กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4429
ชื่อเรื่อง: | สัมประสิทธิ์ของความดันดินที่สภาวะอยู่นิ่งของดินเหนียวกรุงเทพประกอบตัวใหม่ขณะเพิ่มหน่วยแรงประสิทธิผลในแนวดิ่ง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Coefficient of earth Pressure at rest of Remolded Bangkok Clay under Increasing the Effective Vertical Stress Condition |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปิยะฉัตร ฉัตรตันใจ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ดินเหนียว |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการหาค่าสัมประสิทธิ์แรงดันดินด้านข้างในสภาวะอยู่นิ่งของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพทั้งในสภาวะอัดตัวปรกติและอัดตัวมากกว่าปรกติ โดยทั่วไปแล้วการหาค่าดังกล่าวจะใช้เครื่องมือทดสอบแบบแรงอัดสามแกนซึ่งมีความยุ่งยากเป็นอย่างมากที่จะต้องทำการควบคุมให้ความเครียดในแนวดิ่งมีค่าเท่ากับความเครียดเชิงปริมาตรในกระบวนการอัดตัวคายน้ำ ซึ่งหากการทดสอบไม่เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าวจะทำให้ค่าสัมประสิทธิ์แรงดันดินด้านข้างในสภาวะอยู่นิ่งเกิดความผิดพลาด ด้วยเหตุนี้ งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอวิธีการในการทดสอบรวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบแบบใหม่ เครื่องมือที่ใช้ทดสอบจะทำงานร่วมกันระหว่างเซ็นเซอร์ที่มีความแม่นยำสูงกับระบบควบคุมแบบป้อนกลับซึ่งจะทำให้สามารถวัดแรงเค้นได้ทั้งสามทิศทางและยังสามารถจำลองสภาวะแวดล้อมจริงในสนามได้ทั้งในขั้นตอนการสร้างโครงสร้างให้กับดินรวมทั้งการเฉือนตัวอย่างอีกด้วย ตัวอย่างดินจะถูกอัดตัวคายน้ำโดยใช้ค่าแรงเค้นประสิทธิผลในแนวดิ่งสำหรับตัวอย่างดินอัดตัวปรกติและค่าอัตราส่วนการยุบอัดตัวเกินปกติสำหรับตัวอย่างอัดตัวมากกว่าปรกติที่แตกต่างกัน ค่าสัมประสิทธิ์แรงดันดินด้านข้างในสภาวะอยู่นิ่งจะถูกวัดค่าเมื่อการอัดตัวคายน้ำหลักสิ้นสุดลง หลังจากนั้นเงื่อนไขสภาวะแวดล้อมของการทดสอบจะถูกเปลี่ยนเป็นแบบสมมาตรรอบแกนเดียวและตัวอย่างจะถูกเฉือนทันทีในสภาวะที่น้ำไม่สามารถไหลออกจากตัวอย่างดินได้ จากผลการทดสอบพบว่าระบบควบคุมอัตโนมัติที่นำเสนอนั้นมีประสิทธิภาพดีมากในการควบคุมการเคลื่อนตัวด้านข้างของดินตัวอย่างในขณะที่ดินอยู่ระหว่างกระบวนการอัดตัวคายน้ำ ความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียดในขั้นตอนการเฉือนดินตัวอย่างอัดตัวคายน้ำปรกติเป็นแบบมีจุดสูงสุดของค่าความเค้นและจะลดลงสูงค่าคงที่ ลักษณะการวิบัติเกิดทั้งการบวมตัวออกด้านข้างและแถบแรงเฉือนผสมกัน ค่าความสามารถในการรับแรงเฉือนจะเพิ่มขึ้นตามค่าความเค้นในแนวดิ่งที่ใช้ในกระบวนการอัดตัวคายน้ำ ผลการทดสอบยังพบอีกว่าค่าสัมประสิทธิ์แรงดันดินด้านข้างในสภาวะอยู่นิ่งของดินเหนียวอัดตัวปรกตินั้นจะไม่ขึ้นอยู่กับค่าความสามารถในการรับแรงเฉือนและค่าดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นตามค่าอัตราส่วนการยุบอัดตัวเกินปกติเมื่อดินอยู่ในสภาวะอัดตัวคายน้ำมากกว่าปรกติ ความสัมพันธ์ดังกล่าวสามารถนาเสนอเป็นสมการโดยใช้ตัวแปลคือค่าอัตราส่วนการยุบอัดตัวเกินปกติและมุมเสียดทานภายในเมื่อค่าความเค้นในแนวดิ่งคงที่ |
รายละเอียด: | งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เลขที่สัญญา 212/2561 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4429 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_126.pdf | 7.33 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น