กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4358
ชื่อเรื่อง: การใช้ high-flow nasal cannula เปรียบเทียบกับการใช้ conventional oxygen therapy ในการรักษาเด็กที่ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Comparison between High-flow Nasal Cannula and Conventional Oxygen Therapy in Children with Lower Respiratory Tract Infections
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วราวุฒิ เกรียงบูรพา
เบญจารัตน์ ทรรทรานนท์
นลินี ภัทรากรกุล
ศุภมาศ ศุภบรรพต
วิชชุวรรณ อ่อนสร้อย
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: ทางเดินหายใจ - - โรค
โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ที่มาของปัญหา: การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างยังคงเป็นสาเหตุส่าคัญของการเสียชีวิตในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี การรักษาด้วยออกซิเจนหลากหลายรูปแบบใช้ในการรักษาผู้ป่วยเด็กติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างที มีภาวะหายใจล่าบาก การรักษาด้วยออกซิเจนอัตราการไหลสูง (high-flow nasal cannula) มีการใช้มากขึ้นในภาวะหายใจล่าบากจากสาเหตุต่าง ๆ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และผลลัพธ์จากการรักษาด้วย high-flow nasal cannula (HFNC) กับการให้ออกซิเจนแบบดั้งเดิม (conventional oxygen therapy, COT) ในผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง วัสดุและวิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (prospective randomized controlled trial) ในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี ที ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง ซึ่งรับไว้รักษาในโรงพยาบาลระหว่างวันที่ 15 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ถึง วันที่ 15 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 โดยเปรียบเทียบข้อมูลของประชากรที่ศึกษา ลักษณะทางคลินิก Clinical respiratory score การตรวจภาพรังสีทรวงอก และผลลัพธ์จากการรักษาในโรงพยาบาล (การรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจ ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล และการเสียชีวิต) ระหว่างกลุ่มที่ ใช้ HFNC กับกลุ่มที่ใช้ COT ผลการศึกษา: ในการศึกษานี้มีผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 27 ราย กลุ่มที ใช้ HFNC (จำนวน 9 ราย) ช่วยลดความรุนแรงของลักษณะทางคลินิกของระบบหายใจ (clinical respiratory score) ได้มากกว่าในกลุ่มที่ใช้ COT (จำนวน 18 ราย) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ภายหลังให้การรักษาที่เวลา 30 นาที (1.1±1.8 vs -0.2±0.6 คะแนน; p = 0.022) และที่เวลา 1 ชั วโมง (1.6±1.7 vs 0.3±1.1 คะแนน; p = 0.037) 8 ชั่วโมง (2.4±1.5 vs 1.3±0.9 คะแนน; p = 0.018) 12 ชั่วโมง (2.7±1.5 vs 1.3±0.9 คะแนน; p = 0.010) และที่ เวลา 48 ชั่วโมง (2.8±1.4 vs 1.7±1.2 คะแนน; p = 0.045) ผลลัพธ์จากการรักษาในโรงพยาบาลไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างทั้งสองกลุ่ม สรุป: การใช้ HFNC อาจมีข้อดีมากกว่าในการช่วยลดความรุนแรงของลักษณะทางคลินิกของระบบหายใจ (clinical respiratory score) ในเด็กที่ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเมื่อเทียบกับการใช้ COT ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (prospective randomized controlled trial) ซึ่งมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ เพื่อพิสูจน์สิ่งที่พบในการศึกษานี้
รายละเอียด: งานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจ่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4358
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_177.pdf541.52 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น