กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4257
ชื่อเรื่อง: | ลักษณะงานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Job aspects and factors related to job stress among secondary school teachers in Chonburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข กาญจนา พิบูลย์ ธนิดา จุลวนิชย์พงษ์ พวงทอง อินใจ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ครู -- ความเครียดในการทำงาน ความเครียดในการทำงาน สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | บริบท ครูเป็นอาชีพที่พบว่า มีความเครียดจากการทำงานสูง เนื่องจากความรับผิดชอบที่เพิ่มมากขึ้นและภาระงานที่ต้องทำให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด ที่ผ่านมาพบว่า มีงานวิจัยจำนวนไม่มากนักที่ศึกษาเกี่ยวกับความเครียดจากการทำงานของครูในประเทศไทย วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบของงาน ความเครียดจากการทำงาน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชลบุรี โดยใช้แนวคิดของ Karasek วิธีการศึกษา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณแบบ โลจิสติก ผลการศึกษา พบว่า ครูส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 72.0) อายุเฉลี่ย 39 ปี ประกอบอาชีพครูมาแล้ว โดย เฉลี่ย 13.43 ปี สอนในโรงเรียนที่อยู่ปัจจุบันมาแล้วโดยเฉลี่ย 7.88 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในตำแหน่งครูชำนาญการ (ร้อยละ 30.0) จากคะแนนประเมินองค์ประกอบของงาน (คะแนนเต็ม 4) องค์ประกอบด้านอิสรภาพในเชิงทักษะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.46 การควบคุมหรืออำนาจในการตัดสินใจ 3.06 ข้อเรียกร้องจากงาน 2.68 และการสนับสนุน ทางสังคม 3.20 โดยส่วนมากมีความเครียดจากการทำงานต่ำ ร้อยละ 32.7 ทำงานในเชิงรับ ร้อยละ 30.3 ทำงานในเชิงรุกร้อยละ 20.7 และมีความเครียดจากการทำงานสูง ร้อยละ 16.3 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและความเครียดจากการทำงานพบว่า ครูเพศหญิงมีความเสี่ยงที่จะมีความเครียดจากการทำงาน มากกว่าครูเพศชาย 2.65 เท่า (adjusted odds ratio [ORadj] 2.65, 95% CI 1.29 to 5.46) และครูที่มีตำแหน่ง ชำนาญการขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะมีความเครียดจากการทำงานมากกว่าครูที่มีตำแหน่งครูผู้ช่วยและครูระดับปฏิบัติการ 2.63 เท่า (ORadj 2.63, 95% CI 1.30 to 5.33) ทั้งนี้เมื่อควบคุมตัวแปรด้านระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนปัจจุบัน โรคประจำตัว และการสูบบุหรี่ สรุป ถึงแม้สัดส่วนของครูที่มีความเครียดจากการทำงานสูงมีเพียงร้อยละ 16.3 แต่ก็เป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามผู้วิจัยขอเสนอแนะว่าควรมีการเฝ้าระวังปัญหาความเครียดจากการทำงาน ในครูเพศหญิงที่มีตำแหน่งชำนาญการขึ้นไป โดยปรับองค์ประกอบของงานด้านการควบคุม โดยเฉพาะในเรื่องการเพิ่มอิสระในการตัดสินใจว่าจะทำงานอย่างไร และจัดโปรแกรมการจัดการความเครียดที่เหมาะสมเฉพาะบุคคลเพื่อให้ครูสามารถนำไปปรับ ใช้ในชีวิตประจำวันได้ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4257 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
med7n1p32-46.pdf | 125.24 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น