กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4296
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorปราการ ทัตติยกุล
dc.contributor.authorทวีลาภ ตั๊นสวัสดิ์
dc.contributor.authorศุภมาศ ศุภบรรพต
dc.contributor.authorวราวุฒิ เกรียงบูรพา
dc.contributor.authorเบญจารัตน์ ทรรทรานนท์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2022-02-02T06:37:14Z
dc.date.available2022-02-02T06:37:14Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4296
dc.descriptionผลงานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประเภทงบประมาณเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลลัพธ์ปริกำเนิดและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการ รักษาพยาบาลภายในโรงพยาบาล ตลอดจนศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์ปริก าเนิดของมารดาต่างด้าวและชาวไทยที่มารับบริการในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้วิธีศึกษาแบบ Retrospective cross-sectional study ศึกษาในกลุ่มมารดาต่างด้าวเปรียบเทียบกับกลุ่มชาวไทยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาในช่วงระหว่าง ม.ค. พ.ศ.2558 – ม.ค. พ.ศ.2563 ประชากรที่ศึกษาทั้งหมดจ านวน 674 คน แบ่งเป็นมารดาต่างด้าว 337 คน และมารดาชาวไทยจำนวน 337 คน พบว่ามารดาต่างด้าวและมารดาชาวไทย มีข้อมูลทั่วไปทางด้านอายุมารดา อายุครรภ์ การคลอดนอกโรงพยาบาล ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มารดาต่างด้าวมีการฝากครรภ์น้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P <0.05) และมารดาชาวไทยมีการผ่าคลอดมากกว่ามารดาต่างด้าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P <0.05) ในด้านผลลัพธ์ปริกำเนิด ได้แก่ ภาวะตกเลือดหลังคลอด น้ำหนักทารก คะแนน Apgar การเข้ารักษาตัวใน SNB/NICU ระยะเวลาในการครองเตียงทารก และ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทารก ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มารดาชาวไทยกลับมีระยะเวลาในการครองเตียง และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมากกว่ามารดาต่างด้าวอย่างมีนัยสสำคัญทางสถิติ (P <0.05) ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์ปริกำเนิดของแรงงานต่างด้าวและชาวไทย ซึ่งได้แก่ 1) อายุมารดา 2) อายุครรภ์ 3) การฝากครรภ์ 4) ช่องทางคลอด 5) การคลอดนอกโรงพยาบาล และผลลัพธ์ปริกำเนิด ได้แก่ 1) ภาวะตกเลือดหลังคลอดของมารดา 2) คะแนน Apgar Score ≥ 5 ที่อายุ5 นาที3) การไม่ต้องเข้ารับการรักษาที่แผนก SNB /NICU 4) น้ำหนักทารกปกติ (≥2500กรัม) 5) ระยะเวลาครองเตียงของทารกตั้งแต่ 4 วันขึ้นไป 6) ระยะเวลาครองเตียงของมารดาตั้งแต่ 4 วันขึ้นไป พบว่า สำหรับมารดาต่างด้าว ปัจจัยที่มีผลต่อการไม่ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่แผนก SNB /NICU ของทารกต่างด้าว คือ อายุครรภ์ และการคลอดนอกโรงพยาบาล โดยอายุครรภ์ที่มากขึ้นและการคลอดในโรงพยาบาลจะเพิ่มโอกาสการไม่ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่แผนก SNB /NICU ปัจจัยที่มีผลต่อน้ำหนักปกติของทารกต่างด้าว คือ อายุมารดา อายุครรภ์ การฝากครรภ์ และช่องทางคลอด โดยอายุมารดาที่เพิ่มขึ้น อายุครรภ์ที่ลดลง การฝากครรภ์ < 5 ครั้ง และการผ่าคลอดจะลดโอกาสที่ทารกจะมีน้ำหนักปกติ ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาการครองเตียงตั้งแต่ 4 วันขึ้นไปของทารกต่างด้าว คือ อายุครรภ์โดยที่อายุครรภ์ที่มากขึ้นจะลดโอกาสที่จะมีระยะเวลาครองเตียงตั้งแต่4 วันขึ้นไปของทารก ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาครองเตียงตั้งแต่ 4 วันขึ้นไปของมารดาต่างด้าว คือ ช่องทางคลอด โดยที่การผ่าคลอดจะเพิ่มโอกาสที่จะมีระยะเวลาครองเตียงตั้งแต่ 4 วันขึ้นไปของมารดาเมื่อเทียบกับคลอดทางช่องคลอด สำหรับมารดาชาวไทย ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะตกเลือดหลังคลอดของชาวไทย คือ อายุมารดา โดยที่ อายุมารดาที่มากขึ้นจะเพิ่มโอกาสในการตกเลือดหลังคลอด ปัจจัยที่มีผลต่อคะแนน Apgar Score ≥ 5 ที่อายุ 5 นาที ของทารกชาวไทย คือ อายุครรภ์ โดยที่อายุครรภ์ที่มากขึ้นจะเพิ่มโอกาสที่จะมีคะแนน Apgar Score ≥ 5 ที่อายุ 5 นาทีปัจจัยที่มีผลต่อการไม่ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่แผนก SNB /NICU ของทารกชาวไทย คือ อายุครรภ์ การฝากครรภ์ และการคลอดนอกโรงพยาบาล โดยที่อายุครรภ์ที่มากขึ้น การฝากครรภ์ ≥ 5 ครั้งและการคลอดในโรงพยาบาล จะเพิ่มโอกาสการไม่ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่แผนก SNB /NICU ปัจจัยที่มีผลต่อน้ำหนักปกติของทารกไทยและระยะเวลาครองเตียงตั้งแต่ 4 วันขึ้นไปของทารก คือ อายุครรภ์ โดยที่อายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้นจะเพิ่มโอกาสที่ทารกจะมีน้ำหนักปกติและจะลดโอกาสที่จะมีระยะเวลาครองเตียงตั้งแต่ 4 วันขึ้นไปของทารก ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาครองเตียงตั้งแต่ 4 วันขึ้นไปของมารดาชาวไทย คือ อายุมารดา และช่องทางคลอด โดยที่อายุมารดาที่เพิ่มขึ้นและการผ่าคลอดจะเพิ่มโอกาสที่จะมีระยะเวลาครองเตียงตั้งแต่ 4 วันขึ้นไปth_TH
dc.description.sponsorshipคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.titleการศึกษาผลลัพธ์และปัจจัยที่มีผลต่อผลลัพธ์ปริกำเนิดของแรงงานต่างด้าวและชาวไทยที่มารับบริการใน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.title.alternativeStudy on perinatal outcomes and factors affecting perinatal outcomes of migrant workers and Thais in Burapha University Hospitalth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailpk_2419@hotmail.comth_TH
dc.author.emailtaweelarp@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailsupamassup@gmail.comth_TH
dc.author.emailwarakria@gmail.comth_TH
dc.author.emailbenzjarut@hotmail.comth_TH
dc.year2563th_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study and compare perinatal outcomes and costs incurred from in-hospital care, as well as to study factors affecting perinatal outcomes of migrant mothers and Thai mothers who receive services at Burapha University Hospital. Retrospective cross-sectional study was employed to study the migrant mothers compared to a group of Thai mothers who were hospitalized at Burapha University during January 2015 - January 2020. A total of 674 cases, which was divided into 337 migrant mothers and 337 Thai mothers, were studied. It was found that the maternal age, gestational age, and out-of-hospital birth of migrant mothers and Thai mothers were not different significantly, but migrant mothers had statistically significantly less antenatal care (P < 0.05) and Thai mothers had more caesarean sections than migrant mothers (P < 0.05). For perinatal outcomes including postpartum hemorrhage, infant weight, Apgar score, SNB/NICU admission, length of infant bed occupancy, medical expenses, no significant difference was found between both groups. But Thai mothers had longer bed occupancy and higher medical care expense than that of migrant mothers (P <0.05). In this research, we report the findings on the factors that affect perinatal outcomes of migrant and Thai mothers, which include 1) maternal age, 2) gestational age, 3) antenatal care, 4) route of delivery, and 5) out-of-hospital birth, and the perinatal outcomes, which include 1) maternal postpartum hemorrhage, 2) Apgar score ≥ 5 at 5 min, 3) no admission to SNB/NICU, 4) Normal infant weight (≥2500g), 5) the period of bed occupancy of the infant from 4 days or more, and 6) the period of bed occupancy of the mother from 4 days or more. For migrant mothers, factors affecting migrant infants' necessity to be admitted to the SNB/NICU were gestational age and out-of-hospital delivery. Increasing gestational age and in-hospital birth increased the chances of not being admitted to the SNB/NICU. Factors affecting the normal weight of migrant infants were maternal ageth_TH
dc.keywordแรงงานต่างด้าวth_TH
dc.keywordแรงงานth_TH
dc.keywordต่างด้าวth_TH
dc.keywordผลลัพธ์ปริกำเนิดth_TH
dc.keywordสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_175.pdf595.27 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น