กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4174
ชื่อเรื่อง: สภาวะมนุษย์ในปรัชญากฤษณมูรติ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Human condition in Krishnamurti’s philosophy
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชญาดา ราศรีจันทร์
ชัยณรงค์ ศรีมันตะ
สกุล อ้นมา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: ปรัชญาอินเดีย
ความตระหนัก
การรับรู้ตนเอง
สาขาปรัชญา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดสภาวะมนุษย์ในปรัชญากฤษณมูรติโดยศึกษาข้อมูลจากหนังสือ งานเขียน วิดีโอ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สภาวะมนุษย์ในปรัชญากฤษณมูรติสามารถมองได้หลายมิติ เพราะมนุษย์มีชีวิตที่มีเงื่อนไขจากความกลัว ความทะเยอทะยานและความปรารถนา ความสับสน ความริษยา และใช้ชีวิตที่มีทุกข์ขัดแย้งกัน มนุษย์สร้างโลกนี้ขึ้นมาโดยมีตัวตนและการรับรู้ต่าง ๆ จากประสาทสัมผัสที่ถูกบดบัง กล่าวคือ มนุษย์ต่างถูกลวงให้มืดมนจากความจริงและการแสวงหาความรู้ แต่อย่างไรก็ตามมนุษย์สามารถมีอิสรภาพได้ กฤษณมูรติไม่ต้องการให้ผู้คนยึดติดในแนวคิดของเขาจึงกระตุ้นให้ตื่นรู้อย่างมีสติรู้สึกตัวในทุกสภาวะจิตใจ มีการสืบสวนอย่างที่มันเป็นอยู่จริงโดยปราศจากการตัดสิน เขาเชื่อว่า ในการตื่นรู้ทั้งหมดโดยรวมว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับจิตใจที่เสรีนั้นทำได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4174
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
huso28n2p55-81.pdf610.98 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น