กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/42
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | พวงทอง อินใจ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:45:44Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:45:44Z | |
dc.date.issued | 2548 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/42 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ อย่างน้อย 6 เดือน จำนวน 334 คน ทุกคนได้รับยาต้านไวรัสเอดส์ตามโครงการการเข้าถึงการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ระดับชาติ ในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบแช่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลโดย พยาบาลประจำคลีนิก และอาสาสมัครผู้ติดเชื้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่สถิติเชิงบรรยาย สถิติ Mc Nemar Test และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1.ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ มีระดับภูมิคุ้มกัน CD4 เพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ย 110.09 เซลล์ หลังจากที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ 6 เดือน 2. ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3. คะแนนแบบวัดสมรรถนะของผู้ป่วยตามเกณฑ์ ของ Karnofsky Score ส่วนใหญ่อยู่ระดับ 100 ซึ่งเป็นระดับคะแนนสูงสุด ผลการทดสอบประสิทธิผลการรักษาด้วยยาต้านไวรัสจำแนกตามปัจจัยดังนี้ 1.ด้านสัดส่วนอาการเจ็บป่วยด้วยการติดเชื้อโรคฉวยโอกาสของกลุ่มตัวอย่างผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ช่วงเวลา ณ ปัจจุบัน สัดส่วนการไม่มีการติดเชื้อโรคฉวยโอกาส สูงกว่าก่อนการกินยา คือมีมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 100 (เกณฑ์ ร้อยละ 80) 2. สัดส่วนผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ทั้ง สอง กลุ่มได้แก่ หนึ่ง กลุ่มที่มีระดับค่า CD4 < 100 เซลล์ /ลบ.มม. ช่วงก่อนการกินยาต้านไวรัส มีระดับค่าเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 100 เซลล์เป็นกลุ่ม CD ≥ 100 เซลล์ / ลบ.มม. อยู่ในระดับร้อยละ 80 สอง กลุ่มที่มีระดับค่าCD4 ≥ 100 เซลล์ / ลบ.มม. ช่วงก่อนการกินยาต้านไวรัส มีระดับค่าเพิ่มมากกว่า 100 เซลล์ เป็นกลุ่ม CD4 ≥ 100 เซลล์ / ลบ.มม. อยู่ในระดับร้อยละ 80 ตามเกณฑ์ที่กำหนด (เกณฑ์ ร้อยละ 80) 3.สัดส่วนการมีคุณภาพชีวิตระดับปานกลางขึ้นไปต่อการมีคุณภาพชีวิตไม่ดี เป็นร้อยละ 100 ต่อ 0 เป็นระดับที่ได้มากกว่าสัดส่วนที่กำหนด (เกณฑ์ ร้อยละ80) 4.สัดส่วนระดับค่าคะแนนสมรรถนะทางกาย KNS ≥ 80 ร้อยละ 90 ต่อ KNS < 80 ร้อยละ 10 เป็นระดับที่ได้มากกว่าสัดส่วนที่กำหนด (เกณฑ์ ร้อยละ 80) ผลการหาสัมประสิทธิสหสัมพันธ์พหุคูณ ให้ผลดังต่อไปนี้ 1.ปัจจัยด้านการออกกำลังกาย (β =.14, p < .001) การไม่ดื่มสุรา (β = .44, p< .001) และการรับประทานอาหารตรงเวลา (β= .15, p < .001) สามารถร่วมกันทำนาย คุณภาพชีวิตโดยรวมได้ร้อยละ 13 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .001 2.ปัจจัยด้านความพึงพอใจด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้ใช้บริการ (β = 19.17, p < .001)การนอนหลับเพียงพอ (β = 4.41, p < .001)การติดเชื้อฉวยโอกาส ณ ปัจจุบัน (β = 6.27, p < .001) และความพึงพอใจด้านการตอบสนองต่อ ผู้ใช้บริการ (β = 13.07, p < .001) สามารถร่วมกันทำนายคะแนนแบบวัดสมรรถนะ (KNS) ได้ร้อยละ 13 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .001 3.ปัจจัยด้านการติดเชื้อฉวยโอกาส ณปัจจุบัน (β = 69.89, p < .001) การนอนหลับไม่เพียงพอ (β = -41.62, p < .001) และการไม่ได้รับการปรึกษา (β = -103.99, p < .001) สามารถร่วมกันทำนาย ด้านระดับค่า CD4 หลังการกินยา 6 เดือน โดยเฉลี่ย ได้ร้อยละ 8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .001 ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าประสิทธิผลของการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ มีระดับค่าภูมิคุ้มกันร่างกายเพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตและสมรรถนะร่างกาย ที่สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ | th_TH |
dc.description.sponsorship | ผลงานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะอนุกรรมการเอดส์ จังหวัดชลบุรี ปีงบประมาณ 2548 | en |
dc.publisher | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ผู้ติดเชื้อเอชไอวี | th_TH |
dc.subject | โรคเอดส์ | th_TH |
dc.subject | โรคเอดส์ - - การรักษาด้วยยา | th_TH |
dc.subject | โรคเอดส์ - - ผู้ป่วย | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ | th_TH |
dc.title.alternative | Factors affecting the effectiveness of antiretroviral drug treatment with plwha | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2548 | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to assess factors affectiveness of antiretroviral drug treatment with PLWHA. The sample consisted of 334 PLWHA who were receiving ARV drug treatment for at least 1 year. All of the patients have been in NAPHA project of Chonburi Province area. A stratified random sample technique was used to select the subjects. The data were collected by using a questionnaire administered by nurses and were analyzed by the Mc Nemar test and stepwise multiple regression. The result of the study demonstrated that the patients’ Cd4 level increased by an average of 110.09 cells after 6 months of ARV treatment. Second, the quality of life of most patients was rated as moderate. Third, the KNS of most patients was 100, where the maximum score is 100. The effective testing of ARV drug treatment is supported by the following findings: 1.PLWHA had no evidence of the opportunity infection rate radio after ARV treatment than before ARV treatment period by 100 % (test prop.80%) 2.A proportion of 80 % of PLWHA with both groups with CD4 < 100 cell/cu.mm. and CD4 ≥ 100 cells/cu.mm. before ARV treatment period had an increased CD4 level of more than 100 cells after ARV treatment (test prop.80 %) 3.A proportion of 80 % of PLWHA quality of life rate as moderate up, to low was 100 : 0 which better than the criteria of this research (test prop. 80%). 4.The proportion of PLWHA KNS score rate ≥ 80 group to < 80 group was 90 % to 10% which is higher than the critertion of this research level at 80% (test prop. 80%). The factors affecting the effectiveness of ARV drug treatment with PLWHA by stepwise multiple regression were found to be: 1.Tree predictor variables of health behavior, exercises (β = .14, p < .001), no alcohol drinking (β = .44, p < .001) and on time meals (β = .15, p < .001) in combination explained 13% of variance of PLWHA quality of life (p < .001). 2.Four predictor variables of reliability service satisfaction (β = 19.7, p < .001), enough sleeping (β = 4.41, p < .001), the present opportunity infection (β = 6.27, p < .001) and the responsiveness to patient satisfaction (β = 13.07, p < .001) in combination explained 13 % of variance of PLWHA KNS score (p< .001). 3.Tree predictor variables of the present opportunity infection (β = 69.89, p < .001), not enough sleeping (β = -41.62, p<. 001) and no counseling service joining (β = -103.99, p < .001) in combination explained 8 % of variance of PLWHA CD4 level (p < .001). The findings of this study revealed that the ARV drug treatment increase CD4 level, contributing to the quality of life and KNS score of PLWHA who were able to carry on normal daily activities and to work with no special care needed for most PLWHA. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
title.pdf | 257.63 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
chapter1.pdf | 267.46 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
chapter2.pdf | 564.09 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
chapter3.pdf | 279.26 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
chapter4.pdf | 534.13 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
chapter5.pdf | 277.53 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
bibliography.pdf | 197.09 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
appendix.pdf | 224.76 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น