กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4478
ชื่อเรื่อง: | อุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันจากการฉีดสารทึบรังสีและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่เข้ารับการฉีดสารทึบรังสี ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Incidence of Contrast Induced Nephropathy and associated factors in chronic kidney disease patient in Burapha University Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธันวพร แพทย์พิทักษ์ ระวีวรรณ วิฑูรย์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ไตวายเฉียบพลัน ไตวายเรื้อรัง สารทึบรังสี |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ความเป็นมาและความสาคัญ: สารทึบรังสีเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันขึ้นได้ ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดภาวะนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลรักษาผู้ป่วยต่อไป วัตถประสงค์: หาอุบัติการณ์และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะไตวายเฉียบพลันจากการฉีดสารทึบรังสี (CIN) ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่เข้ารับการฉีดสารทึบรังสี ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ในตุลาคม 2561 - ตุลาคม 2562 วิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษาแบบย้อนหลัง (retrospective cross sectional study) เก็บข้อมูลของผู้ป่วยจากโปรแกรม HosXp, PAC และจากแฟ้มเวชระเบียน แล้วผ่านการคำนวณทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์แบบ Logistic regression และ Multivariate logistic regression ผลการวิจัย: อุบัติการณ์การเกิด CIN เกิดขึ้น 23 คน จากทั้งหมด 205 คน คิดเป็นร้อยละ 11.2 โดยปัจจัยที่มีผลในการเพิ่มความเสี่ยง ได้แก่ ค่าการทำงานของไต (GFR) ที่น้อยกว่า 15 ml/min/1.73 m2 มีความเสี่ยงในการเกิด CIN เพิ่มเป็น 21.01 เท่า (95% CI : 3.34, 131.97, p=0.001) เมื่อเทียบกับ GFR ในช่วง 30 – 59 ml/min/1.73 m2, และปริมาณของสารทึบรังสีที่ได้รับเทียบกับน้ำหนักตัวที่ ≥ 2.5 ml/kg เพิ่มความเสี่ยงเป็น 4.8 เท่า (95% CI : 1.12, 20.61, p=0.035) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับรังสีเทียบกับน้ำหนักตัว < 2.5 ml/kg สรุป: ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่เข้ารับการฉีดสารทึบรังสี พบว่าค่าการทำงานของไต (GFR) < 15 ml/min/1.73 m2 และปริมาณของสารทึบรังสีที่ได้รับเทียบกับน้ำหนักตัวที่ ≥ 2.5 ml/kg เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน |
รายละเอียด: | การวิจัยครั้งนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีงบประมาณ 2563 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4478 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_189.pdf | 1.54 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น