กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4339
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorจารุนันท์ ประทุมยศ
dc.contributor.authorณิษา สิรนนท์ธนา
dc.contributor.authorอมรรัตน์ กนกรุ่ง
dc.contributor.authorวิรชา เจริญดี
dc.contributor.authorวิไลวรรณ พวงสันเทียะ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned2022-05-13T09:19:41Z
dc.date.available2022-05-13T09:19:41Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4339
dc.descriptionโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560th_TH
dc.description.abstractแผนงานวิจัยเทคโนโลยีการผลิตอาหารสำเร็จรูปกุ้งตัวตลก (Hymenocera picta) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อผลิตอาหารสาเร็จรูปสำหรับเลี้ยงกุ้งตัวตลกเพื่อทดแทนการเลี้ยงด้วยดาวทะเลมีชีวิต มีระยะเวลาการวิจัย 3 ปี (2559-2561) แผนงานวิจัยประกอบไปด้วย 1 แผนงานวิจัยและโครงการวิจัย 3 โครงการ โครงการวิจัยที่ 1คุณค่าอาหารในสัตว์ทะเลกลุ่มเอคไคโนเดิร์ม: แหล่งวัตถุดิบอาหารสำหรับกุ้งตัวตลก (Hymenocera picta) โครงการวิจัยที่ 2 รูปแบบ การสะสมสารสีของสัตว์ทะเลกลุ่มเอคไคโนเดิร์ม และโครงการวิจัยที่ 3 การเลี้ยงกุ้งตัวตลก (Hymenocera picta) ด้วยอาหารสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นทดแทนการเลี้ยงด้วยดาวแดงมีชีวิต (Licnkia multifora) แผนงานวิจัยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 (ปีแรกของการวิจัย) โครงการวิจัย 2 โครงการ แผนงานวิจัยสองปีต่อมาเป็นโครงการวิจัยปีที่ 3 ผลการดำเนินงานในปีที่ 1 พบว่าแผนงานวิจัยเทคโนโลยีการผลิตอาหารสำเร็จรูปกุ้งตัวตลกประสพผลสำเร็จตามเป้าหมายคือ 1) ได้องค์ความรู้พื้นฐานงานวิจัยด้านสารอาหารในอาหารธรรมชาติของกุ้งตัวตลก และ 2) ได้ข้อมูลสารสีในอาหารธรรมชาติของกุ้งตัวตลก ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้เป็นผลสำเร็จเบื้องต้น (P) ในการนำมาใช้ในการประกอบการคัดเลือกชนิดวัตถุดิบในการผลิตอาหารสาเร็จรูปกุ้งตัวตลกในการวิจัยโครงการที่ 3 ผลการดำเนินงานตามแผนงานวิจัยเทคโนโลยีการผลิตอาหารสำเร็จรูปกุ้งตัวตลกปีที่2 ประสพผลสำเร็จตามเป้าหมายคือได้ข้อมูลชนิดดาวทะเลและสารเคมีที่คาดว่าจะสามารถนำมาใช้ในการผลิตอาหารสำเร็จรูปได้ ซึ่งเป็นผลสำเร็จเบื้องต้น (P) รายละเอียดการดำเนินงานของแต่ละโครงการมีดังนี้ โครงการวิจัยที่ 1 ศึกษาคุณค่าอาหารในดาวทะเล จำนวน 10 ชนิดและปลิงทะเล จำนวน 4 ชนิด พบปริมาณเถ้า ไขมัน โปรตีน ในตัวอย่างดาวทะเลและปลิงทะเล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยเถ้าพบปริมาณสูงสุดในตัวอย่างดาวทะเลปุ่มใหญ่ Protoreaster nodosus (AS2) ปริมาณเฉลี่ย 52.46% ไขมันพบสูงสุดในตัวอย่างดาวทราย Astropecten polyacanthus (GS2) ปริมาณเฉลี่ย 1.95% และพบโปรตีนสูงสุดในดาวทะเลสีน้ำเงิน Linckia laevigata (AS4) ปริมาณเฉลี่ย 20.77% ส่วนในปลิงทะเลพบปริมาณเถ้าและไขมันสูงสุดในปลิงทะเลหนวดกิ่งไม้สีเขียว Colochirus quadrangularis (GSC4) ปริมาณเฉลี่ย (12.30%) และปริมาณเฉลี่ย 9.63% ตามลาดับ และพบโปรตีนสูงสุดในปลิงทะเลสีดา Holothuria (Mertensiothuria) leucospilota (GSC2) ปริมาณเฉลี่ย 42.94% ชนิดดาวทะเลที่มีโปรตีนสูงกว่าดาวแดง Linckia multiflora (AS1) คือดาวทะเลสีน้ำเงิน Linckia laevigata (AS4) ดาวทราย A. polyacanthus (GS2) ดาวทะเลสีทอง Linckia guildingi (AS5) และดาวหมอนปักเข็มหมุด Culcita schmideliana (AS7) ปลิงทะเลที่มีโปรตีนสูงกว่าในดาวแดงคือปลิงหินหนาม Stichopus horrens (GSC1) ปลิงทะเลดา H. leucospilota (GSC2) และปลิงทะเลหนวดกิ่งไม้สีเขียว C. quadrangularis (GSC4) นอกจากนี้ ดาวทะเลที่มีไขมันสูงกว่าดาวแดง ได้แก่ ดาวทราย A. polyacanthus (GS2) (ประมาณ 2%) ส่วนดาวทะเลสีส้ม Anthenea pentagonula (GS1) และดาวหมอนปักเข็มหมุด C. schmideliana (AS7) มีไขมันใกล้เคียงกับดาวแดง L. multiflora (AS1) (ประมาณ 1%) ในดาวทะเลพบปริมาณกรดไขมันอิ่มตัว (SFAs), กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFAs) กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFAs) และกรดไขมันจำเป็น C18:2n6, C18:3n6, C20:4n6 และ C20:5n3 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยกรดไขมันชนิด SFAs พบสูงสุดในดาวทะเลสีทอง Linckia guildingi (AS5) ประมาณ 57.51%ของกรดไขมันทั้งหมดต่อน้ำหนักแห้ง (TFA dry wt.) กรดไขมันMUFAs พบสูงสุดในดาวทะเลสีทอง L. guildingi (AS5) เช่นกันประมาณ 10.85%TFA dry wt. กรดไขมัน PUFAs พบสูงสุดในดาวทะเลปุ่มใหญ่ Protoreaster nodosus (AS2) ประมาณ 19.68%TFA กรดไขมัน จำเป็นที่ ARA (C20:4n6) พบในดาวแสงอาทิตย์ Luidia maculata (GS3) ปริมาณสูงสุด 14.51%TFA; 423.82 mg/ g dry wt. กรดไขมันจำเป็น EPA พบในดาวทราย Astropecten polyacanthus (GS2) ปริมาณสูงสุด 9.48%TFA; 422.87mg/ g dry wt. เฉพาะดาวแสงอาทิตย์ L. maculata (GS3) และดาวทราย A. polyacanthus (GS2) ที่มีกรดไขมันจำเป็น DHA เป็นองค์ประกอบในปริมาณ 1-2 % TFA. ในปลิงทะเลพบปริมาณกรดไขมันชนิดอิ่มตัว (SFAs) กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFAs) กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFAs) และกรดไขมันจำเป็น C20:4n6 และ C20:5n3 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยพบกรดไขมัน SFAs สูงสุดในปลิงทะเลหนวดกิ่งไม้สีเขียว Colochirus quadrangularis (GSC4) ในปริมาณ 26.95%TFA dry wt., พบ MUFAs สูงสุดในปลิงทะเลหนวดกิ่งไม้สีชมพูเหลือง Cercodemas anceps (GSC3) ในปริมาณ 22.25%TFA dry wt. และพบ PUFAs สูงสุดในปลิงทะเลสีดำ Holothuria (Mertensiothuria) leucospilota (GSC2) ในปริมาณ 24.27%TFA โดยพบ C20:4n6 สูงสุดในปลิงหินหนาม Stichopus horrens (GSC1) ในปริมาณ 20.11%; 179.45 mg/ g dry wt. และพบ C20:5n3 สูงสุดในปลิงทะเลหนวดกิ่งไม้สีเขียว Colochirus quadrangularis GSC4 ในปริมาณ 8.85%; 306.72 mg/ g dry wt. ปลิงทะเลมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวจำเป็น DHA 29-62 mg/g dry wt. ในดาวทะเลพบว่ามีกรดอมิโนเป็นองค์ประกอบปริมาณต่างกัน ดาวทะเลสีน้ำเงิน Linckia laevigata (AS4) มีปริมาณกรดอะมิโนชนิดต่าง ๆ ในสูงกว่าดาวทะเลชนิดอื่น โครงการวิจัยที่ 2 ศึกษาสารสีแคโรทีนอยด์ (astaxanthin, beta-carotene, cantaxanthin, echineneone, zeaxanthin & lutein) และสารสีแอนโทไซยานินรวมในดาวทะเลจำนวน 9 ชนิดและปลิงทะเล จำนวน 3 ชนิด พบว่าสารสีในกลุ่มสารสีแคโรทีนอยด์ที่เป็นองค์ประกอบหลัก ของดาวทะเลและปลิงทะเลที่ศึกษาคือ astaxanthin and zeaxanthin & lutein ดาวแดง L. multiflora (AS1) มีสารสี astaxanthin ปริมาณ 1156.70 μg/g ของน้ำหนักเปียก ดาวทะเลที่พบสารสี astaxanthin มากกว่าที่พบในดาวแดง L. multiflora (AS1) คือดาวทะเลสีน้ำเงิน Linckia laevigata (AS4) และดาวทะเล Protoreaster nodosus (AS2) มีปริมาณเท่ากับ 27882 μg/g และ 1801.57 μg/g ของน้ำหนักเปียก ตามลำดับ สารสีชนิด zeaxanthin & lutein พบมากสุดในดาวแดง L. multiflora (AS1) ประมาณ 41.74 μg/g ของน้ำหนักเปียก สารสีแอนโทไซยานินรวมพบมากสุดในดาวทะเลหมอนปักเข็มหมุด Culcita schmideliana (AS7) ประมาณ 4.49 μg/g ของน้ำหนักเปียกแต่ไม่พบสารสีกลุ่มนี้ในดาวแดง L. ในแผนงานวิจัยนี้ได้ศึกษาปริมาณความเข้มข้นและชนิดกรดอมิโนที่มีผลในการกระตุ้นให้สัตว์น้ำตอบสนองต่อสารเคมีในอาหาร พบว่ากรดอมิโนในดาวทะเลแตกต่างจากกรดอมิโนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ใช้ในอาหารกุ้งทั่วไป ในดาวทะเลมีกรดอมิโน glycine ปริมาณมากสุด รองลงมาได้แก่ glutamic proline alanine aspartic arginine ในขณะที่ในเนื้อปลาสด อวัยวะภายในของปลาคุณภาพดีและสาหร่ายซากัสซั่มมีกรดอมิโน glutamic และ aspartic เป็นองค์ประกอบหลักแต่มีกรดอมิโน glycine น้อย ความแตกต่างของกรดอมิโนในตัวอย่างเหล่านี้จะนำไปศึกษาในโครงการวิจัยที่ 3 ต่อไป โครงการวิจัยที่ 3 ศึกษาพฤติกรรมการตอบสนองของกุ้งตัวตลกต่อดางทะเลและสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบในดาวทะเล ในระดับความเข้มข้นต่างกัน ผลการทดลองพอสรุปได้ดังนี้ รายงานวิจัยนี้เป็นรายงานการวิจัยระยะที่ 1 ศึกษาพฤติกรรมการตอบสนองของกุ้งตัวตลก (H. picta) ต่อกลิ่นสารเคมีในดาวทะเลและสารเคมีบางชนิดที่เป็นองค์ประกอบหลักของดาวทะเล ทดสอบกุ้งตัวตลก (H. picta) จำนวน 198 ตัว ขนาดน้ำหนัก 0.5-1.0 กรัมและความยาว 1.50-2.55 เซ็นติเมตร กับสารเคมีทดลองแต่ละทรีตเมนต์ในอุปกรณ์ Y-shaped choice chamber ด้านบนของปลายทั้งสองข้างของ Y-shaped choice chamber มีกล่องปริมาตร 2 ลิตรข้างละ 1 กล่องซึ่งข้างหนึ่งใส่สารละลายสำหรับทดลองและอีกข้างหนึ่งใส่น้ำทะเลความเค็มประมาณ 33 พีพีที อัตราการปล่อยสารละลายทั้งสองข้างประมาณ 14-15 มิลลิลิตรต่อนาที ทรีตเมนต์ทดลองทั้งหมด 23 ทรีตเมนต์และแต่ละทรีตเมนต์ทดลองเป็นระยะเวลา 15 นาที ทรีตเมนต์ทดลองประกอบด้วย 1) น้ำทะเล (ชุดควบคุม); 2) ดาวแดงมีชีวิต (Linckia multifora) 1 ตัว น้ำหนัก 16.59 กรัมต่อลิตรน้ำทะเล; 3) ดาวแดงมีชีวิต (Linckia multifora) 10 ตัว น้าหนัก 116.24 กรัมต่อลิตร; 4) ดาวแดงทำแห้งด้วยการ freeze-dried น้ำหนัก 150 กรัมต่อลิตร; 5) ดาวทรายมีชีวิต (Astropecten indicus) 10 ตัว น้ำหนัก 117.90 กรัมต่อลิตร; 6) ดาวแสงอาทิตย์มีชีวิต (Luidia maculata) 1 ตัว น้ำหนัก 159.51 กรัมต่อลิตร; 7) ดาวทะเล 5 แฉกมีชีวิต (Pentaceraster gracilis) 1 ตัว น้ำหนัก 48.92 กรัมต่อลิตร; 8) สารละลายซาโปนินความเข้นข้น 0.1% ละลายในน้ำทะเล 5 นาทีก่อนทดลอง; 9) สารละลายซาโปนินความเข้นข้น 0.1% ละลายในน้ำทะเล 30 นาทีก่อนทดลอง; 10) สารละลายซาโปนินความเข้นข้น 0.2% ละลายในน้ำทะเล 5 นาทีก่อนทดลอง; 11) สารละลายซาโปนินความเข้นข้น 0.2% ละลายในน้ำทะเล 30 นาทีก่อนทดลอง;12) สารละลาย L-aspartic ความเข้มข้น 0.1%ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 5 นาที; 13) สารละลาย L-aspartic ความเข้มข้น 0.2% ละลายในน้าทะเลก่อนทดลอง 5 นาที; 14) สารละลาย L-aspartic ความเข้มข้น 0.3% ละลายในน้าทะเลก่อนทดลอง 5 นาที; 15) สารละลาย glycine ความเข้มข้น 0.1% ละลายในน้าทะเลก่อนทดลอง 5 นาที; 16) สารละลาย glycine ความเข้มข้น 0.2% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 5 นาที; 17) สารละลาย glycine ความเข้มข้น 0.3% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 5 นาที; 18) สารละลาย monosodium glutamate (MSG) ความเข้มข้น 0.1% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 5 นาที 19) สารละลาย MSG ความเข้มข้น 0.2% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 5 นาที 20) สารละลาย MSG ความเข้มข้น 0.3% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 5 นาที 21) สารละลาย MSG ความเข้มข้น 0.1% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 30 นาที 22) สารละลาย MSG ความเข้มข้น 0.2% ละลายในน้าทะเลก่อนทดลอง 30 นาที; 23) สารละลาย MSG ความเข้มข้น 0.3% ละลายในน้ำทะเลก่อนทดลอง 30 นาที ผลการทดลองพบว่ากุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับน้ำทะเลไม่มีพฤติกรรมลังเลหรือหยุดเดินตลอดการทดลองและเดินสลับกันระหว่างจุดเริ่มต้นและแขนทั้งสองข้างของอุปกรณ์ กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับดาวแดงมีชีวิต จานวน 1 ตัวและ10 /ลิตรน้ำทะเล ไม่ลังเลหรือหยุดเดิน พฤติกรรมการเลือกข้างของกุ้งตัวตลกชัดเจนในกุ้งที่ทดสอบกับดาวแดงมีชีวิต 10 ตัวเนื่องจากกุ้งตัวตลก (H. picta) เดินอยู่ระหว่างจุดเริ่มต้นกับปลายที่มีดาวแดง กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับดาวแดงแดง (L. multiflora) ทาแห้งด้วยการ freeze-dried และกุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับดาวแสงอาทิตย์มีชีวิต (L. maculata) เดินสลับกันระหว่างจุดเริ่มต้นและปลายทั้งสองข้างไม่มีรูปแบบการเดินระหว่างข้างใดข้างหนึ่งที่ชัดเจน กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับดาวทรายมีชีวิต (A. indicus) ไม่ลังเลเมื่อเดินเข้าไปทางที่มีดาวทรายมีชีวิตและบางตัวมีพฤติกรรมเดินกลับเข้าไปที่ปลายข้างเดิมที่มีดาวทรายหลังและอยู่ที่ปลายข้างที่มีดาวทรายเป็นเวลานาน กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับดาวดาวทะเล 5 แฉก (P. gracilis) ลังเลหรือหยุดเดินเและมีแนวโน้มเดินไปทางที่มีกล่องบรรจุน้ำทะเลมากกว่าเดินไปทางที่มีดาวทะเลห้าแฉก กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับสารละลายซาโปนินในระดับความเข้มข้น 0.1% และ 0.2% มีพฤติกรรมลังเลในการเดินหรือหยุดเดินและการกระโดด ที่ระดับความเข้มข้นของซาโปนิน 0.1% กุ้งตัวตลก (H. picta) มีพฤติกรรมเดินและเดินกลับเข้าไปที่ปลายทั้งสองข้างที่มีและไม่มีสารละลายซาโปนิน แต่ที่ระดับความเข้มข้น 0.2% กุ้งตัวตลก (H. picta) เดินอยู่ระหว่างจุดเริ่มต้นและปลายข้างที่ไม่มีสารละลายซาโปนิน 0.2% มากกว่า กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับ L-aspartic ที่ระดับความเข้มข้น 0.1%-0.3% มีพฤติกรรมการลังเลหยุดเดินและมีแนวโน้มเลือกเดินไปปลายข้างที่มีน้ำทะเล กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับ glycine ความเข้มข้น 0.1% และ 0.2% ไม่ลังเลในการเดินและไม่มีรูปแบบการเดินอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งที่ชัดเจน แต่ที่ระดับความเข้มข้น 0.3% กุ้งตัวตลก (H. picta) บางตัวมีพฤติกรรมเดินออกและเดินกลับเข้าไปทางปลายข้างที่มีน้ำทะเล กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับ MSG ความเข้มข้น 0.1% มีพฤติกรรมการหยุดเดินแต่ไม่มีรูปแบบการเดินอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งที่ชัดเจน กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบ MSG 0.2% และ 0.3% มีพฤติกรรมเหมือนกันคือการหยุดเดิน กระโดดหรือกางก้าม กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับ MSG ความเข้มข้น 0.2% (5 นาที) มีแนวโน้มเดินอยู่ระหว่างจุดเริ่มต้นกับปลายข้างที่มีน้ำทะเลแต่กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับ MSG 0.2% (30 นาที) มีแนวโน้มอยู่ระหว่างจุดเริ่มต้นกับปลายข้างที่มี MSG 0.2% กุ้งตัวตลก (H. picta) ที่ทดสอบกับ MSG 0.3% (5 นาทีและ 30 นาที) มีพฤติกรรมเดินกลับเข้าไปซ้ำ ๆ ที่ปลายข้างเดิมและมีแนวโน้มเดินอยู่ระหว่างจุดเริ่มต้นกับปลายทั้งสองข้างที่มีและไม่มี MSG 0.3% โดยสรุป ดาวทรายมีองค์ประกอบทางเคมีสามารถดึงดูดกุ้งตัวตลกให้เข้าหาอาหารได้ดีกว่าดาวทะเลชนิดอื่น ๆ กุ้งตัวตลก (H. picta) ตอบสนองต่อดาวแดงแห้ง (freeze-dried) ยังอยู่ในระดับที่สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบอาหารชนิดหนึ่งในการผลิตอาหารสำเร็จรูปกุ้งตัวตลก (H. picta) แต่ควรเพิ่มสารเคมีที่ดึงดูดให้กุ้งตัวตลกเข้าหาอาหาร การศึกษาในระยะต่อไปเป็นการผลิตอาหารทดลองให้กุ้งตัวตลกกินโดยคัดเลือกสารเคมีทีดึงดูดให้กุ้งตัวตลกเข้ามาที่อาหาร เช่น MSG หรือ ซาโปนินแต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมในการใช้th_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectกุ้งตัวตลก - - อาหารth_TH
dc.subjectกุ้งตัวตลก - - การเจริญเติบโตth_TH
dc.subjectอาหารสำเร็จรูปth_TH
dc.titleเทคโนโลยีการผลิตอาหารสำเร็จรูปกุ้งตัวตลก (Hymenocera picta)th_TH
dc.title.alternativeArtificial feed production technology for harlequin shrimp (Hymenocera picta)en
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailjarunan@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailnisas@.buu.ac.thth_TH
dc.author.emailamonrat@bims.buu.ac.thth_TH
dc.author.emailwiracha@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailwilaiwanp@buu.ac.thth_TH
dc.year2560th_TH
dc.description.abstractalternativeThe general objective of the artificial feed production technology for harlequin shrimp (Hymenocera picta) research programme was to formulate artificial feed to substitute the use of live seastars as the diet used in harlequin shrimp cultivation. This research programme was conducted over a 3-year period – a programme that consists of one research plan and three projects. The title of the individual projects within this are: 1) the nutrition in marine echinoderms: feed ingredient sources for harlequin shrimp (H. picta); 2) pigment accumulation profiles in echinoderms; and, 3) the culture of harlequin shrimp (H. picta) on artificial feed to substitute the use of live comet seastars (Linckia multifora). According to the original research programme, the first two projects were conducted during the first plan while the last project was conducted over the following two years. The research programme has achieved its primary objectives (P) which were: 1) to provide basic knowledge on the nutritional content of the natural prey items consumed by harlequin shrimp (H. picta); and, 2) to provide information on the pigment profile of those natural food items. Key data obtained from these two projects were then selected for further study. 3) to provide knowledge on sea stars or chemicals that can be applied as feed ingredients or feed attractants in artificial feed for harlequin shrimp (H. oicta). Information stemming from each project are as follows: From Project 1, the nutrient composition of ten species of sea star and four species of sea cucumber were investigated. The study found significant differences (p<0.05) in the protein, lipid and ash content between the species examined. Of the sea stars examined, the highest content of ash was in the Protoreaster nodosus (AS2) (52.46%), highest lipid (1.95%) in the Astropecten polyacanthus (GS2) and the greatest protein (20.77%) content was found within Linckia laevigata (AS4).Among the sea cucumber species analysed, Colochirus quadrangularis (GSC4) had the highest ash (12.30%) and lipid (9.63%) content, while Holothuria [Mertensiothuria] leucospilota (GSC2) had the highest amount of protein (42.94%). Among the seastar species, the blue seastar Linckia laevigata (AS4), the sand star A. polyacanthus (GS2), the yellow seastar Linckia guildingi (AS5) and, the pin cushion seastar Culcita schmideliana (AS7) all had higher protein contents than that of L. multiflora (AS1). Of the sea cucumber species, Stichopus horrens (GSC1), H. leucospilota (GSC2) and Colochirus quadrangularis (GSC4) contained protein in a greater amount than that determined in L. multiflora (AS1). In addition, the sand seastar A. polyacanthus (GS2) had lipid levels (i.e. 2%) higher than that of L. multifora (AS1) whilst Anthenea pentagonula (GS1) and C. schmideliana (GSC4) had similar amounts of lipid to that found in L. multiflora (i.e. 1%). There were also significant differences (p<0.05) in the fatty acid (FA) profiles of the ten 10 seastar species, notably in their total saturated FA (SFA), total monosaturated FA (MUFA) and total polyunsaturated FA (PUFA) contents, and also in their concentrations of the essential FAs linoleic acid (C18:2n6, LA), linolenic acid (C18:3n6, LNA), arachicdonic acid (C20:4n6, ARA) and eicosapentaenoic acid (C20:5n3, EPA). Linckia guildingi (AS5) contained high quantities of SFAs (57.51%) and MUFAs (10.85%), while Protoreaster nodosus (AS2) contained the highest percentage of PUFAs (19.68%). The sea star Luidia maculata (GS3) contained high amounts of ARA (14.51%; 423.82 mg/ g dry wt), while A. polyacanthus (GS2) contained high levels of EPA (9.48%, 422.87 mg/g dry wt). Of the seastars examined, only L. maculata (GS3) and A. polyacanthus (GS2) contained minor amounts of DHA (1-2 % TFA). Among the sea cucumber species that were analysed, C. quadrangularis contained the highest level of SFAs at approximately 26.95%. Cercodemas anceps had the highest content of MUFAs (ca. 22.25%) and Holothuria [Mertensiothuria] leucospilota had the highest content of PUFAs at 24.27%, Stichopus horrens had high levels of ARA (20.11%; 179.45 mg/g dry wt.) while specimens of C. quadrangularis contained high levels of EPA (ca. 8.85%; 306.72 mg/g dry). All the sea cucumber species analysed contained DHA at approximately 29-62 mg/g dry wt. Regarding the amino acid content of the seastar species under investigation within this study, the highest concentration of amino acids was found within Linckia laevigata. From Project 2, the objective of the study was to examine the carotenoids (astaxanthin, beta-carotene, cantaxanthin, echineneone, zeaxanthin and lutein) and anthocyanin compositions in a range of seastar and sea cucumber species. Astaxanthin, zeaxanthin and lutein were the major components found in both seastars and in sea cucumbers. Linckia laevigata (AS4) and Protoreaster nodosus (AS2) contained astaxanthin in the amounts of 27,882 μg/g (wet wt.) and 1,801.57 μg/g (wet wt.) respectively which was higher than that in the L. multiflora (AS1) (i.e. 1,156.70 μg/g wet wt.). Zeaxanthin and lutein were found in the highest amount in L. multiflora (AS1) (approximately 41.74 μg/g wet wt.). Anthocyanin was found in Culcita schmideliana (AS7) in concentrations of about 4.49 μg/g (wet wt.), but this pigment was not found in L. multiflora (AS1). As some amino acids have been found and used as feed attractants to various aquatic animals, this research programme also investigated the amino acids profiles of natural feeds (seastars) of harlequin shrimp and other main feed ingredients (flesh fish, fish intestine algae etc.) used to formulate commercial shrimps diets. It was found that glycine is the greatest component of all seastars followed by glutamic, proline, alanine, aspartic and arginine while glutamic and aspartic acid are core components in seaweed, Sargassum sp., and in good quality flesh and intestines of fish but glycine was detected only in minor amounts. The differences of amino acids present in these samples will be used for a further study on chemical cues presents to harlequin shrimp in Project 3. From Project 3, phase 1. The dietary preference for fresh comet seastars, Linckia multifora, exhibited by captive maintained populations of harlequin shrimp, Hymenocera picta, is a bottleneck to their sustainable, commercial scale aquaculture. The current study, therefore, set out to produce a complete artificial diet to replace the need for using live starfish. The first phase of the project, set out to study the behavioural responses of H. picta to various seastars and to selected chemicals which are found within seastars. To explore this, a total of 216 H. picta (0.5-1.0g weight range; 1.50-2.55 cm length) were used in a series of chemicals trials conducted in a Y-shaped choice chamber to investigate their responses to the different diets and chemicals. Above each of the two arms of the Y-shaped chamber, a 2-L reservoir was positioned – one containing 33 ppt seawater, the other the test compound. The flow rate from each reservoir into the chamber was balanced and adjusted so that a rate of 14-15 mL min-1 was used; each trial ran for 15 minutes. A total of 23 different experimental conditions were evaluated: 1) SW (seawater control); 2) live comet seastars in seawater at a dose of 16.59g / L; 3) live comet seastars in seawater at a dose of 116.24g / L; 4) freeze-dried comet seastar tissue at a dose of 150 g/ L; 5) live sandstars, Astropecten indicus, in seawater at a dose of 117.90g / L; 6) live eight-armed seastars, Luidia maculata, in seawater at a dose of 159.51g / L;/L of SW; 7) a live specimen of Pentaceraster gracilis in seawater at a dose of 48.92g / L; 8) 0.1% saponin made 5 min before investigation; 9) 0.1% saponin made 30 min before investigation; 10) 0.2% saponin made 5 min before investigation; 11) 0.2% saponin made 30 min before investigation; 12) 0.1% L-aspartic acid made 5 min before use; 13) 0.2% L-aspartic acid made 5 min before use; 14) 0.3% L-aspartic acid made 5 min before use; 15) 0.1% glycine made 5 min before use; 16) 0.2% glycine made 5 min before use; 17) 0.3% glycine made 5 min before use; 18) 0.1% monosodium glutamate made 5 min before use; 19) 0.2% monosodium glutamate made 5 min before use; 20) 0.3% monosodium glutamate made 5 min before use; 21) 0.1% monosodium glutamate made 30 min before use; 22) 0.2% monosodium glutamate made 30 min before use; and, 23) 0.3% monosodium glutamate made 30 min before use; The results found that: 1) for the control group, the shrimp conitnue to explore the apparatus but show no preference for either arm of the chamber; 2) and 3) the shrimp walked towards the positive arm dispensing seawater in which live L. multifora were held but the response was stronger for the higher concentration; 4) freeze dried L. multifora and 6) live L. maculata the shrimp showed no preference for either arm; 5) there was a strong positive response to water in which live A. indicus were held with the shrimp moving without hesitating directly to the source, then briefly exploring the arm before returning to the source once again with some of the shrimp remained at the source; 7) shrimp exposed to P. gracilis-bathed seawater, displayed a negative response by moving to the control arm of the chamber; 8)-11) the shrimp exposed to the different saponins moved positively towards both arms but were hesitant and wary in their behaviour which was punctuated by sudden jumps backwards trying to avoid the chemicals at the higher concentration; 12)-14) shrimp exposed to the L-aspartic acid appeared to show a negative response to the chemical, displaying a tendency to move into the control arm of the chamber; 15)-17) the shrimp appeared to disinterested by the chemical, showing no clear response for either arm of the chamber, but moving towards the sea water was observed at the higher concentration; 18)-23) at the lower 0.1% dose of MSG, the shrimp did not display a clear preference for either arm of the chamber. At the 0.2% dose of MSG, the shrimp appeared to jump backwards together with their claws raised. The shrimp exposed to 0.2% saponin (5 min) had a tendency towards the sea water but when exposed to 0.2% saponin (30 min) the shrimp moved positively towards the test source. A similar positive, claws raised response was seen when exposed to 0.3% saponin with the shrimp exploring the arm of the chamber only to return to the positive source. In conclusion, from the conditions and chemicals investigated here, the strongest positive response displayed by the harlequin shrimp was in response to water in which live specimens of sandstars, A. indicus, had been held. The response of shrimp to freeze-dried seastar seems to be useable as a feed ingredient in a complete diet for H. picta. The study has also shown the utility of feed attractants such MSG and saponin solutions, and their inclusion, at the correct concentration may also be considered. The second phase of this project plans to use the most promising chemicals identified here as chemo- attractants for incorporation into an artificial formulated feed for harlequin shrimp.en
dc.keywordสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_042.pdf1.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น