กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4280
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ข้อมูลของผู้สมัครที่เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ด้วยระบบ TCAS โดยใช้การวิเคราะห์เชิงสถิติ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Analysis of TCAS applicants' information applying in Bachelor degree of Burapha University by using statistics
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุกัญญา ประมงค์กิจ
มหาวิทยาลัยบูรพา. สำนักคอมพิวเตอร์
คำสำคัญ: การวิเคราะห์ข้อมูล
คณิตศาสตร์สถิติ - - การประมวลผลข้อมูล - - วิจัย
นักศึกษา - - ข้อมูล
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลของผู้สมัครในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านระบบ TCAS โดยใช้ข้อมูลผู้สมัครประจำปีการศึกษา 2561 – 2562 จำนวน 153,409 รายการ ที่จัดเก็บอยู่ในคลังข้อมูล (Data Warehouse) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการเปิดรับสมัคร และข้อมูลทั่วไปของผู้สมัคร โดยใช้โปรแกรม Microsoft Power BI เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของแผนภูมิและตารางประกอบคำอธิบาย โดยใช้สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) เพื่อบรรยายถึงลักษณะของข้อมูลที่ได้รวบรวมมา ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ผลการวิจัยพบว่า 1. อัตราการแข่งขันในภาพรวมของมหาวิทยาลัย มีค่าเท่ากับ 1 : 4.39 โดยรอบการรับสมัครที่มีอัตราการแข่งขันสูงสุด คือ รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน 1 : 12.04 รองลงมา คือ รอบที่ 2 การรับแบบโควตา 1 : 8.57 รองลงมา คือ รอบที่ 4 การรับแบบ Admission 1 : 6.26 รองลงมา คือ รอบที่ 5 การรับตรงอิสระ 1 : 0.98 และรอบที่ 1 การรับด้วย Portfolio 1 : 0.92 ตามลำดับ 2. หลักสูตรที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับแรกของการรับสมัครทั้งหมด ได้แก่ 1) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ 2) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต 3) หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต 4) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ และ 5) หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต 3. เมื่อพิจารณาถึงร้อยละความสำเร็จของการรับสมัคร โดยพิจารณาจากจำนวนของผู้ผ่านสัมภาษณ์ ผู้ยืนยันสิทธิ์ และผู้รายงานตัว เปรียบเทียบกับจำนวนผู้ผ่านการคัดเลือก ในแต่ละขั้นตอน พบว่า ในขั้นตอนของการสอบสัมภาษณ์ จำนวนผู้ผ่านสัมภาษณ์ คิดเป็นร้อยละ 57.94 ในขั้นตอนของการยืนยันสิทธิ์ จำนวนผู้ยืนยันสิทธิ์ คิดเป็นร้อยละ 49.33 และสุดท้ายในขั้นตอนของการรายงานตัว จำนวนผู้รายงานตัว คิดเป็นร้อยละ 47.01 ของจำนวนผู้ผ่านการคัดเลือก 4. เมื่อพิจารณาถึงร้อยละความสำเร็จของการรับสมัคร โดยพิจารณาจากจำนวนผู้รายงานตัว เปรียบเทียบกับจำนวนรับ พบว่า ร้อยละของผู้รายงานตัวทั้งหมด มีค่าเท่ากับ 36.04 ของจำนวนรับ ทั้งหมด โดยรอบที่ 4 มีค่าร้อยละมากที่สุด คือ ร้อยละ 106.47 รองลงมา คือ รอบที่ 3 ร้อยละ 58.99 รองลงมา คือ รอบที่ 2 ร้อยละ 37.11 รองลงมา คือ รอบที่ 1 ร้อยละ 30.23 และรอบที่ 5 ร้อยละ 12.69 ตามลำดับ 5. ผู้สมัครมีเกรดเฉลี่ยสะสมอยู่ในช่วง 3.00 – 3.49 มากที่สุด ร้อยละ 37.85 รองลงมา คือ ช่วง 2.50 – 2.99 ร้อยละ 29.61 รองลงมา คือ ช่วง 3.50 – 4.00 ร้อยละ 20.74 รองลงมา คือ ช่วง 2.00 – 2.49 ร้อยละ 10.74 และต่ำกว่า 2.00 ร้อยละ 1.06 ตามลำดับ 6. ผู้สมัครส่วนใหญ่มีที่พักอาศัยและศึกษาอยู่ในภาคตะวันออก ร้อยละ 64.83 รองลงมา คือ ภาคกลาง ร้อยละ 26.12 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 4.99 ภาคเหนือ ร้อยละ 1.66 ภาคใต้ ร้อยละ 1.53 และภาคตะวันตก ร้อยละ 0.88 ตามลำดับ 7. ผู้สมัครส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รองลงมา คือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน รองลงมา คือ สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ตามลำดับ 8. โรงเรียนที่มีผู้สมัครมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) โรงเรียนชลราษฎรอำรุง จังหวัดชลบุรี 2) โรงเรียนชลกันยานุกูล จังหวัดชลบุรี 3) โรงเรียนพนัสพิทยาคาร จังหวัดชลบุรี 4) โรงเรียน ศรีราชา จังหวัดชลบุรี และ 5) โรงเรียนศรียานุสรณ์ จังหวัดจันทบุรี
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4280
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_001.pdf3.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น