กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4206
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | รสา สุนทรายุทธ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2021-06-21T03:09:23Z | |
dc.date.available | 2021-06-21T03:09:23Z | |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4206 | |
dc.description.abstract | โครงการวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์และการบริการสำหรับชุมชนหัตถกรรมท้องถิ่นผ้าจก ไทยวน จังหวัดราชบุรี เพื่อขยายกลุ่มงานผลิตภัณฑ์ออกแบบตกแต่งภายในด้วยนวัตกรรมขึ้นรูปผ้าด้วยแม่พิมพ์และสิ่งทอสีเขียว เป็นโครงการที่นำเอาภูมิปัญญางานหัตถกรรมท้องถิ่นมาใช้ร่วมกับนวัตกรรมการออกแบบในระบบอุตสาหกรรมที่ชุมชนสามารถเข้าถึงได้ง่ายด้วยตนเอง เพื่อเป็นการเปิดตลาดสินค้าใหม่ ๆ และมีการนำระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมมาใช้ รวมไปถึงการใช้แนวคิดการออกแบบการบริการมาช่วยจัดการและบริหารทรัพยากรให้เกิดคุณค่าสูงสุด โดยกระบวนการทำการวิจัยเป็นไปตามรูปแบบของการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic Studies) เป็นวิธีการศึกษาของสาขาวิชามานุษยวิทยา (Anthropological Method) และมีแนวทางการดำเนินงานตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) การเก็บรวบรวม ข้อมูลมาจากการลงพื้นที่สำรวจ การสัมภาษณ์เชิงลึก รวมไปถึงการทำกิจกรรมเชิงปฏิบัติการกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มชาวบ้านช่างฝีมือ ผู้ประกอบการหัวหน้ากลุ่มนักท่องเที่ยว อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญและนักออกแบบ เพื่อหาแนวทางการพัฒนางานออกแบบด้วยความคิดสร้างสรรค์ การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการนำไปสู่การตอบวัตถุประสงค์ของโครงการได้ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาและนำเอาเทคโนโลยีความคิดสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ ๆ เข้ามาร่วมออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าทอจก ที่สามารถนำไปสู่การพัฒนาต่อยอด ขยายกลุ่มเป้าหมายและเพิ่มศักยภาพในการผลิต และ 2) เพื่อศึกษาและพัฒนาการผลิตวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามแนวคิดของนวัตกรรมสิ่งทอสีเขียว (Eco - Innovative textile) และการควบคุมดูแลระบบการจัดการธุรกิจด้วยการออกแบบการบริการที่ทำให้ธุรกิจมีโอกาสดำเนินไปสู่การขายได้ทั้งในและต่างประเทศ ผลผลิตของโครงการนี้ที่แสดงออกมาอย่างเป็นรูปธรรมได้แก่ 1) ก่อให้เกิดแนวทางการผลิตของ ผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมโดยนวัตกรรมสิ่งทอสีเขียว ได้ผลงานการย้อมฝ้ายและไหมธรรมชาติด้วยสีสกัดจากธรรมชาติที่มีความสวยงาม มีคุณค่าและปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม 2) ผลงานผลิตภัณฑ์เพื่อการออกแบบตกแต่งภายในที่ประกอบไปด้วย ตู้เก็บของ ชั้นวางของ งานตกแต่งผนัง งาน partition wall โต๊ะข้าง โคมไฟ และงานโครงสร้างบล็อกปูน จากการผสมผสานเทคนิควิธีการขึ้นรูปผ้าในแบบต่าง ๆ และ 3) การออกแบบอัตลักษณ์องค์กร แนวทางการออกแบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์ รวมไปถึงต้นแบบธุรกิจที่สามารถนำเอาไปพัฒนาต่อยอดได้อีกต่อไป สำหรับแนวทางการพัฒนาต่อยอดในอนาคต สามารถทำได้โดยการนำเอากระบวนทำงานจากโครงการวิจัยนี้มาพัฒนาสร้างสรรค์ต่อเนื่องในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเครื่องมือ เทคนิควิธีการผลิต รวมไปถึงการกระจายสินค้าในรูปแบบต่าง ๆ จัดให้เกิดกิจกรรมความร่วมมือกับกลุ่มนักออกแบบ ศิลปิน และ นักเรียน นักศึกษาด้านการออกแบบ และผู้เชี่ยวชาญในด้านที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ต่อกัน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาชุมชนหัตถกรรมท้องถิ่นที่ยั่งยืนต่อไป | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การออกแบบผลิตภัณฑ์ | th_TH |
dc.subject | หัตถกรรมสิ่งทอ -- ไทย -- ราชบุรี | th_TH |
dc.subject | การทอผ้า -- ไทย -- ราชบุรี | th_TH |
dc.subject | สาขาเศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.title | โครงการวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์และการบริการสำหรับชุมชนหัตถกรรมท้องถิ่นผ้าจก ไทยวน จังหวัดราชบุรี เพื่อขยายกลุ่มงานผลิตภัณฑ์ออกแบบตกแต่งภายในด้วยนวัตกรรมขึ้นรูปผ้าด้วยแม่พิมพ์และสิ่งทอสีเขียว | th_TH |
dc.title.alternative | Product and service design for Tai Yuan Jok Local Craft Community, Ratchaburi province in order to extend to interior and home decoration product Line with an innovation of fabric molding and eco-innovative textile | en |
dc.type | Article | th_TH |
dc.issue | 2 | th_TH |
dc.volume | 22 | th_TH |
dc.year | 2562 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | “Product and Service Design For Tai Yuan Jok Local Craft Community, Ratchaburi Province in extending onto Interior and Home Decoration Product Line With An Innovation of Fabric Molding and Eco-Innovative Textile” is a project that brings valuable local handicrafts together with design innovations within industrial systems to open a new market target. It also concerns on the implementation of environmental management systems, including the introduction of service design to help manage resources and to create maximum value out of them. The research process follows the pattern of ethnographic studies, which is one of the methods in the field of anthropology. There were also the use of guidelines for the implementation of the design thinking process, collecting data from observation in the area, conducting in-depth interviews and doing workshop activities with those who involved, which consists of a group of skilled villagers, group leader, tourists, professors, experts and designers in order to find ways to develop new designs. The activities that have been carried out within this research can lead to the achievement of the project objectives, which are 1) to study and apply some innovative technology and creative ideas onto the process of product design; using new techniques on local fabric that can lead to a further development of local products and new target group expansion; 2) To study and develop the production within the concept of environmental friendly, creating safe raw materials, leading to the development of products that can reserve local culture value while creating new and interesting styles of the local products; supervise local craft people with the potential business management system by using service design concept; and 3) to focus on knowledge exchanging, stimulating self-improvement on the local craftsmen. The local craftsmen were involved within every process; presenting their own opinions which can help providing a strong foundation to them for more sustainable development projects in the future. For more future developments, it can be achieved by applying the working process from this research project on various subject matters, such as, tools, materials, production methods , and including product distribution in different forms and medias. There can be more on collaborative activities with designers, artists, design students and experts in related fields, in order to create an exchange of knowledge with each other, which can result in the more development projects of local handicraft communities | en |
dc.journal | วารสารศิลปกรรมบูรพา | th_TH |
dc.page | 27-49. | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
art22n2p27-49.pdf | 1.2 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น