กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4139
ชื่อเรื่อง: | ประสิทธิผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อภาวะอ้วนของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effectiveness of a self-management support program for obesity among staff at the Faculty of Medicine at Burapha University |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์ เกรียงศักดิ์ สมบัติ สุรนาถวัชวงศ์ กาญจนา พิบูลย์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา |
คำสำคัญ: | การจัดการตนเอง (จิตวิทยา) โรคอ้วน บุคลากรโรงพยาบาล สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | บทนำ จากผลการตรวจสุขภาพของบุคลากรโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ในปี พ.ศ. 2557-2559 พบว่า บุคลากรมีภาวะสุขภาพที่มีภาวะเสี่ยงต่อภาวะเมแทบอลิกซินโดรมล้วนมีแนวโน้มที่สูงขึ้นในแต่ละปี ทางผู้วิจัยจึงเล็งเห็นปัญหาดังกล่าวและหาแนวทางจัดการเพื่อให้บุคลากรมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อภาวะอ้วนของบุคลากร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิธีการศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่มีภาวะอ้วนและผ่านการตรวจสุขภาพโดยศูนย์สร้างเสริมสุขภาพ (Wellness Center) โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2561 โดยมีค่าดัชนีมวลกาย ≥ 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง กลุ่มควบคุมได้รับบริการตามปกติ ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา 16 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน คือ โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเองและ แบบบันทึกพฤติกรรมการกำกับตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ paired t- test, independent sample t-test และ repeated measure Anova ผลการศึกษา ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการรับประทานอาหารของกลุ่มทดลองระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) (ค่าเฉลี่ย = 74.83 S.D. = 8.27, ค่าเฉลี่ย = 51.57 S.D. = 9.09) และ (ค่าเฉลี่ย = 78.63 S.D. = 6.46, ค่าเฉลี่ย = 49.70 S.D. = 6.85 ) ตามลำดับ คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการออกกำลังกายของกลุ่มทดลองระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) (ค่าเฉลี่ย = 74.83 S.D. = 8.27, ค่าเฉลี่ย = 51.57 S.D. = 9.09) และ (ค่าเฉลี่ย = 78.63 S.D. = 6.46, ค่าเฉลี่ยx = 49.70 S.D. = 6.85) ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยเส้นรอบเอว ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด ค่าเฉลี่ยความดันซิสโตลิกค่าเฉลี่ยระดับความดันไดแอสโตลิกค่าเฉลี่ยระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ ค่าเฉลี่ยระดับคอลเลสเตอรอล ค่าเฉลี่ยระดับแอลดีของกลุ่มทดลอง ในระยะติดตามผลต่ำกว่ากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และค่าเฉลี่ยระดับเอชดีแอลคอลเลสเตอรอลของกลุ่มทดลองระยะติดตามผล สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) สรุปผล จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อภาวะอ้วนของบุคลากร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยสามารถเพิ่มระดับพฤติกรรมการจัดการตนเองได้ด้านการรับประทานอาหารพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการออกกำลังกาย และลดระดับดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอวระดับน้ำตาลในเลือดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ ระดับคอลเลสเตอรอลรวม ระดับแอลดีแอลคอลเลสเตอรอล และยังเพิ่มระดับเอชดีแอลคอลเลสเตอรอลในบุคลากรที่มีภาวะอ้วนได้ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4139 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
med7n2p23-38.pdf | 129.72 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น