กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4158
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์
dc.contributor.authorลดาวัลย์ เลนทำมี
dc.contributor.authorกิตติศักดิ์ ไกรจันทร์
dc.contributor.authorสาคร อินโท่โล่
dc.contributor.authorวิภา วิเสโส
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2021-06-15T07:11:31Z
dc.date.available2021-06-15T07:11:31Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4158
dc.description.abstractการวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการพัฒนาเครือข่ายพยาบาลชุมชนในการขับเคลื่อนอำเภอจัดการสุขภาพของเขตสุขภาพที่ 7 รูปแบบการวิจัยเป็นการประเมินผลโครงการตามแบบจำลองซิปโมเดล ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงานและผลผลิตจากโครงการ โดยเก็บข้อมูลจากรายงานผลการดำเนินงาน การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 62 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลจากการวิจัย พบว่า (1) ด้านบริบท โครงการมีการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างพยาบาลชุมชนกับเครือข่ายต่าง ๆ ในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม มีการขับเคลื่อนใน 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาควิชาการ ภาคการเมือง และภาคประชาชน สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง ด้วยกระบวนการเสริมพลัง สร้างคุณค่าให้กับคนทำงาน และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะ (2) ด้านปัจจัยนำเข้า บุคลากรสามารถดำเนินโครงการร่วมกับภาคีเครือข่ายและสหวิชาชีพได้เป็นอย่างดี เป็นกลไกของการทำงานร่วมกัน มีการแผนงานการดำเนินงานของเครือข่าย โดยเน้นให้เครือข่ายได้มีการออกแบบกิจกรรมที่เป็นกลไกการหนุนเสริมสมรรถนะ ได้แก่ สมรรถนะเชิงวิชาการ เชิงวิชาชีพ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเสริมพลัง การสร้างสัมพันธภาพภายในทีม (3) ด้านกระบวนการ ใช้กลไกการขับเคลื่อนภายในพื้นที่ระดับอำเภอ ในการออกแบบกระบวนการพัฒนา โดยใช้บริบทพื้นที่เป็นฐาน และนำประเด็นสุขภาพที่เป็นปัญหามาเป็นเรื่องในการบริหารจัดการเป็น 1 อำเภอ 1 โครงการ รวมถึงให้ความสำคัญในการเป็นนักจัดกระบวนการเรียนรู้ในพื้นที่ของตนเอง (4) ด้านผลผลิตของการดำเนินงาน มีการพัฒนาด้านความรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ชุมชน การอบรมเชิงปฏิบัติการการวิจัยในงานประจำ โดยมีโครงการที่ดำเนินงานในพื้นที่ 10 โครงการ มีผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จำนวน 43 เรื่อง และนวัตกรรม จำนวน 13 ผลงาน ผลจากการประเมินสะท้อนให้เห็นว่าทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชนเห็นสอดคล้องกันว่าโครงการพัฒนาเครือข่ายพยาบาลชุมชนในการขับเคลื่อนอำเภอจัดการสุขภาพของเขตสุขภาพที่ 7 สามารถนำไปแก้ปัญหาได้ของพื้นที่ จากข้อมูลสภาพปัญหาโรคและภัยสุขภาพที่เป็นจริงและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และเป็นการส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรมth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectพยาบาลth_TH
dc.subjectพยาบาล -- เครือข่ายสังคมth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleการประเมินผลโครงการพัฒนาเครือข่ายพยาบาลชุมชนในการขับเคลื่อนอำเภอจัดการสุขภาพของเขตสุขภาพที่ 7th_TH
dc.title.alternativeEvaluation of the development project of community nurse network in driving the district health management of health region 7en
dc.typeArticleth_TH
dc.issue3th_TH
dc.volume28th_TH
dc.year2563th_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aims to evaluate the development project of the community nurse network in driving the district health management of Region 7. This research and development study evaluated the project according to the CIPP Model. The evaluation consisted of four aspects: Context Evaluation, Input Evaluation, Process Evaluation, and Product Evaluation. Results: 1) The Context Evaluation findings revealed that the project enabled connections between community nurses and different networks in a concrete way. There were three sectors involved: the academic sector, the political sector, and the citizen sector. This resulted in the community’s self-problem-solving following the context. Public policy was driven by empowering the workforce and together finding proper solutions. 2) The Input Evaluation findings revealed that personnel could execute the project with network partners and multidisciplinary associates. The mechanism of work collaboration resulted in various operating plans, which focused on designing activities that boosted personnel competencies including academic and professional competencies, knowledge sharing, empowerment and team building. 3) The Process Evaluation findings revealed that project operations were driven in the district level to design an area-based developmental process wherein health issues were raised, leading to One District One Project. 4) The Product Evaluation findings revealed that knowledge development occurred via qualitative research methods such as community analysis and routine to research workshops. The result was 10 projects in different areas, 43 research studies, and 13 innovations. Results from this evaluation suggest that all relevant parties (government, local government, and local citizens) agreed that the development project of the community nurse network in driving the district health management of Region 7 could solve the community’s problems based on disease condition and actual health threats. In addition, the project helped motivate the participation of relevant sectors in the operations in a concrete way.en
dc.journalวารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.page16-26.th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
nus28n3p16-26.pdf198.97 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น