Chang district, Trat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณัฐยา สุนัติ
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
ยุวดี รอดจากภัย
วัลลภ ใจดี
มหาวิทยาลัยบูรพา คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: การรับรู้
ไข้เลือดออก -- ไทย -- ตราด
ไข้เลือดออก -- การป้องกันและควบคุม
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกตามทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health belief model) ระดับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนครัวเรือน ซี่งคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 341 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกตามทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มีค่าความเที่ยง (Reliability) เท่ากับ 0.88 เท่ากัน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนกลุ่มตัวอย่าง มีค่าคะแนนเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยรวมอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.28) ค่าคะแนนเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้ความรุนแรงของโรค โดยรวมอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.24) ค่าคะแนนเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันและควบคุมโรค โดยรวมอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.25) และค่าคะแนนเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยรวมอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.28) ในส่วนของค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.72) ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด ได้แก่ การรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกตามทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ระดับการศึกษา การประกอบอาชีพ และระยะเวลาที่อาศัยในพื้นที่ ซึ่งสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราดได้ร้อยละ 20.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4504
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
pubh16n2p53-67.pdf177.58 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น