กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4398
ชื่อเรื่อง: การตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องที่เหมาะสมในผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางช่องท้องชนิดที่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุและประโยชน์ของชุดภาพรังสีช่องท้อง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The appropriate use of conventional abdominal radiographs and its usefulness in non-traumatic acute abdomen patients
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรสุภา ลิ้มเจริญ
อลิสรา วงษ์สุทธิเลิศ
ชื่นฤทัย ยี่เขียน
ลลิตพรรณ นิมมานเกียรติกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: ภาวะปวดท้องเฉียบพลัน
ชุดภาพรังสีช่องท้อง
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์: ชุดภาพรังสีช่องท้องมักถูกใช้เป็นอันดับแรกของการวินิจฉัยทางรังสีในผู้ป่วยภาวะปวดท้องเฉียบพลัน วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาการใช้ชุดภาพรังสีช่องท้องในผู้ป่วยภาวะปวดท้องเฉียบพลันที่เหมาะสมในผู้ป่วยห้องฉุกเฉิน วิธีศึกษา: ศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยผู้ใหญ่มีภาวะปวดท้องเฉียบพลันที่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุที่ห้องฉุกเฉินที่มีการตรวจด้วยชุดภาพรังสีช่องท้องตั้งแต่ 1 กันยายน 2561 ถึง 31 ตุลาคม 2561 เก็บข้อมูลพื้นฐานผู้ป่วย ข้อบ่งชี้การส่งตรวจชุดภาพรังสีช่องท้อง ผลการตรวจชุดภาพรังสีช่องท้อง การตรวจต่อทางรังสีและผลตรวจ และการวินิจฉัยขั้นสุดท้าย แบ่งข้อบ่งชี้การส่งตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องเป็นเหมาะสมและไม่เหมาะสม เปรียบเทียบระหว่างการส่งตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมด้วยโปรแกรม R และ SPSS ผลการศึกษา: มีการส่งตรวจชุดภาพรังสีช่องท้อง 154 ราย เป็นผู้ชาย 57 ราย ผู้หญิง 97 ราย การส่งตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องที่เหมาะสมคิดเป็น 33.8% สาเหตุส่วนใหญ่ของการส่งตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องที่ไม่เหมาะสมคือ ปวดกระเพาะอาหาร ปวดเฉพาะที่ ตับอ่อนอักเสบ กระเพาะและลำไส้อักเสบ และไส้ติ่งอักเสบ ผลการตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องเป็นบวก 17 ราย (11%) เป็นลบ 73 ราย (47%) และไม่แน่ชัด 64 ราย (42%) เปรียบเทียบระหว่างการส่งตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ จำนวนผู้ป่วย ผลการตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องที่เป็นลบ ผลการตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องที่ไม่แน่ชัด และผลการตรวจต่อทางรังสีที่เป็นลบ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่จำนวนผู้ป่วยที่มีการตรวจต่อทางรังสี สาเหตุส่วนใหญ่ที่ไม่มีการส่งตรวจต่อทางรังสีคือ ลำไส้อุดตัน (6 ราย) และทางเดินอาหารรั่ว (3 ราย) ผู้ป่วยที่ผลการตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องเป็นลบ 16.4% (12/73) และผู้ป่วยที่ผลการตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องไม่แน่ชัด 17% (11/64) มีผลบวกในการส่งตรวจต่อทางรังสี สรุป: ชุดภาพรังสีช่องท้องมีบทบาทจำกัดในผู้ป่วยภาวะปวดท้องเฉียบพลันแต่มักถูกใช้เป็นอันดับแรกของการวินิจฉัยทางรังสี การตรวจอื่นๆที่แม่นยากว่าเป็นที่ต้องการไม่ว่าข้อบ่งชี้ในการตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องจะเหมาะสมหรือไม่ การส่งตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องทำให้การรักษาเนิ่นนานออกไป เพิ่มค่าใช้จ่าย และทำให้ผู้ป่วยได้รับรังสีโดยไม่จำเป็น สถาบัน ควรเน้นเรื่องส่งตรวจชุดภาพรังสีช่องท้องตามเกณฑ์ การอบรมให้ความรู้ และทวนสอบ
รายละเอียด: งานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ เลขที่สัญญา ๑๒๑/๒๕๖๑
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4398
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_094.pdf918.3 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น