กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4177
ชื่อเรื่อง: | เส้นใยในงานศิลปะ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Fiber in art |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ผกามาศ สุวรรณนิภา มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ศิลปะ เส้นใย การสร้างสรรค์ (วรรณกรรม ศิลปกรรม ฯลฯ) หัตถกรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การใช้เส้นใยในการสร้างสรรค์งานศิลปะ เรียกว่าศิลปะเส้นใย (Fiber Art) ในอดีตมีรากฐานมาจากงานหัตถกรรม (Craft) เช่น การทอผ้า การเย็บปักถักร้อย ซึ่งเป็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบครัวเรือนและเกิดการสร้างงานหัตถกรรมของชุมชนสตรี จากงานประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้และของประดับตกแต่งบ้านก็กลาย เป็นวัฒนธรรมที่แสดงอัตลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น การนำวัสดุเส้นใยไปใช้ไม่ได้มีคุณค่าเพียงงานหัตถกรรมเท่านั้นเนื่องจากขอบเขตของงานศิลปะในปัจจุบันเปิดกว้างทางการแสดงออกด้วยรูปแบบที่หลากหลาย ดังนั้นการจำแนกศาสตร์ศิลปะเส้นใยจึงได้รับการยอมรับในระดับสากล จากการศึกษาพบว่าศิลปะจากเส้นใยมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นความเชื่อ และสุนทรียภาพในการคิดสร้างสรรค์ มีคุณค่าในการสร้างสรรค์เทียบเท่าศาสตร์อื่น ผู้สร้างงานศิลปะจากเส้นใยในระดับสากลได้รับการยอมรับในฐานะศิลปิน ส่วนในประเทศไทยก็มีศิลปินที่สร้างสรรค์งานประเภทนี้อยู่มาก ปัจจุบันมีการเปิดสอนหลักสูตรไฟเบอร์อาร์ตในหลายสถาบันเพราะเปิดกว้างแนวทางใหม่ในการแสดงออกทางศิลปะ เช่น ศิลปะสิ่งทอ (Textile Art) และศิลปะจากผ้า (Fabric Art) รวมถึงในงานออกแบบแฟชั่น (Fashion Design) ศิลปินและนักออกแบบสร้างสรรค์แนวคิด รูปแบบ และเทคนิควิธีการใช้เส้นใยที่มีเอกลักษณ์ ศิลปะเส้นใยในประเทศไทยส่วนใหญ่ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในงานออกแบบแต่ในทางศิลปะจะถูกจัดเป็นเทคนิคของประเภทศิลปะสื่อประสม (Mixed Media) ไม่ว่าคุณค่าของงานศิลปะเส้นใยจะถูกจัดให้มีคุณค่าอยู่ในศิลปะประเภทใดก็ตามอยู่ที่การตีความหมายในเชิงสุนทรียศิลป์ในงานแต่ละประเภทหรือคุณประโยชน์ ในเชิงพาณิชยศิลป์ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4177 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
art23n1p30-51.pdf | 4.88 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น