กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4417
ชื่อเรื่อง: | การปรับเปลี่ยนบทบาทชีวิตแม่วัยเรียนของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Maternal task adaptation of undergraduated student |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ขันทอง สุขผ่อง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | นักศึกษาอุดมศึกษา มารดาวัยรุ่น |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการใช้ชีวิตเมื่อเริ่มตั้งครรภ์ เข้าสู่ระยะคลอด ระยะหลังคลอด และแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีส่วนช่วยในการเผชิญปัญหาของแม่วัยเรียน ผู้ให้ข้อมูลหลักคือนักศึกษาระดับอุดมศึกษาอายุ 18-24 ปี ที่คลอดบุตรและบุตรอายุไม่เกิน 1 ปี ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ยังคงสถานะเป็นนักศึกษา จำนวน 14 คน และผู้ที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนหรือช่วยเหลือจำนวน 14 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า บทบาทการใช้ชีวิตเมื่อเริ่มตั้งครรภ์ของแม่วัยเรียน ในระยะแรกเป็นความรู้สึกเสียใจ ผิดหวังต่อมารู้สึกกังวล งง สับสน ต้องอดทนต่อสิ่งรอบข้างและอดทนต่ออารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิดของตนเอง และยังต้องแบ่งเวลาให้กับการเรียนและการดูแลบุตรที่อยู่ในครรภ์ ในระยะคลอดและระยะหลังคลอดมีการปรับบทบาทการใช้ชีวิตต้องจัดเวลาระหว่างการเรียนและการเลี้ยงดูบุตร บางรายต้องเลี้ยงดูบุตรตามลำพัง และหารายได้ ขณะเดียวกันแม่วัยเรียนบางรายรู้สึกว่าประสบการณ์การตั้งครรภ์ทำให้ตนเองมีความรับผิดชอบมากขึ้น แรงสนับสนุนทางสังคมที่มีส่วนช่วยในการเผชิญปัญหาของแม่วัยเรียนคือกำลังใจจากตนเอง และการสนับสนุนจากคนรอบข้าง ได้แก่ พ่อแม่ สามี อาจารย์ เพื่อน โดยสนับสนุนค่าใช้จ่าย ช่วยเหลือแนะนำเรื่องการเลี้ยงดูบุตร ที่พักอาศัย การจัดการเรื่องการเรียน และให้กำลังใจ แม้ว่าการตั้งครรภ์และการเป็นแม่วัยเรียนจะไม่เป็นที่ยอมรับและส่งผลกระทบทางด้านลบต่อแม่วัยเรียน ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเงิน ด้านสังคม โดยเฉพาะช่วงแรกของการตั้งครรภ์ แต่เมื่อเวลาผ่านไปแม่วัยเรียนสามารถเรียนรู้ที่จะรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและมีการปรับตัวเพี่อรับบทบาทใหม่ในฐานะแม่ได้อย่างเหมาะสม การช่วยเหลือจากครอบครัว และบุคคลรอบข้าง ที่เข้าใจจะช่วยบรรเทาความรุนแรงของผลกระทบทางด้านลบที่เกิดจากการตั้งครรภ์และการเลี้ยงดูบุตรได้ สถาบันการศึกษา หรือสถานบริการสาธารณสุขนอกจากจะมีระบบการป้องกันการตั้งครรภ์ที่เข้าถึงและทันการณ์แล้ว ควรมีแนวทางในการดูแลช่วยเหลือในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ เพื่อให้แม่วัยเรียนและเด็กที่จะเกิดมานั้น สามารถผ่านช่วงเวลาที่สำคัญนี้ได้ |
รายละเอียด: | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4417 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_114.pdf | 471.38 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น