กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4392
ชื่อเรื่อง: | เส้นใยอาหารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ ในพื้นที่ศูนย์ศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Efficiency of antioxidant dietary fiber of marine macroalgae in Kung Krabaen Bay, Chanthaburi province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภควรรณ เศรษฐมงคล รชนิมุข หิรัญสัจจาเลิศ กัญญารัตน์ สุนทรา มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะเทคโนโลยีทางทะเล |
คำสำคัญ: | สาหร่ายทะเล อ่าวคุ้งกระเบน (จันทบุรี) |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี |
บทคัดย่อ: | การศึกษาปริมาณเยื่อใยในสาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ 3 ชนิด ได้แก่ Chaetomorpha sp. Sargassum sp. และ Gracilaria sp. พบว่า Gracilaria sp มีปริมาณเยื่อรวมทั้งหมดสูงสุด 55.58 % รองลงมาคือสาหร่าย Sargassum sp. (49.00%) และ Chaetomorpha sp. (36.42%) เมื่อนำปริมาณเยื่อรวมทั้งหมดมาแจกแจงเป็นกลุ่มเยื่อใยที่ละลาย และกลุ่มที่ไม่ละลายน้ำพบว่า Gracilaria sp. มีปริมาณเยื่อใยดังกล่าวสูงสุด 6.97 และ 48.61% ตามลำดับ เมื่อนำสาหร่ายทะเลทั้ง 3 ชนิดมาทดสอบสกัดเยื่อใยแบบหยาบ (Crude fiber extraction) ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน 3 วิธี ได้แก่ วิธีที่ 1) การสกัดด้วยน้ำร้อน วิธีที่ 2) การสกัดด้วยด่างและตัวทำละลายอินทรีย์ และวิธีที่ 3) การสกัดด้วยเอนไซม์ หลังจากนั้นจึงนำเยื่อใยแบบหยาบที่สกัดได้ไปวิเคราะห์ปริมาณเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน ด้วยวิธี Detergent Method พบว่า การสกัดเยื่อใยด้วยวิธีที่ 3 (การสกัดด้วยเอนไซม์) ทำให้สาหร่ายทั้ง 3 ชนิดมีปริมาณเซลลูโลสสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการสกัดอื่น ๆ โดยสาหร่าย Chaetomorpha sp. เป็นชนิดที่ตรวจพบปริมาณเซลลูโลสในสารสกัดเยื่อใยแบบหยาบสูงที่สุด (77.48%) ส่วนวิธีที่ 1 (การสกัดด้วยน้ำร้อน) เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการสกัดเฮมิเซลลูโลส โดยสาหร่าย Gracilaria sp. เป็นชนิดที่มีปริมาณเฮมิเซลลูโลสสูงสุด (56.61%) โดยสาหร่ายทั้ง 3 ชนิดมีปริมาณลิกนินต่ำอยู่ในช่วง 4.47 0.57% เมื่อนาเยื่อใยของสาหร่ายทั้ง 3 ชนิดที่สกัดด้วยวิธีการที่แตกต่างกันมาตรวจสอบสารต้านอนุมูลอิสระ พบว่า สาหร่าย Gracilaria sp. ที่สกัดด้วยวิธีที่ 2 (การสกัดด้วยด่างและตัวทำละลายอินทรีย์) มีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดสูงสุด (0.213±0.016 mg_GAE/g) เมื่อตรวจสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH free radical scavenging activity พบว่า เยื่อใยสาหร่ายจาก Chaetomorpha sp. ที่สกัดด้วยวิธีที่ 1 (การสกัดด้วยน้ำร้อน) มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระสูงสุดเมื่อ เปรียบเทียบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระกับเยื่อใยที่สกัดได้จากสาหร่ายทะเลในชุดการทดลองอื่น ๆ โดยมี ค่า IC50 เท่ากับ 10,503.16 ± 516.93 ppm แต่เมื่อเปรียบเทียบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระดังกล่าวกับสารมาตรฐานวิตามินซีพบว่า มีค่าต่ำกว่าสารมาตรฐาน 4,049.02 เท่า โดยเยื่อใยที่สกัดได้จากสาหร่ายส่วนใหญ่มีค่า pH เป็นกลางในช่วง 7.27 7.77 นอกจากนี้พบว่า ความชื้นในสารสกัดเยื่อใยมีค่าต่ำสุดในสาหร่าย Chaetomorpha sp. (0.82 ± 0.26%) ที่สกัดด้วยวิธีที่ 3 (การสกัดด้วยเอนไซม์) ส่วนเยื่อใยจากสาหร่าย Gracilaria sp. ที่สกัดด้วยเอนไซม์มีความสามารถในการอุ้มน้ำของใยอาหารสูงสุด 0.32 ± 0.01% |
รายละเอียด: | ทุนอุดหนุนการวิจัยจากแหล่งเงินรายได้มหาวิทยาลัย กองทุนวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2562 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4392 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2565_086.pdf | 2.57 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น