กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/427
ชื่อเรื่อง: | ศักยภาพด้านพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการตรวจรักษาที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Health behavior for blood sugar controlling of type II diabetic patients at health science center Burapha university, Muang district, Chonburi province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อรพิน รังษีสาคร ศิริพร จันทร์ฉาย สุนิศา แสงจันทร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
คำสำคัญ: | น้ำตาลในเลือด พฤติกรรมสุขภาพ เบาหวาน - - ผู้ป่วย เบาหวาน - - การป้องกันและควบคุม เบาหวาน - - การรักษา สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาศักยภาพด้านพฤติกรรมในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการตรวจรักษาที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิกที่ 2 ที่มารับบริการตรวจและรักษาที่คลินิกพิเศษเฉพาะโรคเบาหวาน ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวนรวม 150 คน เก็บรวบรวมข้อมุงโดยการเจาะเลือด สัมภาษณ์ และการบันทึกจากแบบบันทึกข้อมูล และนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ ได้แก่ Chi-square test ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยฯ ร้อยละ 56.6 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยจำแนกศักยภาพของผู้ป่วยด้านพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็น 4 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 การบริโภคอาหาร พบว่า ผู้ป่วยฯ ร้อยละ 50.4 มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยรวมเหมาะสม และพบว่า การรับประทานอาหารประเภทไขมัน และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟมีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือด (X=3.123225, p=0.08 และ X2 =3.536581, p=0.06) ตามลำดับ ด้านที่ 2 การออกกำลังกาย พบว่าผู้ป่วยฯ ร้อยละ 63.7 มีพฤติกรรมการออกกำลังกายโดยรวมอยู่ในระดับสูง แต่การออกกำลังกายไม่มีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือด ด้านที่ 3 การจัดการกับความเครียด พบว่าผู้ป่วยฯ ร้อยละ 51.4 มีพฤติกรรมการจัดการกับความเครียดโดยรวมในระดับสูง แต่การจัดการความเครียดไม่มีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือด ด้านที่ 4 การรับประทานยา ผู้ป่วยฯ ร้อยละ 55.9 มีพฤติกรรมการรับประทานยาโดยรวมเหมาะสมในระดับสูง และพบว่า การรับประทานยาสมุนไพรหรืออาหารเสริมที่มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดร่วมกับยาที่แพทยืสั่ง และการงดรับประทานยาที่แพทย์สั่งทันที เมื่อมีอาการหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม เหงื่อออก ใจสั่น มีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือด (X2 =3.642926, p=0.056 และ X2= 6.057071, p=0.001) ตามลำดับ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาศัยภาพด้านพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยฯ ให้สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน การบริโภคอาหารและการรับประทานยา |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/427 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น