กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4142
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ฐิราธร อยู่โต | |
dc.contributor.author | ธนากร เกษศิลป์ | |
dc.contributor.author | ภคกุล อนันตศานต์ | |
dc.contributor.author | พุทธ ศิลตระกูล | |
dc.contributor.author | กฤตภาส กังวานรัตนกุล | |
dc.contributor.author | ชามิภา ภาณุดุลกิตติ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเภสัชศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2021-06-14T07:54:22Z | |
dc.date.available | 2021-06-14T07:54:22Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4142 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะและสถานการณ์ดื้อยาปฏิชีวนะ ความคาดหวังต่อการได้รับยาปฏิชีวนะและการบริบาลทางเภสัชกรรมและพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้ใช้บริการร้านยาในเขตเทศบาลแสนสุข จังหวัดชลบุรี โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่ใช้บริการร้านยาและพักอาศัยในเขตเทศบาลแสนสุข จำนวน 471 คน เก็บรวมรวบข้อมูลด้วยแบบสอบถามซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่นของแบบสอบถามแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยความตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะและความตระหนักรู้ต่อสถานการณ์ดื้อยาปฏิชีวนะ ความคาดหวังต่อการได้รับยาปฏิชีวนะและการบริบาลทางเภสัชกรรมในร้านยา และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 70.37, 81.33, และ 73.80 ตามลำดับ ซึ่งคะแนนเฉลี่ยทั้งสามด้านนี้จัดอยู่ในระดับดี อย่างไรก็ตามพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 18-23 ปี มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะและสถานการณ์ดื้อยาปฏิชีวนะ น้อยกว่ากลุ่มตัวอย่างที่อายุมากกว่า 23 ปีขึ้นปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p - value < 0.001) ทั้งนี้เภสัชกรควรเพิ่มบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนในชุมชนมีระดับความตระหนักรู้สูงขึ้น รวมทั้งสนับสนุนให้ประชาชนในชุมชนมีคะแนนเฉลี่ยทั้งสามด้านเพิ่มสูงขึ้นได้อีก โดยเพิ่มช่องทางและรูปแบบการให้ความรู้ที่สอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบัน | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การใช้ยา | th_TH |
dc.subject | การดื้อยา | th_TH |
dc.subject | ปฏิชีวนะ | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช | th_TH |
dc.title | การศึกษาความตระหนักรู้ ความคาดหวัง และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้ใช้บริการร้านยาในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | Consumers' awareness, expectation, and behaviors related to antibiotic use of consumers in community pharmacies in Saensuk municipality, Chonburi province | en |
dc.type | Article | th_TH |
dc.issue | 2 | th_TH |
dc.volume | 15 | th_TH |
dc.year | 2563 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This study aims to evaluate levels of awareness of antibiotic use, resistance, expectation of receiving antibiotics, clinical pharmacy services, and behavior of antibiotic uses of the consumers in community pharmacies in Saensuk Municipality, Chonburi Province. A cross-sectional survey study was conducted. Participants were 18 years old and over, customers of community pharmacies and lived in Saensuk Municipality. Data were collected by self-administered questionnaires with acceptable content validity and reliability. There were 471 questionnaires usable for analysis. Descriptive and Chi-square statistics were used for the data analysis. The results showed that the average total scores of the awareness, expectation, and behavior of antibiotic use were 70.37, 81.33, and 73.80, respectively. The scores were considered at a good level. However, the results found that participants aged 18-23 years old had significantly lower scores (p - value < 0.001) in the awareness of antibiotic uses and resistance than participants aged above 23 years old. Community pharmacists should, therefore, increase their roles supporting young people to gain higher levels of awareness. Moreover, the pharmacists should encourage people in the community to try in getting more appropriate information regarding antibiotic use so that their scores of the three parts can be increased. This can be done by expanding communication channels to provide correct knowledge and information to the consumers in accordance with their current lifestyles. | en |
dc.journal | วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.page | 62-73. | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
pubh15n2p62-73.pdf | 181.54 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น